s Bi-plane DSA นวัตกรรมรักษาโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ

Bi-plane DSA นวัตกรรมรักษาโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ

January 12 / 2024

 

Bi-plane DSA นวัตกรรมเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โดยไม่ต้องผ่าตัด

 

 

ห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Catheterization Lab) หรือ Cath Lab มีความสำคัญอย่างมากในการตรวจวินิจฉัยและร่วมรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ และสมองโดยไม่ต้องผ่าตัด ด้วยนวัตกรรม Bi-plane DSA (Biplane Digital Subtraction Angiography) หรือรังสีร่วมรักษา สามารถวินิจฉัยได้รวดเร็ว ลดความเสี่ยง รักษาได้ทันท่วงที ทำให้ผลการรักษาดียิ่งขึ้น

 

 

ทำไมต้อง Bi-plane DSA เครื่องเอกซเรย์ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดชนิดสองระนาบ?

 

Bi-plane DSA ทำงานคล้ายเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยทำงานร่วมกับ C-arm 2 อัน ถ่ายภาพหลอดเลือดแบบ 2 ระนาบได้ในเวลาเดียวกัน เสมือนเป็นไฟส่องนำทางให้แพทย์ ทำให้ได้ภาพจากสองมุมพร้อมกันทั้งระยะขึ้น-ลง ซ้าย-ขวา ลึก-ตื้น มีความคมชัด ประมวลภาพ 3 มิติแบบเรียลไทม์ รักษาโรคได้ทั่วร่าง ครอบคลุมทั้งโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง มะเร็งหรือก้อนเนื้อในตับ อาการเลือดออกในช่องท้อง จนถึงเส้นเลือดขาตีบ

 

 

 

Bi-plane DSA เป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้แพทย์เห็นตำแหน่งในการใส่อุปกรณ์เพื่อไปอุดเส้นเลือดที่แตกหรือไปถ่างเส้นเลือดที่ตันตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น การรักษาสมองด้วยสายสวนลากลิ่มเลือด (Clot Retrieval) เครื่องนี้ทำให้แพทย์เห็นตำแหน่งของหลอดเลือดขนาดเล็กได้ชัดเจนขึ้น ใส่สายไปถึงจุดที่ต้องการได้อย่างเร็ว สามารถซูมเข้า-ออกภาพบนหน้าจอ Touch Screen ได้ทันที ประเมินการรักษาเพื่อใส่เครื่องมือได้ตรงจุด

 

 

 

เทคโนโลยี Bi-plane DSA ช่วยในการรักษาอย่างไร?

 

  • ช่วยลดผลข้างเคียงจากปริมาณสารทึบรังสีลงครึ่งหนึ่ง คนไข้รับสารทึบรังสีน้อยลงเพราะฉีดเพียงครั้งเดียว
  • แสดงผลภาพเสมือนจริงแบบสามมิติ คมชัดระดับ 2K เพิ่มความมั่นใจในการตรวจและรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การประมวลภาพได้รอบด้านแบบเรียลไทม์ ช่วยให้การวินิจฉัยรวดเร็ว โดยเฉพาะโรคที่ต้องวินิจฉัยแบบทันท่วงที เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

 

 

การรักษาที่มักใช้ Bi-plane DSA มีโรคอะไรบ้าง?

 

  • โรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง ทั้งเส้นเลือดในสมองตีบ แตก หรือหลอดเลือดในสมองอุดตัน
  • ผู้ที่มีอาการหลอดเลือดอุดตัน เส้นเลือดตีบ หรือเลือดออกในช่องท้อง หรืออวัยวะอื่นอย่างแขนหรือขา
  • เหมาะสำหรับคนไข้ที่มีก้อนเนื้อทั่วไปหรือมะเร็งในตับ

 

ห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Catheterization Lab) อาคาร 3 ชั้น 3

 

 

แก้ไข

18/09/2566