พิชิตออฟฟิศซินโดรม ด้วยเครื่องกระตุ้นด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า PMS

December 23 / 2024

 

 

 

พิชิตโรคออฟฟิศซินโดรม รักษาด้วยเครื่องกระตุ้นด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า PMS

 

 

 

ทำความรู้จักกับโรคออฟฟิศซินโดรม

     โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือกลุ่มอาการที่เกิดกับคนทำงานออฟฟิศ โดยความผิดปกติเกิดจากการอยู่ในท่าเดียวซ้ำ ๆ นานๆ จนกล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บตามบริเวณต่าง ๆ ได้แก่ ขมับ ต้นคอ สะบัก บ่าไหล่ โดยอาจมีจุดปวดตึง กดเจ็บ และอาจมีภาวะเวียนศีรษะหรือเหน็บชาร่วม

 

 

 

ออฟฟิศซินโดรม รักษา

 

 

 

การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้น

โรคออฟฟิศซินโดรมเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ได้แก่ การพักผ่อนไม่เพียงพอ การอยู่ในท่าเดียวซ้ำ ๆ นาน ๆ การนั่งในที่นั่งทำงานซึ่งไม่ถูกหลักสรีรศาสตร์ ดังนั้นการรักษาจึงต้องใช้หลากวิธีร่วมกัน เช่น

 

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าเดียวซ้ำๆนานๆ นั่งทำงานให้ถูกต้องตามสรีระศาสตร์
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • การใช้ยาคลายอาการปวด
  • การทำกายภาพบำบัด

 

 

 

ออฟฟิศซินโดรม รักษาออฟฟิศซินโดรม รักษาออฟฟิศซินโดรม รักษาออฟฟิศซินโดรม รักษาออฟฟิศซินโดรม รักษาออฟฟิศซินโดรม รักษา

 

 

 

เทคโนโลยีกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า : อีกทางเลือกช่วยรักษาออฟฟิศซินโดรม

     หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเต็มที่แล้วอาการปวดยังไม่ดีขึ้น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ PMS (Peripheral Magnetic Stimulation) ช่วยคลายอาการออฟฟิศซินโดรม โดยเครื่องจะส่งคลื่นแม่เหล็กคอยกระตุ้นเส้นประสาทและกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวด

 

 

 

ออฟฟิศซินโดรม รักษา

 

 

 

โรคใดอีกที่ควรรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

เทคโนโลยีกระตุ้นด้วยแม่เหล็กไฟฟ้านี้ยังให้ผลดีกับผู้ป้วยจากอาการปวดเรื้อรังจากโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • โรคกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท
  • หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน 
  • กลุ่มอาการปวดทั่วตัวที่ไม่ทราบสาเหตุที่เรียกกันว่า ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)
  • กลุ่มอาการปวดตึงยึดกล้ามเนื้อเรื้อรัง

 

 


โรคเหล่านี้หากไม่รุนแรงถึงขั้นผ่าตัด ถ้ารับประทานยาแล้ว ทำกายภาพบำบัดรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ดีขึ้น PMS ช่วยรักษาได้


 

 

 

ความรุนแรงของอาการปวดเรื้อรังจากออฟฟิศซินโดรม

     อย่างไรก็ตาม กลุ่มอาการปวดเรื้อรังที่ยาวนานกว่า 3 เดือน อย่ามัวแต่หาซื้อยามาทานเองหรือเอาแต่รักษาด้วยการนวด ผู้ป่วยควรเข้าพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาอย่างถูกต้อง บางคนอาจเป็นโรคไทรอยด์ โลหิตจาง ขาดวิตามินดี โรคแพ้ภูมิตนเอง ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีอาการปวดเรื้อรังได้

 

 

อาการออฟฟิศซินโดรมใดบ้างที่เครื่อง PMS รักษาได้

  • กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท
  • หมอนรองกระดูกสันหลังทรุดตัว
  • ผังผืดข้อมือกดทับเส้นประสาท
  • กลุ่มอาการปวดตึงยึดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
  • กลุ่มอาการโรคทางระบบประสาทที่มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ

 

 


การรักษาด้วย PMS เป็นการรักษาได้ผลดี อาการปวดของผู้ป่วยจะลดลงภายหลังการรักษาด้วย PMS ในแต่ละครั้ง โดยแพทย์จะรักษาต่อเนื่องหลายครั้งตามระดับความรุนแรงของโรค


 

 

เทคโนโลยี PMS รักษาสามารถรักษาอาการชาจากโรคอื่นได้

     นอกจากรักษาอาการปวดแล้ว PMS ยังรักษาอาการอ่อนแรงและลดอาการชา เช่น โรคกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง หน้าเบี้ยว โรคทางระบบประสาทที่มีอาการแขนขาอ่อนแรง ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ เส้นประสาทถูกกดทับ ผังผืดข้อมือกดทับเส้นประสาท ปลายประสาทอักเสบ 

 

ข้อควรระวังเรื่องการรักษาด้วย PMS

     การรักษาด้วย PMS ไม่สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการชักมาก่อน ผู้ป่วยที่มีโลหะรูปวงแหวนฝังอยู่ในตัว ผู้ป่วยที่มีเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ฝังในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เครื่องหูเทียมไฟฟ้าชนิดฝังในตัว เป็นต้น  

 

 

 

ออฟฟิศซินโดรม รักษาออฟฟิศซินโดรม รักษา

          

 


โรคออฟฟิศซินโดรมเป็นภาวะที่ไม่ร้ายแรงถึงชีวิต แต่ทว่าความเจ็บปวดนี้เป็นลักษณะของความเจ็บปวดเรื้อรัง ทำให้รบกวนชีวิตประจำวัน และรบกวนการทำงาน