การรักษารากฟัน ลดอักเสบร่วมฟื้นคืนสุขภาพของช่องปาก

December 20 / 2024

รักษารากฟัน

 

 

 

     ร่วมรักษารากฟันให้แข็งแรงถึงฐานรากกับแผนกทันตกรรม โรงพยาบาลรามคำแหง เพื่อสุขภาพช่องปากที่แข็งแรงและลมหายใจที่สะอาดผ่านกระบวนการกำจัดเนื้อเยื่อในโพรงรากฟันและคลองรากฟันที่มีอาการอักเสบและติดเชื้อ พร้อมเจาะลึกประเด็นการดูแลหลังรักษาซึ่งส่งผลดีในระยะยาว   

 

การรักษารากฟัน

     การรักษารากฟัน (Root Canal Treatment) เป็นกระบวนการกำจัดเนื้อเยื่อในโพรงรากฟันและคลองรากฟันที่มีอาการอักเสบและติดเชื้อ ร่วมกับการทำความสะอาดในคลองรากฟันให้ปราศจากเชื้อ และอุดปิดคลองรากฟันด้วยวัสดุอุดคลองรากฟัน

 

 

รักษารากฟัน

 

สภาพฟันแบบไหนถึงเหมาะกับการรักษารากฟัน

     ฟันที่ต้องได้รับการรักษารากฟัน มักเป็นฟันที่ผุลึกมากจนเกิดโรคในโพรงประสาทฟันและโรครอบปลายรากฟัน หรืออาจเกิดจากฟันแตกร้าว หรือถูกกระแทกจากอุบัติเหตุ  หรือการสบฟันที่ผิดปกติ ฟันที่ต้องได้รับการรักษารากฟันมักจะมีอาการปวด อาจปวดแบบเป็นๆ หาย หรือปวดรุนแรง บางครั้งอาจจะมีอาการเสียวฟันมากเมื่อดื่มของร้อนหรือเย็น หรือรู้สึกเจ็บฟันเมื่อเคี้ยวอาหาร บางครั้งอาจพบว่าฟันเปลี่ยนสี มีอาการบวม หรือมีตุ่มหนองที่เหงือก

 

 

 

 

 

รักษารากฟัน

 

 

ประโยชน์ของการรักษารากฟัน

     เพื่อบำบัดอาการเจ็บปวด และบูรณะให้ฟันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ เป็นการรักษาเพื่อเก็บฟันธรรมชาติไว้ แทนการถอนฟัน

 

 

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

  • อาการปวดและ /หรือบวม
  • เครื่องมือหักในคลองรากฟัน
  • เกิดรอยทะลุออกนอกรากฟัน
  • รากฟันตีบตัน ทำให้รักษาไม่สมบูรณ์
  • ฟันแตก

 

 

วิธีการรักษารากฟัน

  • ตรวจทางคลินิกและภาพรังสี เพื่อประเมินฟันก่อนการรักษาว่าสามารถเก็บฟันและบูรณะให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติได้หรือไม่
  • ฉีดยาชาเฉพาะที่ ใส่แผ่นยางกั้นน้ำลาย จากนั้นกรอฟันกำจัดรอยผุ และกรอฟันเพื่อเปิดสู่โพรงประสาทฟัน
  • กำจัดเนื้อเยื่อและทำความสะอาดโพรงประสาทฟันและคลองรากฟันด้วยเครื่องมือที่มีขนาดเล็ก ร่วมกับการล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ และใส่ยาฆ่าเชื้อระหว่างที่มีการนัดหมายทันตแพทย์จะอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันชั่วคราว
  • เมื่อฟันมีอาการปกติแล้วจะทำการอุดปิดรากฟัน เพื่อปิดช่องว่างไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาอยู่ได้อีก โดยปกติจะใช้เวลาในการรักษาประมาณสองถึงสามครั้ง ขึ้นอยู่กับความยากง่ายและสภาพการติดเชื้อของฟันแต่ละซี่ หลังจากนั้นจะอุดด้วยวัสดุอุดชั่วคราว และส่งต่อเพื่ออุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันถาวร หรือการทำครอบฟันแล้วแต่กรณี

 

 

คำแนะนำระหว่างการรักษารากฟัน

     หลังจากการรักษารากฟันในแต่ละครั้ง อาจพบอาการปวดได้บ้างในช่วงเวลาสองถึงสามวัน สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ แต่ถ้ามีอาการปวดมากขึ้นหรือมีอาการบวมมากขึ้นควรกลับมาพบทันตแพทย์

 

 

รักษารากฟันรักษารากฟัน

 

 

การดูแลรักษารากฟัน

     ฟันที่ได้รับการรักษารากฟันก็จะเหมือนกับฟันปกติทั่วไป ควรแปรงฟันใช้ไหมขัดฟัน มาพบทันตแพทย์ตามนัดหลังการรักษารากฟันเสร็จเพื่อตรวจและติดตามสภาพฟันหลังการรักษาเป็นระยะ

 

 

 

รักษารากฟันรักษารากฟัน

 

 

 


ในระหว่างการรักษารากฟันไม่แนะนำให้ใช้ฟันเคี้ยวอาหารแข็งจนกว่าจะมีการทำครอบฟันหรืออุดฟันถาวรเสร็จสมบูรณ์


 

 

 

แก้ไข

28/08/2566