บทความสุขภาพรามคำแหง - ปั๊มน้ำและภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว

March 18 / 2024

ปั๊มน้ำและภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว

 

 

หัวใจเต้นพลิ้ว Atrial Fibrillation หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า AF คือการที่หัวใจเต้นเร็วและมีจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอ ในระหว่างที่เป็น AF หัวใจสองห้องบนจะเต้นไม่สม่ำเสมอและเป็นคนละจังหวะกับหัวใจทั้งสองห้องล่าง ทำให้การปั๊มเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ มักมีอาการใจสั่น หายใจไม่ทันและร่างกายอ่อนแรงเป็นต้น ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อ หลอดเลือดสมองแตก หัวใจล้มเหลว และโรคหัวใจอื่นๆ

 

  

 

 

อาการของภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว AF

 

  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วไม่สม่ำเสมอ
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • เหนื่อยขณะออกกำลังกาย
  • ความสามารถในการออกกำลังกายลดลง
  • เจ็บหรือแน่นหน้าอก
  • เวียนศีรษะ
  • หายใจลำบาก
  • เป็นลมหมดสติ

 

AF คือการที่หัวใจเต้นเร็วและมีจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอ เพราะกระแสไฟฟ้าที่กำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจมีปัญหา คล้ายๆ กับระบบไฟฟ้าของปั๊มที่มีไฟกระตุก 

 

 

 

หัวใจเรามีห้องอยู่ 4 ห้อง  สองห้องบนและสองห้องล่าง ในห้องขวาบนมีกลุ่มเซลล์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Sinus node (SA โหนด) ที่ทำหน้าที่ส่งกระแสไฟฟ้าให้หัวใจสองห้องบนเริ่มเต้น ซึ่งกระแสไฟฟ้าจะเดินทางผ่านกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า Antrioventricular node (AV โหนด) ที่อยู่ระหว่างหัวใจสองห้องบนและสองห้องล่าง ซึ่งกลุ่มเซลล์นี้ทำหน้าที่ส่งให้หัวใจสองห้องล่างเริ่มเต้น ในขณะที่เป็น AF กระแสไฟฟ้าที่ถูกส่งมาจะไม่มีระเบียบ และมีจำนวนเยอะมากทำให้หัวใจห้องบนเต้นไม่เป็นจังหวะ รัวและเร็ว

 

 

 

 

พอสัญญาณไฟฟ้าที่มีมากกว่า 350 ครั้งต่อนาที ถูกส่งไปยังสองห้องล่างผ่าน AV โหนด ก็จะเจอปัญหาขั้นที่สอง เพราะ AV โหนดไม่สามารถรับสัญญาณไฟฟ้าที่ถูกส่งมาได้ทั้งหมดรับได้แค่ 200 ครั้งเท่านั้น คล้ายทางด่วนที่มีพื้นที่จำกัด พอรถมามากๆ  ไม่สามารถรองรับได้หมด ซึ่ง AF เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจโดยธรรมชาติบางคนอาจใช้ชีวิตโดยไม่รู้ว่ามีภาวะนี้อยู่ แต่ในกลุ่มที่มีอาการ AF สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มย่อย คือ 

 

 

 

การรักษาภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว AF

 

การรักษาภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว AF มีเป้าหมายเพื่อ ทำให้จังหวะหัวใจกลับมาเต้นปกติ หรือควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจและป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือด

การรักษาภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว AF จากการกระตุ้นภายนอก

  • เกิดจากเหตุกระตุ้นจากภายนอกหัวใจเช่น อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นหัวใจเช่นสารคาเฟอีนในกาแฟ ชา โสม แอลกอฮอล์เป็นต้น ภาวะเครียดทางกายและใจจากการทำงานหนักพักผ่อนไม่พอก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน นอกจากนี้ความเจ็บป่วยต่างๆ ก็กระตุ้น AF ได้ เช่นกัน เช่น หอบหืด ปอดอักเสบ ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ การรักษาอาการหัวเต้นพลิ้ว AF ในกลุ่มนี้สามารถทำได้เอง การควบคุมการใช้ชีวิตประจำวัน ควบคุมคาเฟอีนและแอลกอฮอลล์หรือดูแลรักษาอาการไทรอยด์ที่เป็นอยู่ ก็สามารถลดโอกาสที่จะมีอาการ AF ได้ 

การรักษาภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว AF จากความผิดปกติของหัวใจอื่นๆ

  • ความผิดปกติของหัวใจ เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน ลิ้นหัวใจตีบ หัวใจทำงานล้มเหลว สามารถกระตุ้นให้มีอาการ AF ได้ทั้งสิ้น การรักษาในกลุ่มนี้ต้องมุ่งแก้ความผิดปกติที่เป็นต้นเหตุเพื่อป้องกันไม่ให้ไปกระตุ้นให้มีอาการ AF อีก ถ้าแก้ไขไม่ได้โอกาสที่จะทำให้ AF หายเป็นปกติก็จะเป็นไปได้ยาก

การรักษาจากภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว AF

  • เป็นความผิดปกติของระบบไฟฟ้าของหัวใจห้องบนเอง มักเป็นความเสื่อมของระบบไฟฟ้าของหัวใจเปรียบเหมือนระบบไฟฟ้าในบ้านเราเมื่อใช้งานมานาน ก็อาจมีปัญหาไฟติดๆ ดับๆ ต้องได้รับการแก้ไข อาจต้องเปลี่ยนหลอดไฟใหม่หรือเดินสายไฟใหม่ก็ได้ การรักษาในกลุ่มนี้มีด้วยกัน 2 วิธี คือ
    • ​​การรักษาด้วยการใช้ยา การใช้ยาต้าน AF มีหลายขนานซึ่งจะมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันและมีผลข้างเคียงต่างกัน
    • การรักษาด้วยการใช้คลื่นวิทยุ รักษาด้วยการใช้คลื่นวิทยุจี้บริเวณที่ผิดปกติในหัวใจ ซึ่งวิธีนี้มีความก้าวหน้ามาก ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีภาวะแทรกซ้อนลดลง

การรักษาภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว AF ผู้ป่วยและญาติควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด เพื่อกำหนดแนวทางการรักษาให้ถูกต้อง เพื่อจะได้หายขาดจาก AF ในรายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ก็จะได้รับการรักษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของ AF

 

ควรปรึกษาแพทย์อย่างละเอียด เพื่อกำหนดแนวทางการรักษาให้ถูกต้อง ในรายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ก็จะได้รับการรักษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของ AF

 

 

 

 

 

 

Healthy heart package (ผู้หญิง)

ฝากหัวใจ..ให้เราดูแลกับ "Healthy heart package (ผู้หญิง)" ตรวจก่อนรู้ก่อน อย่าปล่อยให้หัวใจอ่อนแอ..เกินเยียวยา

ราคา 5,990 บาท

Healthy heart package (ผู้ชาย)

ฝากหัวใจ..ให้เราดูแลกับ "Healthy heart package (ผู้ชาย)" ตรวจก่อนรู้ก่อน อย่าปล่อยให้หัวใจอ่อนแอ..เกินเยียวยา

ราคา 5,990 บาท

“Healthy start program” โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

ดูแลหัวใจและปอดของคุณและคนที่คุณรัก ด้วยโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

ราคา 3,000 บาท

บริการอุปกรณ์ตรวจเช็คคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พกพาได้

ติดตามการเต้นของหัวใจแบบทางไกล เหมาะกับใครบ้าง ผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ พบอาการไม่บ่อยเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งไม่สามารถตรวจพบหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้วยวิธีตรวจอื่นๆ

ราคา 12,000 บาท

บันทึกการเต้นของหัวใจในโลกยุคดิจิทัล "ป้องกันภาวะหัวใจวาย"

Multiday Patch Holter (แผ่นบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ) อุปกรณ์บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดแผ่น แปะติดที่หน้าอก สามารถบันทึกการเต้นของหัวใจติดต่อกันได้หลายๆ วัน

ราคา 6,000 บาท