ผ่าตัดไซนัสโดยกล้อง แผลเล็ก เจ็บน้อย ทางเลือกใหม่ปลอดภัยขึ้น

February 08 / 2024

ผ่าตัดไซนัส

นวัตกรรมการผ่าตัดไซนัสแบบเปิดหมดโดยการส่องกล้อง (Full House FESS) แผลน้อย ฟื้นตัวไว

 

ผ่าตัดไซนัส ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเพราะทุกคนมีโอกาสที่จะเป็นได้ ดังนั้นจึงขออธิบายก่อนว่า “ไซนัส” (Sinus) คือ โพรงอากาศของกะโหลกที่อยู่บริเวณข้าง ๆ โพรงจมูก มีทั้งหมด 4 คู่หลักทั้งด้านซ้ายและด้านขวาบริเวณแก้ม หน้าผาก หักตา และฐานกะโหลก 

โดยปกติ ไซนัสจะถูกระบายออกทางรูระบายต่อกับโพรงจมูกตามกลไกธรรมชาติ แต่เมื่อไซนัสเกิดการอักเสบหรืออุดตัน ทำให้ไม่สามารถระบายไซนัสออกได้ จึงเกิดเป็น “โรคไซนัสอักเสบ” และส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจและการรับกลิ่น ปัจจุบัน การรักษาไซนัสอักเสบอย่างมีประสิทธิภาพและลดอัตราการเกิดซ้ำได้ที่สุดคือการผ่าตัดรักษาไซนัสแบบเปิดหมดโดยการส่องกล้อง หรือที่เรียกว่า Full House FESS

 

สารบัญ

การผ่าตัดไซนัสผ่านกล้องคืออะไร

การผ่าตัดไซนัสผ่านกล้อง คือ การผ่าตัดโดยใช้กล้องเอ็นโดสโคปเพื่อรักษาโรคไซนัส และโรคต่าง ๆ ในโพรงจมูกรวมถึงอวัยวะใกล้เคียง จะช่วยให้แพทย์ผู้ผ่าตัดมองเห็นภาพสรีระ โดยเฉพาะในบริเวณที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และแนวของโรคได้อย่างชัดเจน ทำให้การประเมินความรุนแรงของโรค และการวางแผนการรักษาเป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำ เนื่องจากเป็นการผ่าตัดผ่านรูจมูก โดยส่วนใหญ่ ผู้รับการรักษาจึงไม่มีแผลผ่าตัดที่บริเวณผิวหนังด้านนอก ยกเว้นในกรณีของโรคมีความรุนแรง หรือรอยโรคอยู่ในตำแหน่งที่มีความซับซ้อน ก็อาจเกิดแผลบริเวณผิวหนังได้เล็กน้อยแล้วแต่กรณี

 

ผ่าตัดไซนัส อันตรายไหม

เมื่อไหร่จึงควรรีบพบแพทย์

เมื่อไหร่จึงควรรีบพบแพทย์ ตอบได้เลยว่าหลาย ๆ คนยังคงมีความเข้าใจผิด เพราะแม้อาการของโรคไซนัสอักเสบจะคล้ายอาการหวัด ผู้ป่วยมักคิดว่าเดี๋ยวก็หายเอง แต่ถ้าหากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง

  • คัดจมูก น้ำมูกข้นมีสีเขียว น้ำมูกปนเลือด

  • ปวดตึงศีรษะ หรือบริเวณใบหน้า หัวตา หน้าผาก โหนกแก้มหรือท้ายทอย

  • ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น หรือความสามารถในการรับกลิ่นลดลง

 

โปรไฟล์แพทย์

 

นพ.ภูริปัณย์ อร่ามวัฒนพงศ์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้าน โสต ศอ นาสิกวิทยา และมะเร็งศีรษะและคอ

 

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดไซนัส

 

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดไซนัส ผู้ป่วยควรพักผ่อนให้เพียงพอและเตรียมตัวก่อนผ่าตัด 1 วัน ส่วนถ้าเกิดคำถามต่อว่าผ่าตัดไซนัส พักฟื้นกี่วัน โดยปกติการพักฟื้นที่โรงพยาบาลหลังผ่าตัดใช้เวลา 1-2 วันหากไม่มีภาวะแทรกซ้อน 

 

วิธีการผ่าตัดไซนัส

ความเสี่ยงจากการผ่าตัดไซนัสมีอะไรบ้าง

 

ความเสี่ยงจากการผ่าตัดไซนัส เนื่องจากโพรงจมูกและไซนัสอยู่ใกล้กับ กระบอกตา เส้นประสาทตา และเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงสมอง การผ่าตัดจึงอาจเกิดความเสี่ยงในการกระทบกระเทือนอวัยวะเหล่านี้ได้ โดยพบความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บต่อลูกตาและการเกิดน้ำในสมองรั่วเข้ามาในโพรงจมูกประมาณ 1% และความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทตาและเส้นเลือดแดงใหญ่ประมาณ 0.1% ในปัจจุบัน มีการนำเครื่องนำวิถีในการผ่าตัด (navigator) เข้ามาใช้ ทำให้การผ่าตัดมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถลดความเสี่ยงได้อย่างมีนัยสำคัญ

 

ข้อควรปฏิบัติหลังการผ่าตัดไซนัส

 

  • หลังผ่าตัดจะมีวัสดุห้ามเลือดไว้ในโพรงไซนัส ทำให้คนไข้ยังหายใจทางจมูกได้

  • อาจจะมีเลือดไหลออกมา เวลาลุกนั่งหรือก้มใน 1-2 วันแรกได้ มักเป็นเลือดเก่าปนกับน้ำยาที่ใช้ล้างในโพรงไซนัสเทออกมา

  • หลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรง ๆ การแคะและการกระทบกระเทืองบริเวณจมูก การไอแรง ๆ การออกแรงต่าง ๆ หรือการยกของหนัก

  • ไม่ต้องล้างจมูก จะมียาพ่นเพื่อทำความสะอาดแผลในโพรงจมูกไซนัส

การปฏิบัติตนหลังการผ่าตัดอย่างถูกวิธี มีผลช่วยให้การรักษาประสบความสำเร็จดียิ่งขึ้น และช่วยให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดหายเป็นปกติอย่างรวดเร็ว โดยผู้ป่วยควรมาพบแพทย์ตามคำสั่ง เพื่อติดตามผลการรักษาและอาการอย่างต่อเนื่อง

 

คำถามที่พบบ่อย (FAQs)

 

อาการของคนที่บอกว่า “เป็นไซนัส” คืออะไร ?

“ไซนัส” คือโพรงอากาศของกะโหลกซึ่งมีรูระบายเปิดเข้าไปในช่องจมูกมีอยู่ 4 คู่หลัก อยู่ตรงแก้ม หน้าผาก หัวตาและฐานกะโหลกและถ้ามีหนองในโพรงอากาศของกะโหลก ก็คือการเป็น “ไซนัสอักเสบ”

เป็นแค่หวัดหรือไซนัสอักเสบ ?

หากผู้ป่วยมีอาการหวัด และสังเกตว่ามีไข้ หรืออาการปวดตึงบริเวณใบหน้า หัวตา หน้าผากหรือแก้ม รวมถึงอาการแน่นจมูก น้ำมูกข้นเหนียว แล้วอาการมีแนวโน้มที่จะแย่ลงหลังจาก 3-4 วัน หรือในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหวัดเรื้อรังนาน 7-10 วัน หรือมีอาการดีขึ้นในช่วงแรกแล้วกลับแย่ลง ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคไซนัสอักเสบได้

การผ่าตัดไซนัส อันตรายมากไหม ?

ผ่าตัดไซนัส อันตรายไหม อย่างที่ได้บอกไป ในปัจจุบันการผ่าตัดแบบ “Full House FESS” หรือ “การผ่าตัดไซนัสแบบเปิดหมด เหลือแต่ขอบ” นั้น เป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้องเข้าทางจมูกแบบเปิดโพรงไซนัสทั้งหมดให้เชื่อมต่อกับโพรงจมูก โดยยังคงหน้าที่การทำงานของไซนัสไว้ ซึ่งวิธีนี้ มีข้อดีคือสามารถระบายอากาศของไซนัสได้ดีที่สุด ยังสามารถระบายหนองและเชื้อราออกจากไซนัสได้อย่างเต็มที่ ช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำ รวมถึงสามารถให้ยาพ่นหรือล้างจมูกเพื่อขจัดการอักเสบและลดอาการการแพ้ได้เต็มที่ในกรณีที่เป็นภูมิแพ้หรือริดสีดวงจมูก อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดทุกชนิดย่อมมีความเสี่ยง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ อาทิเช่น

  • วิธีการผ่าตัด 

  • ความชำนาญของแพทย์

  • สภาพร่างกาย ,โรคของผู้ป่วยและโครงสร้างกายวิภาคของจมูกและไซนัสของผู้ป่วย

โดยในประเทศไทย มีแพทย์ผู้ชำนาญการณ์ด้านการผ่าตัดแบบ “Full House FESS” จำนวนจำกัดเนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่จำเป็นต้องอาศัยความรู้ และทักษะของแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการผ่าตัดอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ควรเลือกแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดในบริเวณใกล้กับฐานกะโหลกและลูกตานั่นเอง

 

Full House FESS ต่างกับ ESS อย่างไร ?

 

Full House FESS คือ การผ่าตัดไซนัสทุกไซนัส โดยเปิดทั้งหมดเชื่อมต่อกันเป็นส่วนเดียว โดยการส่องกล้อง เป็นการผ่าตัดไซนัสที่ดีที่สุดในปัจจุบัน

ESS คือ การผ่าตัดไซนัสโดยการส่องกล้อง จะเปิดหมดหรือไม่หมดก็ได้ แต่โดยทั่วไปจะมีความหมายว่า ผ่าตัดเปิดไซนัสบางส่วนเท่านั้น

 

ทำไมผ่าตัดไซนัสครั้งเดียวไม่หาย ต้องผ่าซ้ำหลายครั้ง ?

 

ผ่าตัดไซนัส หายขาดไหม เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยมักกังวลใจ แต่ความจริงแล้วการผ่าตัดไซนัสซ้ำอาจเกิดจากการรักษาที่ไม่สมบูรณ์จากการผ่าตัดครั้งก่อน โดยมีสาเหตุหลักต่าง ๆ ดังนี้

  • การผ่าตัดเปิดไซนัสแค่บางส่วน ทำให้ไซนัสที่ไม่ได้ถูกเปิดยังคงมีการอักเสบอุดตันอยู่ โดยผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นในระยะแรก แล้วกลับมาเป็นซ้ำ

  • การผ่าตัดรูเปิดไซนัสผิดตำแหน่ง

  • รูเปิดไซนัสตีบแคบและอุดตันเนื่องจากแผลเป็นจากการผ่าตัดแบบเจาะ ๆ ดูด ๆ

  • แผลเรื้อรังจากการผ่าตัดครั้งก่อน ทำให้ปิดการระบายอากาศของไซนัส

  • ลักษณะโครงสร้าง หรือผนังกั้นจมูกของผู้ป่วยผิดปกติ และไม่ได้รับการแก้ไขจากการผ่าตัดครั้งก่อน ทำให้การระบายอากาศของไซนัสไม่ดี

 

ภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นไซนัสที่รุนแรง

 

ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังนี้

  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นภาวะติดเชื้อซึ่งทำให้เยื่อหุ้มสมองและน้ำเลี้ยงไขสันหลังบวมอักเสบ

  • โรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ หรือการอักเสบของผิวหนังและเนื้อเยื่อ

  • ปัญหาด้านสายตาจากการติดเชื้อในเบ้าตา ทำให้การมองเห็นลดลง หรือสูญเสียการมองเห็นชั่วคราวหรือถาวร

 

สัญญาณเตือนเมื่อเริ่มเป็นไซนัสอักเสบคืออะไร ?

 

อาการของไซนัสอักเสบพบได้ตั้งแต่แบบไม่รุนแรง จนถึงอาการรุนแรงมาก โดยในผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง จะมีอาการคัดจมูก เสียงอู้อี้ มีเสมหะ หรือไอตลอดเวลา อาจได้กลิ่นเหม็นในโพรงจมูกและได้รับกลิ่นน้อยลงจากเดิม ส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการปวดตึงบริเวณใบหน้า หน้าผาก หัวตา หรือโหนกแก้ม ในบางรายมีอาการปวดฟันกรามด้านบน ซึ่งอาจมีไข้ร่วมหรือไม่ก็ได้ และในรายที่มีอาการรุนแรงมาก อาจเกิดการบวมบริเวณเบ้าตา ทำให้มองไม่เห็น หรือมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง

 

นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจพบว่ามีอาการปวดบริเวณใบหน้า หัวตา หน้าผาก โหนกแก้ม หรือท้ายทอยเมื่อเครื่องบินขึ้นหรือลดระดับเพื่อลงจอด โดยอาจมีเลือดออกจมูกหรือเสมหะปนเลือดก็ได้

 

บทสรุป

 

สรุปแล้ว แม้ว่าอาการของโรคไซนัสอักเสบจะไม่รุนแรงในระยะเริ่มต้น และสามารถรักษาให้หายได้โดยใช้เวลาไม่นาน แต่หากปล่อยให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง อาจส่งผลกระทบไปยังอวัยวะต่าง ๆ ใกล้เคียง ทำให้เกิดความซับซ้อนและความยุ่งยากในการรักษาเพิ่มมากขึ้น และอาจส่งผลต่อชีวิตในที่สุด ดังนั้น หากพบว่าเริ่มมีอาการของภาวะไซนัสอักเสบติดต่อกัน ควรรีบพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและหาแนวทางการรักษาโรคที่เหมาะสมและถูกวิธี

 

ติดต่อนัดพบแพทย์

ติดต่อนัดพบแพทย์

 

อ้างอิง

 

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

บันทึกการเต้นของหัวใจในโลกยุคดิจิทัล "ป้องกันภาวะหัวใจวาย"

Multiday Patch Holter (แผ่นบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ) อุปกรณ์บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดแผ่น แปะติดที่หน้าอก สามารถบันทึกการเต้นของหัวใจติดต่อกันได้หลายๆ วัน

ราคา 6,000 บาท

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (High Dose Flu Vaccine For Elderly)

ป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้น 24.2%

ราคา 2,400 บาท

แพ็กเกจวัคซีนพื้นฐานวัคซีนตามเกณฑ์อายุตั้งแต่ 1 - 8 เดือน

เด็กน้อยอายุ 1 เดือน – 18 เดือน เสริมด้วยวัคซีน Rotarix เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

ราคา 11,000 บาท

แพ็กเกจวัคซีนเสริม Prevnar 13

พ่อแม่ยุคใหม่ สร้างเกราะป้องกันให้ลูกด้วย “วัคซีนป้องกันเชื้อไอพีดี”

ราคา 10,500 บาท

แพ็กเกจวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

การฉีดวัคซีน HPV ไม่เพียงช่วยลดโอกาสในการเกิดมะเร็งปากมดลูกเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงการลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ

ราคา 8,000 บาท