s ประสบการณ์หลังรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้นด้วยการทำบอลลูน

ประสบการณ์หลังรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้นด้วยการทำบอลลูน

February 27 / 2024

 

บอกเล่าประสบการณ์หลังการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้นด้วยการทำบอลลูน จากผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

 

 

คุณกิตติ สุบิน อายุ 54 ปี
อดีตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้น

 

 

"โรคประจําตัวผมคือเป็นเบาหวานครับ ตรวจสุขภาพทุกปี ตรวจเบาหวานและวิ่งสายพาน (EST) ผลวิ่งสายพานเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ตอนนั้นกราฟหัวใจไม่เสถียร ผมก็ปล่อยโดยที่ไม่รู้ว่านี่คือสาเหตุของ โรคหัวใจ ปีนี้ตรวจพบว่าเส้นกราฟหัวใจผิดปกติ หมอสงสัยว่าอาจเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จึงแนะนำให้ฉีดสี ผลออกมาคือเส้นเลือดหัวใจตีบ 3 เส้น เลยเลือกมารักษาที่รพ.รามคำแหง กับนพ.วสันต์เพราะได้รับคำแนะนำจากเพื่อน ตอนมาคือเตรียมใจทำบายพาส แต่หมอบอกว่าเส้นเลือด เส้นที่หนึ่งของผมภาพรวมสามารถทำบอลลูนได้ จึงนัดมาทำ 1 เส้น ผลออกมาด้วยดี อีกสัปดาห์ ถัดมานัดมาทำอีก 2 เส้น เส้นเลือดที่ตีบเส้นแรกคือตัน 100% อีกหนึ่งเส้นใช้ได้ 1% และอีกเส้น ใช้ได้ 11% รวมแล้วทั้ง 3 เส้นของผมใช้ได้แค่ 11% หลังจากที่ทำบอลลูนเสร็จ ก่อนกลับบ้านผมมาพบ อ.สิทธา ที่แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอดได้เดินออกกำลังกายตามโปรแกรมและสังเกตุอาการ โดยไม่ให้ออกกำลังกายแบบหักโหมใช้เวลาออกกำลังกาย 45-60 นาทีต่อครั้ง ตามที่อ.สิทธา แนะนำ"

 

 


 

ศาสตราธิคุณ นพ.วสันต์ อุทัยเฉลิม
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านหัตถการหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

"เนื่องจากผู้ป่วยเป็นทั้ง 3 เส้น ก็เลยทำแยกเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกต้องทำจุดที่ยากที่สุด คือเส้นเลือดหัวใจข้างขวาที่อุดตันสนิท 100% พอทำสำเร็จ หลังจากนั้นก็นัดมาทำเส้นซ้าย ที่เหลืออีก 2 เส้น ถ้าเป็นการทำบอลลูนส่วนใหญ่ พักฟื้นในโรงพยาบาล 1-2 วันก็กลับบ้านได้ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติแล้ว เพียงแต่ว่าต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้ออกกำลังกายหนักๆ ช่วง 1 สัปดาห์แรก เรามีโปรแกรมที่ดูแลหลังจากการทำบอลลูนหรือทำผ่าตัดบายพาส เพื่อให้ผู้ป่วยแน่ใจว่าจะออกกำลังกายได้มากน้อยแค่ไหนหรือออกกำลังกายแล้วจะมีปัญหา อะไรหรือเปล่า"

 

 

ภาพตัวอย่างผู้ป่วยจริงในโรงพยาบาลรามคำแหงที่ได้รับการทำบอลลูนหัวใจ

 

 

ก่อนทำบอลลูนหัวใจ

 

 

หลังทำบอลลูนหัวใจ

 

 

 

ผศ.ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์

ผู้ชำนาญการด้านฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอด และการออกกำลังกาย

 

 

"ผู้ป่วยรายนี้ ผมให้เขาทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน จักรยานแขน จักรยานขา ให้ใช้กล้ามเนื้อหลายๆ ส่วน พอเริ่มคุ้นชินก็กลับไปทำที่บ้านได้ จะไม่ค่อยเหนื่อย จะแข็งแรง รู้สึกว่าทำได้ ในขณะที่ออกกำลังกายเราดูการเต้นของหัวใจว่าขึ้นเร็วหรือขึ้นช้า เต้นเป็นจังหวะไหม หรือว่าบางคนอาจมีผิดจังหวะต่อความหนักที่ให้ หรือภาวะการเต้นที่ผิดปกติ หากมี กิจกรรมบางอย่างที่ทำที่บ้าน อาจจะไม่แนะนำให้ทำ ผู้ป่วยรายนี้ผมวางแผนและออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกาย โดยจะให้ทำสัปดาห์ละครั้งหรือสองครั้ง ต้องทำทั้งหมด 7 ครั้ง ถ้าทำต่อเนื่องได้ยาวจะส่งผลดีกว่าและพัฒนาได้ดีกว่า"

 

 

 

 

 

 

 

แก้ไข

13/09/2555