รากฟันเทียมคืออะไร และฟันปลอมทั้งปากอยู่บนรากฟันเทียมเป็นอย่างไร?

December 23 / 2024

 

 

 

 

รากฟันเทียมคืออะไร ?

 

 

 

     จากอดีตถึงปัจจุบันฟันเทียมทดแทนมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยังเป็นฟันเทียมแบบถอดได้ และพัฒนามาเป็นแบบติดแน่นหรือเรียกว่าสะพานฟัน (Bridge) ซึ่งใช้งานได้สะดวกมาก แต่ก็มีข้อเสียเรื่องการดูแลรักษาความสะอาดอยู่ นวัตกรรมรากฟันเทียมจึงเข้ามาทดแทนฟันเทียมที่เคยใช้งานกัน เนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติที่สุด ทั้งยังดูแลรักษาง่าย สะดวกใช้งาน และสวยงามกลมกลืนคล้ายฟันจริง

 

 

 

 

 

 

การทำรากฟันเทียม

     การรากฟันเทียม (Dental Implant) เป็นฟันเทียมทดแทนประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะรูปร่างและให้ความรู้สึกเหมือนฟันธรรมชาติที่สุด รากฟันหนึ่งซี่ประกอบด้วยโลหะ Titanium ซึ่งฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรพร้อมส่วนครอบที่ทำหน้าที่เสมือนฟันธรรมชาติ 

 

 

ส่วนประกอบของรากฟันเทียม ประกอบด้วย

  • ตัวรากฟันเทียม (Fixture) ฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรซึ่งทำหน้าที่เสมือนรากฟันซึ่ง เป็นฐานที่จะให้ครอบฟันวางอยู่บนตัว
  • ตัวแกน (Abutment) ส่วนแกนที่ต่อกับตัวรากเทียม (Fixture) โผล่ขึ้นมาเหนือเหงือก ทำหน้าที่เป็นแกนให้ครอบฟันครอบไว้
  • ครอบฟัน (Crown) ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นฟันเพื่อความสวยงาม และบดเคี้ยวอาหารทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป จะโผล่ออกมาเหนือเหงือกดังเช่นฟันธรรมชาติทั่วไป

 

 

 

รากฟันเทียม

 

 

หน้าที่ของรากฟันเทียม

     รากฟันเทียมยังสามารถใช้เป็นหลักยึดฟันปลอมทั้งปาก กรณีที่ผู้ป่วยใส่ฟันปลอมทั้งปากมานาน สันกระดูกขากรรไกร (Alveolar ridge) ที่รองรับฟันปลอมยุบตัวลง ซึ่งส่งผลให้ฟันปลอมทั้งปากที่ใส่จะไม่แน่นเหมือนเดิม เวลาเคี้ยวอาหารจะขยับไปมา ทำให้มีปัญหาต่อการบดเคี้ยว

 

 


แพทย์สามารถทำให้รากฟันเทียมยึดติดแน่นด้วยทำปุ่มยึด (Attachment) ซึ่งโผล่มาเหนือเหงือก เพื่อยึดฟันปลอมทั้งปาก (Full Denture) จะทำให้ฟันปลอมที่ใส่แน่น ผู้ป่วยสามารถใช้เคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ


 

 

 

 

รากฟันเทียม

รากฟันเทียม

 

 

กรณีใดที่แพทย์ต้องพิจารณาเป็นพิเศษก่อนเข้ารับการทำรากฟันเทียม

ปัจจุบันการทำรากฟันเทียมสามารถทำได้ในผู้ป่วยเกือบทุกคน เว้นในบางกรณี เช่น

 

  • ผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือ
  • ผู้ที่ไม่สามารถสื่อสารกันได้ 
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถควบคุมภาวะของโรคให้อยู่ในสภาพปรกติ 
  • กรณีผู้ป่วยมีกระดูกขากรรไกรแบนราบจนไม่มีเนื้อกระดูกเพียงพอที่จะทำรากฟันเทียม และยังไม่สามารถปลูกกระดูกให้มีกระดูกเพิ่มขึ้นได้

 

 

ขั้นตอนในการทำรากฟันเทียม

เนื่องจากการทำรากฟันเทียมเป็นการผ่าตัดเล็ก ทันตแพทย์จึงสามารถทำในคลินิกทันตกรรม เพียงให้ยาชาเฉพาะที่และปฏิบัติการแพทย์ให้แล้วเสร็จก็สามารถกลับบ้านได้เลย

 

  • บางรายเท่านั้นที่ทันตแพทย์อาจต้องให้ยาสลบก่อนการผ่าตัด โดยต้องพักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาล 1-2 วัน
  • หลังการผ่าตัดทำรากฟันเทียม ผู้ป่วยอาจมีการบวมหลังผ่าตัดประมาณ 3-4 วัน ซึ่งเป็นกระบวนการหลังการผ่าตัดในช่องปากทั่วไปและจะได้รับการตัดไหม 10 วันหลังผ่าตัด
  • จากนั้นจะต้องรอกระดูกเข้าไปจับกับรากเทียมที่ฝังไปให้แน่นประมาณ 2-4 เดือน แล้วแต่สภาวะของผู้ป่วย
  • หากตรวจเอกซ์เรย์หรือเข้ารับการตรวจเครื่องวัดความแน่นของรากเทียม (ISQ) แล้วพบว่ากระดูกจับกับรากเทียมแน่นดีแล้ว  ทันตแพทย์จึงเริ่มใส่ฟันครอบบนรากฟันเทียมต่อไป โดยใช้เวลาไม่นานราว 1 เดือน ผู้ป่วยสามารถใช้ฟันเทียมเคี้ยวอาหาร และประกอบฟันให้สวยงามสมบูรณ์

 

 

 


การใส่ฟันทดแทนด้วยรากฟันเทียม จะมีลักษณะใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากที่สุดดังที่ได้กล่าวแล้ว ยังมีภาวะเหงือกอักเสบ มีหินปูนจับได้ และมีการแตกหักได้เหมือนฟันธรรมชาติในช่องปาก


 

 

 

รากฟันเทียมรากฟันเทียมรากฟันเทียมรากฟันเทียม

 

 

การดูแลรากฟันเทียม

  • การแปรงฟัน
  • ไม่ทานอาหารที่แข็ง
  • การใช้ไหมขัดฟัน เป็นต้น
  • ควรมาพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน - 1 ปี

 

 

อ่านเพิ่มเติม: รากฟันเทียม กุญแจสู่รอยยิ้มที่มั่นใจและสวยงาม

 

แก้ไข

28/08/2566