เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Policy)
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
โรงพยาบาลรามคำแหง (“โรงพยาบาล”) ได้จัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ที่ท่านให้โรงพยาบาลใน ระหว่างการร้องขอการบริการ การเยี่ยมชมเว็บไซต์
หรือใช้แอพพลิเคชั่นของหรือจากโรงพยาบาล นโยบาย คุ้มครองข้อมูลส่วน
บุคคลนี้รวมถึงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวคุณโดยเป็นการส่งต่อมาจากบุคคลที่สาม
ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง “ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือ ทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ”
การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
1. โรงพยาบาลเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของ ท่าน ที่สามารถระบุตัวตนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อประโยชน์ต่อท่านในระยะเวลาที่เหมาะสมจำเป็นต่อการให้บริการ ในกรณีที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูล กับโรงพยาบาล หรือร้องขอการบริการจากโรงพยาบาลผ่านช่องทางเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นหรือ ช่องทางอื่นใดของโรงพยาบาล อาทิเช่น การนัดหมายแพทย์ การทำธุรกรรมแบบออนไลน์ การสมัครรับจดหมายข่าว การขอรับความช่วยเหลือพิเศษ รวมไปถึงการทำธุรกรรมแบบออฟไลน์ เช่น การลงทะเบียนผู้ป่วยที่เคาน์เตอร์ลงทะเบียนของโรงพยาบาล หรือจากความสมัครใจ ของท่านใน การทำแบบสอบถาม (Survey) หรือการโต้ตอบทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรือการกรอก ให้ข้อมูลประกอบการสมัครงาน หรือช่องทางการสื่อสารอื่นๆ ระหว่างโรงพยาบาล และท่าน
2. โรงพยาบาลอาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากบุคคลที่สาม เช่นธุรกิจในเครือข่าย ตัวแทน จำหน่าย หรือผู้ให้บริการของโรงพยาบาล หน่วยงานภาครัฐ
ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวมจากท่านจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการเก็บรวบรวม และประเภทของการบริการที่ท่านร้องขอจากโรงพยาบาล ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูกนำมาใช้เพื่อให้การทำธุรกรรมออนไลน์หรือออฟไลน์ หรือบริการที่ได้รับการร้องขอเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาล เก็บรวบรวมโดยตรงจากท่าน หรือจากบุคคลที่สาม มีดังนี้
1) ข้อมูลระบุตัวตน เช่น ชื่อ ภาพถ่าย เพศ วัน เดือน ปีเกิด หนังสือเดินทาง หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขที่สามารถระบุตัวตนอื่นๆ
2) ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมลล์
3) ข้อมูลการชำระเงิน เช่น ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิต และ รายละเอียดบัญชี ธนาคาร
4) ข้อมูลการเข้ารับบริการ เช่น ข้อมูลการนัดหมายแพทย์ ข้อมูลส่วนบุคคลของญาติ ความต้องการ เกี่ยวกับห้องพัก อาหาร และบริการเสริมอื่นๆ
5) ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเพื่อร่วมกิจกรรมกับเรา
6) ข้อมูลสถิติ เช่น จำนวนผู้ป่วย และการเข้าชมเว็บไซต์
7) ข้อมูลจากการเข้าใช้เว็บไซต์ของโรงพยาบาล
8) ข้อมูลด้านสุขภาพ รายงานที่เกี่ยวกับสุขภาพกาย และสุขภาพจิต การดูแลสุขภาพของท่าน ผลการทดสอบจากห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ และการวินิจฉัย
9) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและการแพ้ยาของท่าน
10) ข้อมูล Feedback และผลการรักษาที่ท่านให้ไว้
เราจะไม่เก็บและใช้ข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนของคุณ เช่น เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ประวัติอาชญากร เว้นแต่เป็นไปตามที่ข้อบังคับและกฎหมายกำหนด หรือโดยความยินยอมของท่าน
การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1) จัดหาบริการ หรือส่งมอบบริการของโรงพยาบาล
2) นัดหมายแพทย์ ส่งข่าวสาร แนะนำบริการของโรงพยาบาล
3) การประสานงานและส่งต่อข้อมูลซึ่งจะช่วยให้การส่งต่อผู้ป่วยมีความรวดเร็วขึ้น
4) การยืนยันตัวตนของผู้ป่วย
5) ส่งข้อความแจ้งเตือนการนัดหมายแพทย์ หรือการเสนอความช่วยเหลือจากโรงพยาบาล
6) อำนวยความสะดวกและนำเสนอรายการสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่ท่าน
7) จุดประสงค์ด้านการตลาด การส่งเสริมการขาย และการลูกค้าสัมพันธ์ เช่น การส่งข้อมูลเกี่ยวกับ โปรโมชั่น ผลิตภัณฑ์และบริการ รายการส่งเสริมการขาย และธุรกิจพันธมิตร
8) เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร ตอบค าถาม หรือตอบสนองข้อร้องเรียน
9) สำรวจความพึงพอใจของลูกค้า วิจัยตลาด วิเคราะห์ทางสถิติประมวลผลและแสดงผลเพื่อเป็น ข้อมูลในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ ให้แก่ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์ยิ่งขึ้น
10) วัตถุประสงค์ทางบัญชีหรือทางการเงิน เช่นการตรวจสอบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต การเรียกเก็บเงินและการตรวจสอบความถูกต้อง การขอคืนเงิน
11) รักษาความปลอดภัย รวมถึงความปลอดภัยขณะพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาล
12) เพื่อวัตถุประสงค์ในการสมัครงาน การเป็นพนักงาน หรือวัตถุประสงค์อื่นใดที่เกี่ยวข้อง
13) ปฏิบัติตามกฎของโรงพยาบาล
14) ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือการร้องขอใดๆจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น การปฏิบัติตามหมายเรียกพยาน หรือคำสั่งศาล หรือการร้องขออื่นๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
15) วัตถุประสงค์อื่นๆ ที่สนับสนุนการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ข้างต้น หรือที่ได้รับความยินยอมจาก ท่านเป็นครั้งคราว
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลอาจเปิดเผยหรือถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังบุคคลที่สาม ซึ่งอาจตั้งอยู่ภายในหรือ นอกราชอาณาจักร โดยโรงพยาบาลจะดำเนินตามมาตรการที่จำเป็นและเหมาะสม หรือเป็นไปตามข้อบังคับและ กฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์ที่ตามระบุไว้ข้างต้น ให้แก่
1) พันธมิตรทางธุรกิจ เช่น บริษัทประกัน พันธมิตรที่เข้าร่วมรายการโปรแกรมสะสมคะแนน และสิทธิ ประโยชน์และศูนย์การแพทย์ และหรือบริษัทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการ
2) ธนาคาร และผู้ให้บริการชำระเงิน เช่น บริษัทบัตรเครดิต หรือเดบิต
3) เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงและความปลอดภัย
4) หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานศุลกากร
5) หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยงานอื่นๆ ตามที่กฎหมายอนุญาต หรือกำหนดไว้
การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นบนมือถือของโรงพยาบาล อาจมีลิงก์เชื่อมไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม หากท่านไปตาม ลิงก์เหล่านี้ นโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ไม่มีผลกับเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม โปรดทราบว่าโรงพยาบาลไม่ สามารถรับผิดชอบใดๆ ต่อการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านโดยบุคคลที่สามดังกล่าว เนื่องจากอยู่นอกการ ควบคุมของโรงพยาบาล
การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล และความปลอดภัย
1. ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูก เก็บรักษาไว้นานเท่าที่จำเป็น เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ตามที่อธิบาย ไว้ในนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ หรือภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย หรือเพื่อการดำเนินการทาง กฎหมาย
2. โรงพยาบาลจะใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย และการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อ ป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
1. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (right to withdraw consent) : ท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความ ยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับโรงพยาบาลได้ ตลอดระยะเวลาที่ ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับโรงพยาบาล
2. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (right of access) : ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและ ขอให้โรงพยาบาลทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้แก่ท่าน รวมถึงขอให้โรงพยาบาลเปิดเผยการได้มาซึ่ง ข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอมต่อโรงพยาบาลได้
3. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (right to rectification) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาล แก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือเพิ่มเติมข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์
4. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (right to erasure) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาลท าการลบข้อมูล ของท่านด้วยเหตุบางประการได้
5. สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (right to restriction of processing) : ท่านมีสิทธิในการระงับการ ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
6. สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (right to data portability) : ท่านมีสิทธิในการโอนย้ายข้อมูลส่วน บุคคลของท่านที่ท่านให้ไว้กับโรงพยาบาลไปยังผู้ควบคุมข้อมูลรายอื่น หรือตัวท่านเองด้วยเหตุบางประการได้
7. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (right to object) : ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการ ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
ท่านสามารถร้องขอการเข้าถึงหรือขอให้อัพเดตและแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงสิทธิอื่นใดข้างต้น หรือสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้บังคับ เช่น ขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือขอให้ระงับการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน กรณีเห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถูกนำไปใช้เกิน ขอบเขตวัตถุประสงค์การใช้งานที่แจ้งให้ทราบข้างต้น หรือไม่ได้รับความยินยอมจากท่าน
การเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะทำการพิจารณาทบทวนนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นประจำเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโรงพยาบาลจะแจ้ง ให้ท่านทราบด้วยการ อัพเดตข้อมูลลงในเว็บไซต์ของโรงพยาบาล https://www.ram-hosp.co.th/contactus โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้หากท่านมีคำถาม ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโปรดติดต่อได้ที่อีเมลล์ support@ram-hosp.co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 01 มิถุนายน 2565
(นพ.พิชญ สมบูรณสิน)
กรรมการบริหาร
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
วิ่ง ออกกำลังกายแล้ว “ วูบ ” ระวังภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันหรือหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (sudden cardiac arrest) คือภาวะที่หัวใจหยุดเต้นอย่างปัจจุบันทันด่วน ทำให้ไม่มีเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงสมองและร่างกาย ผู้ป่วยจะหมดสติ ล้มลง หยุดหายใจหรือหายใจเฮือก บางครั้งอาจมีอาการเกร็งกระตุกเนื่องจากสมองขาดอออกซิเจน อาจทำให้ผู้เห็นเหตุการณ์เข้าใจผิดว่าเป็นโรคลมชักได้ จัดเป็นภาวะฉุกเฉินวิกฤต ผู้ป่วยจะเสียชีวิตถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ขณะเดินออกกำลังกาย เห็นคนนอนอยู่ที่พื้นจะรู้ได้อย่างไรว่านอนหลับเฉยๆ หรือหัวใจวายเฉียบพลัน ต้องการการกู้ชีวิตให้ประเมินดูสภาพแวดล้อมว่าคนที่หลับตามหลับปกติจะมาหลับบริเวณนี้ ในลักษณะนี้หรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจ ให้รีบประเมินลักษณะสำคัญสามอย่างของหัวใจวายเฉียบพลัน คือ
1. หมดสติเรียกไม่รู้สึกตัว
2. หัวใจหยุดเต้นคลำชีพจรไม่ได้และ
3.หยุดหายใจหน้าอกไม่ขยับขึ้นลง ไม่มีลมเคลื่อนเข้าออกผ่านจมูก
นอกจากนี้อาจมีลักษณะอื่นๆ เช่น ใบหน้าหรือริมฝีปากเขี้ยวคล้ำจากการขาดออกซิเจน
ใครเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวายเฉียบพลันบ้าง
ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันเกิดกับใครก็ได้ทั้งคนที่มีโรคหัวใจอยู่เดิมหรือคนที่ไม่มีโรคหัวใจ ข้อมูลพบว่า 2 ใน 3 ของคนที่เกิดหัวใจวายเฉียบพลันจะเป็นคนที่แข็งแรงอยู่ก่อน เราจึงได้ยินข่าวเสมอถึงการเสียชีวิตเฉียบพลันในนักกีฬาหรือคนหนุ่มวัยฉกรรจ์ และที่สำคัญคือการเกิดหัวใจวายเฉียบพลันจะเกิดขึ้นเวลาใดก็ได้ ที่ไหนก็ได้ คือไม่เลือกเวลา ไม่เลือกสถานที่ อาจเกิดในห้องน้ำ ในห้องนอน ตลาด รถไฟฟ้า สวนสาธารณะ ข้อมูลพบว่า 2 ใน 3 เกิดในบ้าน ซึ่งเป็นสถานที่ที่การกู้ชีวิตทำได้ยาก จึงมีโอกาสรอดชีวิตต่ำมาก
หัวใจวายเฉียบพลันในนักกีฬาพบได้บ่อยหรือไม่
อุบัติการณ์การเกิดหัวใจวายเฉียบพลันในนักกีฬาแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยทั่วไปจะพบประมาณ 0.1-0.8 รายต่อนักกีฬา 100,000 รายต่อปี ซึ่งยังถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับการเกิดหัวใจวายเฉียบพลันในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ แต่เมื่อเกิดแล้วจะได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจึงมีผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก เนื่องจากคนเชื่อว่านักกีฬาควรเป็นคนที่แข็งแรงที่สุดก็ยังเกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้...แล้วคนธรรมดาที่ไม่ใช่นักกีฬาจะเป็นอย่างไร...ในเมื่อเป็นแบบนี้แล้วเราจะออกกำลังกายไปทำไม...
กีฬาแต่ละประเภทมีความเสี่ยงเท่ากันหรือไม่
กีฬาที่เกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้บ่อยมักเป็นกีฬาที่ทำให้หัวใจต้องทำงานหนัก หัวใจจะบีบตัวแรงและเร็วเพื่อไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอในขณะเล่นกีฬา เช่น บาสเก็ตบอล ฟุตบอล วิ่งมาราธอน นอกจากนี้ กีฬาที่มีโอกาสกระทบกระทั่งกันมาก ๆ เช่น รักบี้ อเมริกันฟุตบอล บางครั้งอาจมีการกระแทกหน้าอกอย่างแรงทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะขั้นรุนแรงและเสียชีวิตได้ (Commotio cordis) การวิ่งมาราธอนก็มักเกิดเหตุการณ์ในระยะ 5 กิโลเมตรสุดท้ายก่อนถึงเส้นชัย เนื่องจากนักวิ่งมีการอ่อนล้าแล้วและมีการเร่งเพื่อให้เข้าถึงเส้นชัย การขาดน้ำและเกลือแร่จากการเสียเหงื่อ อาจเป็นปัจจัยเสริมให้เกิด กีฬาเบา ๆ เช่นกอล์ฟ วิ่งเหยาะ ๆ ปั่นจักรยานจะพบน้อยกว่า นอกจากนี้คือจะพบในนักกีฬาชายมากกว่านักกีฬาหญิง
สาเหตุของหัวใจวายเฉียบพลันในนักกีฬา
ถ้าอายุมากกว่า 35 ปีส่วนใหญ่เกิดจากโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ถ้าอายุน้อยกว่า 35 ปี ผู้ป่วยมักจะมีโรคหัวใจที่ผิดปกติแต่กำเนิดหลบซ่อนอยู่ เช่นกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติชนิดต่าง ๆ เช่น hypertrophic cardiomyopathy, arrhythmogenic right ventricular cardiomyopathy, โรคหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ, โรคระบบไฟฟ้าหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด เช่น long QT syndrome, WPW syndrome, Brugada syndrome เป็นต้น
จะป้องกันหัวใจวายเฉียบพลันในนักวิ่งได้อย่างไร
มาตรการที่จะกล่าวต่อไปนี้ สามารถใช้ได้กับการเล่นหรือแข่งขันทุกประเภทนอกจากการวิ่ง โดยมีมาตราการหลัก 3 ข้อประกอบด้วย
อย่างแรกคือ ตรวจคัดกรอง ให้กับผู้เป็นนักกีฬาหรือผู้จะเข้าร่วมการแข่งขัน หรือ Preparticipation screening ทั้งนี้ ผู้ที่จะเข้าเป็นนักกีฬาสมัครเล่นหรืออาชีพ ควรได้รับการตรวจหาพื้นฐานโรคหัวใจและความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน โดยเฉพาะผู้มีปัจจัยเสี่ยงเช่นอายุมากกว่า 35 ปี สูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มีประวัติโรคหัวใจหรือเสียชีวิตเฉียบพลันจากโรคหัวใจในครอบครัว โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรืออาจตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ที่เรียกว่า Echo cardiogram ส่วนในกรณีที่นักกีฬามีอายุมากกว่า 35 ปีหรือสงสัยว่าจะมีหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ แพทย์อาจส่งตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลัง ที่รู้จักกันดีว่า exercise stress test
อย่างที่ 2 คือ ผู้รับผิดชอบนักกีฬาเช่นผู้ปกครอง เจ้าของทีมหรือเจ้าของสถานที่ฝึกซ้อมหรือแข่งขันต้องจัดให้มีการปฏิบัติการกู้ชีพที่มีประสิทธิภาพซึ่งต้องมี “เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า” ที่เรียกย่อ ๆ ว่า AED รวมอยู่ด้วยให้พร้อมอยู่เสมอ สามารถปฏิบัติการกู้ชีพได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ ขั้นตอนนี้พบว่ามีความสำคัญเพราะสามารถลดอัตราการตายลงได้มาก
สุดท้ายคือ ต้องให้ความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางการป้องกันการเกิดหัวใจวายเฉียบพลันแก่นักกีฬาเอง บางครั้งก่อนเกิดเหตุอาจมีอาการเตือนหรือผิดปกติเล็ก ๆ น้อย ๆ นำมาก่อน เช่นแน่นหน้าอก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ แต่นักกีฬาอาจละเลยไม่สนใจ เนื่องจากขาดความรู้ หรือกลัวอดลงแข่งขัน
ในปัจจุบันได้มีการติดตามการเต้นของหัวใจของนักวิ่งด้วยอุปกรณ์บันทึกการเต้นของหัวใจชนิดติดตัว ลักษณะเหมือนแผ่นพลาสเตอร์ปิดแผลขนาดใหญ่ซึ่งสามารถทนน้ำ-ทนเหงื่อ และบันทึกการเต้นของหัวใจขณะมีการเคลื่อนไหวได้ เมื่อวิ่งเสร็จก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์ดูว่าตลอดการวิ่งพบหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหัวใจขาดเลือดหรือไม่ เพื่อจะได้วางแผนการดูแลรักษาต่อไป บางงานวิจัยติดตามการเต้นแบบ real time โดยส่งข้อมูลการเต้นของหัวใจคนไข้ผ่านระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ต ระบบ 4G/Wi-Fi เมื่อพบความผิดปกติ ทีมแพทย์ก็จะแจ้งเตือนไปที่ตัวนักกีฬาให้ลดความเร็วลงหรือให้หยุด หรือส่งทีมแพทย์เข้าไปให้การรักษาได้ทันที แต่ยังมีข้อจำกัดทางเทคโนโลยีอยู่บ้างสำหรับการส่งสัญญาณชีพแบบ real time ในบริเวณที่มีคนอยู่จำนวนมากทั้งนักวิ่งทั้งผู้เข้าชมและมีการใช้ช่องสัญญาญอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้การติดตามหาตัวนักวิ่งที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะท่ามกลางนักวิ่งจำนวนมากก็ทำได้ลำบาก คงต้องใช้เทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น โดรนมาช่วย
AED คืออะไร
AED คือ เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ ย่อมาจาก Automated External Defibrillator ใช้สำหรับกู้ชีวิตผู้ป่วยที่เกิดภาวะ หัวใจวายเฉียบพลันจากหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้วหรือเต้นเร็วขึ้นรุนแรง ภาษาอังกฤษเรียกว่า ventricular tachycardia/ventricular fibrillation เครื่องจะทำการวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจโดยอัตโนมัติ และแนะนำให้ผู้ใช้กดปุ่มเพื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าออกไปเพื่อกระตุกหัวใจให้กลับมาเต้นเป็นปกติ
ซึ่งกรณีที่ผู้ป่วยหัวใจวายเฉียบพลันที่ไม่ได้เกิดจากหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว แต่เกิดจากหัวใจหยุดเต้น หัวใจไม่มีการบีบตัวเครื่องจะไม่แนะนำให้ช็อค แต่จะแนะนำให้ทำการปั๊มหัวใจต่อไป เครื่องจะทำการให้จังหวะการปั๊มหัวใจและวิเคราะห์การเต้นของหัวใจทุก 2 นาที โดยเครื่องได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานง่าย บุคคลทั่วไปที่ไม่รู้จักเครื่องก็สามารถทำตามขั้นตอนต่างๆที่เครื่องแนะนำได้ อย่างไรก็ตามการฝึกฝนให้รู้จักและใช้งานได้ จะทำให้การกู้ชีพทำได้เร็วกว่าและดีกว่า การใช้เครื่อง AED ร่วมกับการปั๊มหัวใจที่มีประสิทธิภาพจะเพิ่มโอกาสรอดชีวิต 2-3 เท่า
แก้ไข
20/06/2566
โรงพยาบาลรามคำแหง
436 ถ. รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
1512, 02-743-9999
แฟกซ์ 0 2374 0804
support@ram-hosp.co.th