s Working Woman ต้องอ่าน ไม่อยากกระดูกพรุนก่อนวัย ต้องอ่าน!!

Working Woman ต้องอ่าน ไม่อยากกระดูกพรุนก่อนวัย ต้องอ่าน!!

February 23 / 2024

 

ทำไม? ยังสาว แต่ กระดูกพรุน” Working Woman ไม่อยากกระดูกพรุนก่อนวัย ต้องอ่าน!!

 

 

 

หลายคนมัวแต่ทำงานจนไม่ได้ใส่ใจสุขภาพของตัวเองเท่าที่ควร หรือถ้าสนใจส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องการดูแลผิวพรรณ ควบคุมน้ำหนักให้มีหุ่นเพรียวสวยซะมากกว่าที่จะดูแลร่างกายส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะกระดูกที่เป็นอวัยวะสำคัญมากๆ ในการเคลื่อนไหวร่างกาย นอกจากนี้ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของเราทุกวันนี้ ยังช่วยทำลายมวลกระดูกให้เสื่อมเร็วขึ้นแบบไม่รู้ตัวอีกด้วย

 

 

 

ปัจจัยที่เร่งให้มวลกระดูกเสื่อมเร็วขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากไลฟ์สไตล์ที่สาวๆ ทำกันจนเคยชิน

 

  • ทั้งเครียดกับงาน
  • ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
  • ใส่รองเท้าส้นสูง
  • ชอบดื่มน้ำอัดลม ตกเย็นก็ไปดื่มกับเพื่อน
  • พักผ่อนน้อย
  • ทุกเช้าก็ต้องดื่มกาแฟเพื่อให้ร่างกายตื่นตัว หรือบางคนก็ทำงานจนดึกดื่น ซึ่งการทำพฤติกรรมซ้ำๆ แบบนี้วนไปหลายๆ ปี ยิ่งเร่งให้กระดูกพรุนมาเยือนเร็วขึ้นโดยไม่ต้องรอจนอายุมาก

 

 

และหากเป็นโรคกระดูกพรุนขึ้นมานี่บอกเลยว่าชีวิตเปลี่ยนแน่ๆ เพราะมีโอกาสที่กระดูกจะแตกหักได้ง่ายๆ อย่างไม่คาดคิด สร้างความเจ็บปวดให้ร่างกาย เพราะจะเคลื่อนไหวไปไหนก็ไม่สะดวก ขยับตัวก็ลำบาก แถมยังต้องเสียเงินรักษาอีกไม่น้อย

 

 

เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ด้วยการ

 

  • เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาตัวเล็กๆ ถั่วต่างๆ เต้าหู้ งาดำ ผักใบเขียว
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นประจำ
  • ไม่สูบบุหรี่
  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
  • เลี่ยงยกของหนักๆ
  • ตรวจมวลกระดูกเป็นประจำ ก็จะช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้อีกทาง

 

 

 

การเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงควรทำตั้งแต่วัยหนุ่มสาวเพราะหลังอายุ 35 ปีไปแล้ว จะทำได้เพียงชะลอการเสื่อมของกระดูกเท่านั้น นอกจากนี้ไลฟ์สไตล์คนปัจจุบันอาจจะได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ (วิตามินดีช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม) จึงควรต้องตรวจเช็คและรับวิตามินดีเสริมโดยแพทย์เพิ่มเติม โดยการใช้รังสี X-ray พลังงานต่ำสะท้อนภาพเนื้อเยื่อกระดูก ทราบผลการตรวจอย่างรวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัย...

ข้อมูลเพิ่มเติมคลิก >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/2163

 


การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก (Bone Densitometry) เป็นวิธีการตรวจที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะช่วยให้ทราบว่าสุขภาพของกระดูกมีความแข็งแรงระดับใด และมีภาวะกระดูกพรุนหรือไม่

 

 

แก้ไข

18/08/2566