ประสบการณ์ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 2 เส้น ด้วยการทำบอลลูน

November 15 / 2024

 

บอกเล่าประสบการณ์ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 2 เส้น รักษาด้วยการทำบอลลูน

 

หัวใจตีบ

 

 

คุณองอาจ อินทรเสนา อายุ 71 ปี

อดีตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

 

“ปกติผมวิ่งเป็นประจำครับ วิ่งช้าๆ และตอนวูบก็ไม่มีสัญญาณเตือนอะไรมาก่อนเลย ผมรู้สึกดีใจมากที่ได้กลับมาเป็นปกติครับ”

 

 

 

 

นพ.เมธี เลิศนันทกุล

แพทย์ผู้ชำนาญการโรคหัวใจ รพ.รามคำแหง

 

 

"ตอนมาถึงพยาบาลแจ้งว่าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว มีเจ้าหน้าที่กกท. พบผู้ป่วยนอนฟุบอยู่ที่สนามวิ่งของกกท. ตอนที่เจอคนไข้เหมือนจะลืมตาแต่ดิ้นไปมาเรียกไม่รู้สึกตัว จากกราฟหัวใจเต้นเร็ว มีบางช่วงที่เต้นเร็วประมาณ 140 ครั้ง/ต่อนาที บ่งชี้ว่ามีภาวะของเส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดตัน 1 เส้น อีก 1 เส้นตีบค่อนข้างเยอะตีบเป็นพวงๆ เลยครับ ส่วนอีกเส้นข้างขวาตีบแบบขรุขระ แต่ไม่ได้เยอะมาก เลยต้องทำบอลลูนใส่ขดลวดหัวใจที่เส้นเลือด 2 เส้นครับ

 

ในกรณีที่ออกกำลังกายและวูบหมดสติ จะมีภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้กับหัวใจเต้นผิดจังหวะเฉียบพลันชนิดรุนแรง อย่างกรณีนี้เป็นเส้นเลือดหัวใจตีบรักษาโดยการทำบอลลูนใส่ขดลวดหัวใจ รักษาเสร็จฟื้นตัวได้เร็ว และสามารถทำกายภาพบำบัดในขั้นตอนถัดไปครับ"

 

 

ภาพตัวอย่างผู้ป่วยจริงที่ได้รับการทำบอลลูนหัวใจ

 

 

 

ก่อนทำบอลลูนหัวใจ

 

 

หลังทำบอลลูนหัวใจ

 

 

 

แก้ไข

26/09/2566