s ผู้ป่วยโรคหัวใจ..มีโอกาสเป็น "อัมพาต" มากกว่าคนปกติ 5 เท่า

ผู้ป่วยโรคหัวใจ..มีโอกาสเป็น "อัมพาต" มากกว่าคนปกติ 5 เท่า

December 09 / 2022

ผู้ป่วยโรคหัวใจ..มีโอกาสเป็น อัมพาต มากกว่าคนปกติ 5 เท่า

เป็นอัมพาตเพราะโรคหัวใจ

 

 

 

 

สาเหตุของการเป็นอัมพาตจากโรคหัวใจ

 

มีใครเคยรู้ไหมว่าโรคหัวใจสามารถทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตจากหลอดเลือดสมองอุดตันได้ ฟังดูก็น่าแปลก เอ๊ะมันเชื่อมโยงกันได้ยังไง? โรคหัวใจที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดสมองได้คือ โรคหัวใจเต้นผิดปกติชนิดที่เรียกว่าหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า AF (Atrial Fibrillation) ขณะที่เป็น AF หัวใจห้องบนจะเต้นเร็วมากกว่า 350 ครั้งต่อนาที การที่หัวใจห้องบนจะเต้นเร็วขนาดนี้ ทำให้การบีบตัวไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีเลือดตกค้างอยู่ในหัวใจห้องบน โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นถุงยื่นออกไปจากหัวใจห้องบนซ้าย (ถุงนี้มีลักษณะคล้ายไส้ติ่งของลำไส้) ทางการแพทย์เรียกถุงนี้ว่า Left Atrial Appendage รยางค์หัวใจนี่แหละจะเป็นบริเวณที่พักของเลือด ทำให้เลือดตกตะกอนนอนก้น แล้วเกิดเป็นลิ่มเลือดเล็กๆ ขนาดต่างๆ ขึ้น ลิ่มเลือดเหล่านี้อาจหลุดออกจากรยางค์ ไหลไปตามกระแสเลือด ขึ้นไปอุดตันหลอดเลือดสมองที่เราเรียกว่า Stroke ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตเฉียบพลัน แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด

 

 

 

 

การป้องกันอัมพาตจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (AF)

 

การป้องกันด้วยการใช้ยา

  • ทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulation) ไปตลอดชีวิต เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย แต่ก็มีข้อควรระวังคือ อาจทำให้เลือดหยุดยาก หรือเกิดมีเลือดออกในบริเวณต่างๆ ได้ง่าย ทำให้ต้องดูแลตัวเองตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ปริมาณยาที่ได้รับมากหรือน้อยเกินไป อาหารหรือยาบางตัวมีผลเพิ่มหรือลดประสิทธิภาพของยาได้ คนไข้ต้องมาตรวจพบแพทย์ทุกๆ 1-2 เดือน เพื่อตรวจสอบผลของยาในเลือดว่ามากหรือน้อยเกินไป

 

การป้องกันด้วยการใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจ

  • เพื่อทดแทนการทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด และทำให้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดอีกเลย โดยที่แพทย์จะใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจคล้ายร่มผ่านทางหลอดเลือดดำที่ขา ลักษณะคล้ายการสวนหัวใจ เข้าไปปิดถุงหัวใจห้องบนซ้าย ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดลิ่มเลือด ทำให้ไม่เกิดลิ่มเลือดในหัวใจอีกต่อไป ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงก็เรียบร้อย วันรุ่งขึ้นก็สามารถกลับบ้านได้ และคนไข้ก็ไม่จำเป็นต้องทานยาต้านการแข็งตัวของหลอดเลือดอีกตลอดชีวิต

 

 

การป้องกันด้วยการใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงก็เรียบร้อย วันรุ่งขึ้นก็สามารถกลับบ้านได้ และ 95% ของคนไข้ ไม่จำเป็นต้องทานยาต้านการแข็งตัวของหลอดเลือดอีกตลอดชีวิต