เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Policy)
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
โรงพยาบาลรามคำแหง (“โรงพยาบาล”) ได้จัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ที่ท่านให้โรงพยาบาลใน ระหว่างการร้องขอการบริการ การเยี่ยมชมเว็บไซต์
หรือใช้แอพพลิเคชั่นของหรือจากโรงพยาบาล นโยบาย คุ้มครองข้อมูลส่วน
บุคคลนี้รวมถึงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวคุณโดยเป็นการส่งต่อมาจากบุคคลที่สาม
ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง “ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือ ทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ”
การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
1. โรงพยาบาลเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของ ท่าน ที่สามารถระบุตัวตนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อประโยชน์ต่อท่านในระยะเวลาที่เหมาะสมจำเป็นต่อการให้บริการ ในกรณีที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูล กับโรงพยาบาล หรือร้องขอการบริการจากโรงพยาบาลผ่านช่องทางเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นหรือ ช่องทางอื่นใดของโรงพยาบาล อาทิเช่น การนัดหมายแพทย์ การทำธุรกรรมแบบออนไลน์ การสมัครรับจดหมายข่าว การขอรับความช่วยเหลือพิเศษ รวมไปถึงการทำธุรกรรมแบบออฟไลน์ เช่น การลงทะเบียนผู้ป่วยที่เคาน์เตอร์ลงทะเบียนของโรงพยาบาล หรือจากความสมัครใจ ของท่านใน การทำแบบสอบถาม (Survey) หรือการโต้ตอบทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรือการกรอก ให้ข้อมูลประกอบการสมัครงาน หรือช่องทางการสื่อสารอื่นๆ ระหว่างโรงพยาบาล และท่าน
2. โรงพยาบาลอาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากบุคคลที่สาม เช่นธุรกิจในเครือข่าย ตัวแทน จำหน่าย หรือผู้ให้บริการของโรงพยาบาล หน่วยงานภาครัฐ
ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวมจากท่านจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการเก็บรวบรวม และประเภทของการบริการที่ท่านร้องขอจากโรงพยาบาล ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูกนำมาใช้เพื่อให้การทำธุรกรรมออนไลน์หรือออฟไลน์ หรือบริการที่ได้รับการร้องขอเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาล เก็บรวบรวมโดยตรงจากท่าน หรือจากบุคคลที่สาม มีดังนี้
1) ข้อมูลระบุตัวตน เช่น ชื่อ ภาพถ่าย เพศ วัน เดือน ปีเกิด หนังสือเดินทาง หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขที่สามารถระบุตัวตนอื่นๆ
2) ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมลล์
3) ข้อมูลการชำระเงิน เช่น ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิต และ รายละเอียดบัญชี ธนาคาร
4) ข้อมูลการเข้ารับบริการ เช่น ข้อมูลการนัดหมายแพทย์ ข้อมูลส่วนบุคคลของญาติ ความต้องการ เกี่ยวกับห้องพัก อาหาร และบริการเสริมอื่นๆ
5) ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเพื่อร่วมกิจกรรมกับเรา
6) ข้อมูลสถิติ เช่น จำนวนผู้ป่วย และการเข้าชมเว็บไซต์
7) ข้อมูลจากการเข้าใช้เว็บไซต์ของโรงพยาบาล
8) ข้อมูลด้านสุขภาพ รายงานที่เกี่ยวกับสุขภาพกาย และสุขภาพจิต การดูแลสุขภาพของท่าน ผลการทดสอบจากห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ และการวินิจฉัย
9) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและการแพ้ยาของท่าน
10) ข้อมูล Feedback และผลการรักษาที่ท่านให้ไว้
เราจะไม่เก็บและใช้ข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนของคุณ เช่น เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ประวัติอาชญากร เว้นแต่เป็นไปตามที่ข้อบังคับและกฎหมายกำหนด หรือโดยความยินยอมของท่าน
การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1) จัดหาบริการ หรือส่งมอบบริการของโรงพยาบาล
2) นัดหมายแพทย์ ส่งข่าวสาร แนะนำบริการของโรงพยาบาล
3) การประสานงานและส่งต่อข้อมูลซึ่งจะช่วยให้การส่งต่อผู้ป่วยมีความรวดเร็วขึ้น
4) การยืนยันตัวตนของผู้ป่วย
5) ส่งข้อความแจ้งเตือนการนัดหมายแพทย์ หรือการเสนอความช่วยเหลือจากโรงพยาบาล
6) อำนวยความสะดวกและนำเสนอรายการสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่ท่าน
7) จุดประสงค์ด้านการตลาด การส่งเสริมการขาย และการลูกค้าสัมพันธ์ เช่น การส่งข้อมูลเกี่ยวกับ โปรโมชั่น ผลิตภัณฑ์และบริการ รายการส่งเสริมการขาย และธุรกิจพันธมิตร
8) เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร ตอบค าถาม หรือตอบสนองข้อร้องเรียน
9) สำรวจความพึงพอใจของลูกค้า วิจัยตลาด วิเคราะห์ทางสถิติประมวลผลและแสดงผลเพื่อเป็น ข้อมูลในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ ให้แก่ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์ยิ่งขึ้น
10) วัตถุประสงค์ทางบัญชีหรือทางการเงิน เช่นการตรวจสอบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต การเรียกเก็บเงินและการตรวจสอบความถูกต้อง การขอคืนเงิน
11) รักษาความปลอดภัย รวมถึงความปลอดภัยขณะพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาล
12) เพื่อวัตถุประสงค์ในการสมัครงาน การเป็นพนักงาน หรือวัตถุประสงค์อื่นใดที่เกี่ยวข้อง
13) ปฏิบัติตามกฎของโรงพยาบาล
14) ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือการร้องขอใดๆจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น การปฏิบัติตามหมายเรียกพยาน หรือคำสั่งศาล หรือการร้องขออื่นๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
15) วัตถุประสงค์อื่นๆ ที่สนับสนุนการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ข้างต้น หรือที่ได้รับความยินยอมจาก ท่านเป็นครั้งคราว
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลอาจเปิดเผยหรือถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังบุคคลที่สาม ซึ่งอาจตั้งอยู่ภายในหรือ นอกราชอาณาจักร โดยโรงพยาบาลจะดำเนินตามมาตรการที่จำเป็นและเหมาะสม หรือเป็นไปตามข้อบังคับและ กฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์ที่ตามระบุไว้ข้างต้น ให้แก่
1) พันธมิตรทางธุรกิจ เช่น บริษัทประกัน พันธมิตรที่เข้าร่วมรายการโปรแกรมสะสมคะแนน และสิทธิ ประโยชน์และศูนย์การแพทย์ และหรือบริษัทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการ
2) ธนาคาร และผู้ให้บริการชำระเงิน เช่น บริษัทบัตรเครดิต หรือเดบิต
3) เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงและความปลอดภัย
4) หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานศุลกากร
5) หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยงานอื่นๆ ตามที่กฎหมายอนุญาต หรือกำหนดไว้
การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นบนมือถือของโรงพยาบาล อาจมีลิงก์เชื่อมไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม หากท่านไปตาม ลิงก์เหล่านี้ นโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ไม่มีผลกับเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม โปรดทราบว่าโรงพยาบาลไม่ สามารถรับผิดชอบใดๆ ต่อการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านโดยบุคคลที่สามดังกล่าว เนื่องจากอยู่นอกการ ควบคุมของโรงพยาบาล
การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล และความปลอดภัย
1. ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูก เก็บรักษาไว้นานเท่าที่จำเป็น เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ตามที่อธิบาย ไว้ในนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ หรือภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย หรือเพื่อการดำเนินการทาง กฎหมาย
2. โรงพยาบาลจะใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย และการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อ ป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
1. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (right to withdraw consent) : ท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความ ยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับโรงพยาบาลได้ ตลอดระยะเวลาที่ ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับโรงพยาบาล
2. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (right of access) : ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและ ขอให้โรงพยาบาลทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้แก่ท่าน รวมถึงขอให้โรงพยาบาลเปิดเผยการได้มาซึ่ง ข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอมต่อโรงพยาบาลได้
3. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (right to rectification) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาล แก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือเพิ่มเติมข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์
4. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (right to erasure) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาลท าการลบข้อมูล ของท่านด้วยเหตุบางประการได้
5. สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (right to restriction of processing) : ท่านมีสิทธิในการระงับการ ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
6. สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (right to data portability) : ท่านมีสิทธิในการโอนย้ายข้อมูลส่วน บุคคลของท่านที่ท่านให้ไว้กับโรงพยาบาลไปยังผู้ควบคุมข้อมูลรายอื่น หรือตัวท่านเองด้วยเหตุบางประการได้
7. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (right to object) : ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการ ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
ท่านสามารถร้องขอการเข้าถึงหรือขอให้อัพเดตและแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงสิทธิอื่นใดข้างต้น หรือสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้บังคับ เช่น ขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือขอให้ระงับการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน กรณีเห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถูกนำไปใช้เกิน ขอบเขตวัตถุประสงค์การใช้งานที่แจ้งให้ทราบข้างต้น หรือไม่ได้รับความยินยอมจากท่าน
การเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะทำการพิจารณาทบทวนนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นประจำเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโรงพยาบาลจะแจ้ง ให้ท่านทราบด้วยการ อัพเดตข้อมูลลงในเว็บไซต์ของโรงพยาบาล https://www.ram-hosp.co.th/contactus โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้หากท่านมีคำถาม ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโปรดติดต่อได้ที่อีเมลล์ support@ram-hosp.co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 01 มิถุนายน 2565
(นพ.พิชญ สมบูรณสิน)
กรรมการบริหาร
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
ผ่าตัดไซนัส ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเพราะทุกคนมีโอกาสที่จะเป็นได้ ดังนั้นจึงขออธิบายก่อนว่า “ไซนัส” (Sinus) คือ โพรงอากาศของกะโหลกที่อยู่บริเวณข้าง ๆ โพรงจมูก มีทั้งหมด 4 คู่หลักทั้งด้านซ้ายและด้านขวาบริเวณแก้ม หน้าผาก หักตา และฐานกะโหลก
โดยปกติ ไซนัสจะถูกระบายออกทางรูระบายต่อกับโพรงจมูกตามกลไกธรรมชาติ แต่เมื่อไซนัสเกิดการอักเสบหรืออุดตัน ทำให้ไม่สามารถระบายไซนัสออกได้ จึงเกิดเป็น “โรคไซนัสอักเสบ” และส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจและการรับกลิ่น ปัจจุบัน การรักษาไซนัสอักเสบอย่างมีประสิทธิภาพและลดอัตราการเกิดซ้ำได้ที่สุดคือการผ่าตัดรักษาไซนัสแบบเปิดหมดโดยการส่องกล้อง หรือที่เรียกว่า Full House FESS
สารบัญ
การผ่าตัดไซนัสผ่านกล้อง คือ การผ่าตัดโดยใช้กล้องเอ็นโดสโคปเพื่อรักษาโรคไซนัส และโรคต่าง ๆ ในโพรงจมูกรวมถึงอวัยวะใกล้เคียง จะช่วยให้แพทย์ผู้ผ่าตัดมองเห็นภาพสรีระ โดยเฉพาะในบริเวณที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และแนวของโรคได้อย่างชัดเจน ทำให้การประเมินความรุนแรงของโรค และการวางแผนการรักษาเป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำ เนื่องจากเป็นการผ่าตัดผ่านรูจมูก โดยส่วนใหญ่ ผู้รับการรักษาจึงไม่มีแผลผ่าตัดที่บริเวณผิวหนังด้านนอก ยกเว้นในกรณีของโรคมีความรุนแรง หรือรอยโรคอยู่ในตำแหน่งที่มีความซับซ้อน ก็อาจเกิดแผลบริเวณผิวหนังได้เล็กน้อยแล้วแต่กรณี
เมื่อไหร่จึงควรรีบพบแพทย์ ตอบได้เลยว่าหลาย ๆ คนยังคงมีความเข้าใจผิด เพราะแม้อาการของโรคไซนัสอักเสบจะคล้ายอาการหวัด ผู้ป่วยมักคิดว่าเดี๋ยวก็หายเอง แต่ถ้าหากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง
คัดจมูก น้ำมูกข้นมีสีเขียว น้ำมูกปนเลือด
ปวดตึงศีรษะ หรือบริเวณใบหน้า หัวตา หน้าผาก โหนกแก้มหรือท้ายทอย
ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น หรือความสามารถในการรับกลิ่นลดลง
นพ.ภูริปัณย์ อร่ามวัฒนพงศ์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้าน โสต ศอ นาสิกวิทยา และมะเร็งศีรษะและคอ
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดไซนัส ผู้ป่วยควรพักผ่อนให้เพียงพอและเตรียมตัวก่อนผ่าตัด 1 วัน ส่วนถ้าเกิดคำถามต่อว่าผ่าตัดไซนัส พักฟื้นกี่วัน โดยปกติการพักฟื้นที่โรงพยาบาลหลังผ่าตัดใช้เวลา 1-2 วันหากไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ความเสี่ยงจากการผ่าตัดไซนัส เนื่องจากโพรงจมูกและไซนัสอยู่ใกล้กับ กระบอกตา เส้นประสาทตา และเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงสมอง การผ่าตัดจึงอาจเกิดความเสี่ยงในการกระทบกระเทือนอวัยวะเหล่านี้ได้ โดยพบความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บต่อลูกตาและการเกิดน้ำในสมองรั่วเข้ามาในโพรงจมูกประมาณ 1% และความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทตาและเส้นเลือดแดงใหญ่ประมาณ 0.1% ในปัจจุบัน มีการนำเครื่องนำวิถีในการผ่าตัด (navigator) เข้ามาใช้ ทำให้การผ่าตัดมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถลดความเสี่ยงได้อย่างมีนัยสำคัญ
หลังผ่าตัดจะมีวัสดุห้ามเลือดไว้ในโพรงไซนัส ทำให้คนไข้ยังหายใจทางจมูกได้
อาจจะมีเลือดไหลออกมา เวลาลุกนั่งหรือก้มใน 1-2 วันแรกได้ มักเป็นเลือดเก่าปนกับน้ำยาที่ใช้ล้างในโพรงไซนัสเทออกมา
หลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรง ๆ การแคะและการกระทบกระเทืองบริเวณจมูก การไอแรง ๆ การออกแรงต่าง ๆ หรือการยกของหนัก
ไม่ต้องล้างจมูก จะมียาพ่นเพื่อทำความสะอาดแผลในโพรงจมูกไซนัส
การปฏิบัติตนหลังการผ่าตัดอย่างถูกวิธี มีผลช่วยให้การรักษาประสบความสำเร็จดียิ่งขึ้น และช่วยให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดหายเป็นปกติอย่างรวดเร็ว โดยผู้ป่วยควรมาพบแพทย์ตามคำสั่ง เพื่อติดตามผลการรักษาและอาการอย่างต่อเนื่อง
“ไซนัส” คือโพรงอากาศของกะโหลกซึ่งมีรูระบายเปิดเข้าไปในช่องจมูกมีอยู่ 4 คู่หลัก อยู่ตรงแก้ม หน้าผาก หัวตาและฐานกะโหลกและถ้ามีหนองในโพรงอากาศของกะโหลก ก็คือการเป็น “ไซนัสอักเสบ”
หากผู้ป่วยมีอาการหวัด และสังเกตว่ามีไข้ หรืออาการปวดตึงบริเวณใบหน้า หัวตา หน้าผากหรือแก้ม รวมถึงอาการแน่นจมูก น้ำมูกข้นเหนียว แล้วอาการมีแนวโน้มที่จะแย่ลงหลังจาก 3-4 วัน หรือในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหวัดเรื้อรังนาน 7-10 วัน หรือมีอาการดีขึ้นในช่วงแรกแล้วกลับแย่ลง ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคไซนัสอักเสบได้
ผ่าตัดไซนัส อันตรายไหม อย่างที่ได้บอกไป ในปัจจุบันการผ่าตัดแบบ “Full House FESS” หรือ “การผ่าตัดไซนัสแบบเปิดหมด เหลือแต่ขอบ” นั้น เป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้องเข้าทางจมูกแบบเปิดโพรงไซนัสทั้งหมดให้เชื่อมต่อกับโพรงจมูก โดยยังคงหน้าที่การทำงานของไซนัสไว้ ซึ่งวิธีนี้ มีข้อดีคือสามารถระบายอากาศของไซนัสได้ดีที่สุด ยังสามารถระบายหนองและเชื้อราออกจากไซนัสได้อย่างเต็มที่ ช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำ รวมถึงสามารถให้ยาพ่นหรือล้างจมูกเพื่อขจัดการอักเสบและลดอาการการแพ้ได้เต็มที่ในกรณีที่เป็นภูมิแพ้หรือริดสีดวงจมูก อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดทุกชนิดย่อมมีความเสี่ยง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ อาทิเช่น
วิธีการผ่าตัด
ความชำนาญของแพทย์
สภาพร่างกาย ,โรคของผู้ป่วยและโครงสร้างกายวิภาคของจมูกและไซนัสของผู้ป่วย
โดยในประเทศไทย มีแพทย์ผู้ชำนาญการณ์ด้านการผ่าตัดแบบ “Full House FESS” จำนวนจำกัดเนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่จำเป็นต้องอาศัยความรู้ และทักษะของแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการผ่าตัดอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ควรเลือกแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดในบริเวณใกล้กับฐานกะโหลกและลูกตานั่นเอง
Full House FESS คือ การผ่าตัดไซนัสทุกไซนัส โดยเปิดทั้งหมดเชื่อมต่อกันเป็นส่วนเดียว โดยการส่องกล้อง เป็นการผ่าตัดไซนัสที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
ESS คือ การผ่าตัดไซนัสโดยการส่องกล้อง จะเปิดหมดหรือไม่หมดก็ได้ แต่โดยทั่วไปจะมีความหมายว่า ผ่าตัดเปิดไซนัสบางส่วนเท่านั้น
ผ่าตัดไซนัส หายขาดไหม เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยมักกังวลใจ แต่ความจริงแล้วการผ่าตัดไซนัสซ้ำอาจเกิดจากการรักษาที่ไม่สมบูรณ์จากการผ่าตัดครั้งก่อน โดยมีสาเหตุหลักต่าง ๆ ดังนี้
การผ่าตัดเปิดไซนัสแค่บางส่วน ทำให้ไซนัสที่ไม่ได้ถูกเปิดยังคงมีการอักเสบอุดตันอยู่ โดยผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นในระยะแรก แล้วกลับมาเป็นซ้ำ
การผ่าตัดรูเปิดไซนัสผิดตำแหน่ง
รูเปิดไซนัสตีบแคบและอุดตันเนื่องจากแผลเป็นจากการผ่าตัดแบบเจาะ ๆ ดูด ๆ
แผลเรื้อรังจากการผ่าตัดครั้งก่อน ทำให้ปิดการระบายอากาศของไซนัส
ลักษณะโครงสร้าง หรือผนังกั้นจมูกของผู้ป่วยผิดปกติ และไม่ได้รับการแก้ไขจากการผ่าตัดครั้งก่อน ทำให้การระบายอากาศของไซนัสไม่ดี
ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังนี้
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นภาวะติดเชื้อซึ่งทำให้เยื่อหุ้มสมองและน้ำเลี้ยงไขสันหลังบวมอักเสบ
โรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ หรือการอักเสบของผิวหนังและเนื้อเยื่อ
ปัญหาด้านสายตาจากการติดเชื้อในเบ้าตา ทำให้การมองเห็นลดลง หรือสูญเสียการมองเห็นชั่วคราวหรือถาวร
อาการของไซนัสอักเสบพบได้ตั้งแต่แบบไม่รุนแรง จนถึงอาการรุนแรงมาก โดยในผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง จะมีอาการคัดจมูก เสียงอู้อี้ มีเสมหะ หรือไอตลอดเวลา อาจได้กลิ่นเหม็นในโพรงจมูกและได้รับกลิ่นน้อยลงจากเดิม ส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการปวดตึงบริเวณใบหน้า หน้าผาก หัวตา หรือโหนกแก้ม ในบางรายมีอาการปวดฟันกรามด้านบน ซึ่งอาจมีไข้ร่วมหรือไม่ก็ได้ และในรายที่มีอาการรุนแรงมาก อาจเกิดการบวมบริเวณเบ้าตา ทำให้มองไม่เห็น หรือมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง
นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจพบว่ามีอาการปวดบริเวณใบหน้า หัวตา หน้าผาก โหนกแก้ม หรือท้ายทอยเมื่อเครื่องบินขึ้นหรือลดระดับเพื่อลงจอด โดยอาจมีเลือดออกจมูกหรือเสมหะปนเลือดก็ได้
สรุปแล้ว แม้ว่าอาการของโรคไซนัสอักเสบจะไม่รุนแรงในระยะเริ่มต้น และสามารถรักษาให้หายได้โดยใช้เวลาไม่นาน แต่หากปล่อยให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง อาจส่งผลกระทบไปยังอวัยวะต่าง ๆ ใกล้เคียง ทำให้เกิดความซับซ้อนและความยุ่งยากในการรักษาเพิ่มมากขึ้น และอาจส่งผลต่อชีวิตในที่สุด ดังนั้น หากพบว่าเริ่มมีอาการของภาวะไซนัสอักเสบติดต่อกัน ควรรีบพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและหาแนวทางการรักษาโรคที่เหมาะสมและถูกวิธี
โรงพยาบาลรามคำแหง
436 ถ. รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
1512, 02-743-9999
แฟกซ์ 0 2374 0804
support@ram-hosp.co.th