มลพิษแบบใดคือปัจจัยเสี่ยง “มะเร็งกล่องเสียง”

December 31 / 2024

 

 

มะเร็งกล่องเสียง

 

 

มะเร็งกล่องเสียงมะเร็งกล่องเสียง

พญ.ธัญรดา เลี่ยมเส้ง

แพทย์ผู้ชำนาญการหู คอ จมูก

 

 

     มะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal Cancer) เป็นเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุกล่องเสียง ซึ่งมีสาเหตุที่ไม่ทราบแน่ชัด แต่บุหรี่เป็น ปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรค เนื่องจากควันบุหรี่ทำให้เกิดสารก่อมะเร็งได้

 

สาเหตุอื่นของโรคมะเร็งกล่องเสียง

มะเร็งกล่องเสียงยังเกิดได้จากปัจจัยอื่น 

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ภาวะอักเสบเรื้อรังบริเวณคอหรือกล่องเสียง
  • การติดเชื้อไวรัสบางชนิด
  • การได้รับสารก่อการระคายเคืองจากควันพิษ ฝุ่น PM 2.5 สารเคมีจากโรงงาน เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ตะกั่ว

 

อาการของโรคมะเร็งกล่องเสียง

     เมื่อรู้ตัวอีกทีก็เกิดอาการเสียงแหบ บางคนกลืนเจ็บหรือกลืนลำบาก สำลัก เสมหะปนเลือด มีปวดร้าวที่หู ไอเรื้อรัง บางรายอาจมีก้อนที่คอและเป็นก้อนต่อมน้ำเหลืองจนคอโต ซึ่งพบได้มากร่วมกับอาการหายใจลำบาก

 

 

มะเร็งกล่องเสียงมะเร็งกล่องเสียงมะเร็งกล่องเสียงมะเร็งกล่องเสียง

 

 

 

มะเร็งกล่องเสียงแบ่งได้เป็น 2 ระยะ

  • ระยะแรก แบ่งเป็น 2 ขั้น ซึ่งส่วนใหญ่มักมาด้วยเรื่องเสียงแหบ รู้สึกเจ็บ เมื่อกลืนแล้วเจ็บหรือร้าวที่หู
  • ระยะลุกลาม จะถือว่าอยู่ในระยะที่ 2 ซึ่งรวมขั้นที่ 3 กับ 4 ก้อนที่คอก็ถือเป็นระยะลุกลามซึ่งกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง เมื่อเริ่มกลืนลำบากจึงเริ่มลุกลามไปที่หลอดอาหาร-ช่องคอ เหนื่อยและหายใจไม่ออก

 

 

 

มะเร็งกล่องเสียง

 

 

มะเร็งกล่องเสียงรักษาได้หลายวิธีรวมถึง “การผ่าตัด”

     การรักษามะเร็งกล่องเสียงมีหลักปฏิบัติที่ใช้ได้ตั้งแต่การผ่าตัด การฉายแสงหรือเคมีบำบัด ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีใดขึ้นอยู่กับระยะของอาการ หากเป็นระยะเริ่มต้น แพทย์อาจใช้การฉายแสง โดยที่ผู้ป่วยยังสามารถเก็บกล่องเสียงไว้ได้ และสามารถกลับมาพูดได้ตามปรกติ การผ่าตัดร่วมกับเคมีบำบัดอาจใช้รักษาในระยะลุกลาม บางครั้งอาจใช้รักษาควบคู่กัน 3 อย่างเลยก็มี

 

กรณีศึกษาจากผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งกล่องเสียง

     แพทย์ขอยกกรณีศึกษาในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียง แรกเริ่มมีอาการเสียงแหบนานผิดสังเกต เมื่อตรวจจึงพบว่ามีก้อนอยู่ที่เส้นเสียงข้างเดียวซึ่งอยู่ในระยะแรก อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลาผ่าตัดจริงกลับพบว่าก้อนเริ่มลุกลามออกไปนิดนึง หลังแพทย์ผ่าตัดเอาเฉพาะก้อนออกจึงเริ่มติดตามอาการว่ามีโอกาสเป็นโรคได้อีกไหม หากแพทย์เห็นแล้วอาการน่าเป็นห่วงจึงเริ่มตามเก็บด้วยการฉายแสง 

 

กรณีที่เริ่มลุกลามออกไปด้านนอก

     บางเคสเริ่มลุกลามออกข้างนอกแล้ว ซึ่งมีสาเหตุมาจากอาการเสียงแหบมานานและไม่ได้ดูแลตัวเองจนเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เมื่อเป็นแบบนั้น แพทย์จึงต้องเจาะคอแทนการผ่าตัด ก่อนส่งตัวเข้ารับการทำเคมีบำบัดและการฉายแสง ขณะที่เขามีอายุระหว่าง 50-60 ปี โดยงานศึกษาเผยให้เห็นว่ามีโอกาสพบมะเร็งกล่องเสียงในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

 

หลังผ่าตัดยังพูดได้อยู่ไหม?

1.  กรณีผ่าตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออก

     ถ้าเป็นระยะแรกเริ่มเรายังเก็บกล่องเสียงได้โดยจะเอาเฉพาะก้อนออก แต่ไม่ว่าจะฉายแสงเลเซอร์หรือผ่าตัดเฉพาะก้อน ผู้ป่วยก็กลับมาพูดได้ปรกติ แม้มีแหบบ้าง

 

2.  กรณีผ่าตัดในระยะลุกลาม

     หากอยู่ในระยะลุกลาม 3 - 4 แพทย์จำเป็นต้องผ่าตัดนำกล่องเสียงออกและทิ้งรูหายใจไว้หน้าช่องคอ ในช่วงแรกหลังผ่าตัด ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บหากเริ่มพูดหรือเปล่งเสียง ผู้ป่วยจึงต้องใช้วิธีสื่อสารด้วยการเขียนไปก่อน เมื่อเวลาผ่านไปจนแผลหายดี ผู้ป่วยจะพูดได้แต่ไร้เสียง ดังนั้นแพทย์จึงต้องฝึกพูดหลังผ่าตัดกล่องเสียงพร้อมดูแลอย่างใกล้ชิด 

 

วิธีการฝึกพูดหลังผ่าตัด 

  • การฝึกออกเสียงพูดด้วยการใช้หลอดลมจากหลอดอาหาร เรียกว่า Esophageal Speech
  • การใช้กล่องเสียงเทียม เรียกว่า Electrolarynx ซึ่งเป็นอีกวิธีที่มักจะใช้กันมากกว่า มีรูปร่างคล้ายเครื่องโกนหนวด เพียงจี้ตรงที่ช่องคอและเปล่งเสียงออกมาก็มีเสียงพูด ทว่าเสียงจะคล้ายหุ่นยนต์นิดหนึ่ง
  • การใช้ลมระหว่างหลอดลมกับหลอดอาหาร ให้มีเสียงพูดออกมาขณะเปล่งเสียง ซึ่งสามารถฝึกกับชมรมมะเร็งกล่องเสียง เนื่องจากมีเครื่องมือพร้อมจัดฝึกสอนภายใต้การดูแลของนักเปล่งเสียงบำบัดหรือ Speech Therapist

 

 

 

มะเร็งกล่องเสียง

 

 

 

รักษาชีวิตให้ยืนอยู่นานกับแผนกอายุรกรรม

     แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลรามคำแหงได้ติดตั้งกล้องตรวจ ซึ่งให้การตรวจวินิจฉัยได้ชัดเจน พร้อมเทคโนโลยีการแพทย์เลเซอร์ประสิทธิภาพสูงสำหรับฉายแสงและผ่าตัดก้อนมะเร็ง ผู้ป่วยจึงพอวางใจได้ว่ามีโอกาสฟื้นหายใกล้เคียงกับปรกติ เนื่องในโอกาสเปิดศูนย์ฉายแสงในอนาคตอันใกล้ พยาธิแพทย์ยังพร้อมตรวจยืนยันตัวอย่างชิ้นเนื้อให้แล้วเสร็จในครึ่งชั่วโมงและส่งต่อให้แพทย์อ่านผลตรวจได้โดยไม่เสียเวลารอเป็นชั่วโมง

 

 

 

ไม่มีวิธีป้องกัน แต่ลดเสี่ยงได้ เพียงเลี่ยงปัจจัยที่ก่อมะเร็งอย่างการบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ สารก่อการระคายเคือง  หากเป็นกรดไหลย้อน ควรรีบรักษาให้หายไวเพื่อลดความเสี่ยงต่อโอกาสเป็นมะเร็งกล่องเสียงให้มากที่สุด