การดูแลคนใกล้ตัวหลังได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะ

December 22 / 2024

 

 

 

 

การดูแลคนใกล้ตัวหลังได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะ

 

 

 

 

นพ.นภสินธุ์ เถกิงเดช

ประสาทศัลยแพทย์

 

 

 

     หากเราหรือคนใกล้ตัวล้มหัวฟาดพื้น มีอุบัติเหตุรถชนหรือได้รับแรงกระแทกรุนแรงจากการเล่นกีฬา เราควรเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด เพราะสมองของเขาอาจได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง โดยสังเกตอาการที่ได้ตามกลุ่ม ดังนี้

 

 

ดูแลผู้ป่วยหลังบาดเจ็บทางศีรษะ

 

 

อาการเหล่านี้ที่สังเกตได้

  • ง่วงซึมมากขึ้นกว่าเดิม หรือไม่รู้สึกตัว หมดสติ
  • กระสับกระส่ายมาก พูดลำบาก หรือมีอาการชักกระตุก
  • กำลังของแขนและขาลดน้อยลงกว่าเดิม
  • ชีพจรเต้นช้ามาก อาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง
  • ปวดศีรษะรุนแรง โดยไม่ทุเลา
  • มีเลือดใสๆ หรือน้ำใสๆ ออกทางหูหรือทางจมูก (ถ้ามีไม่ควรพยายามเช็ดหรือสั่งออก)
  • วิงเวียนมาก หรือมองเห็นภาพพร่า ปวดตุบๆ ในลูกตา
  • อาการอื่นๆ ซึ่งเป็นที่น่าสงสัย

 

 

หากท่านมีอาการตามข้อใดข้อหนึ่ง ขอให้รีบพบแพทย์ทันที เพื่อรับการตรวจซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

 

 

ความรุนแรงของอาการ

     อาการเหล่านี้อาจเห็นได้ในทันทีหรือใช้เวลาเป็นสัปดาห์กว่าจะแสดงอาการ คนส่วนใหญ่คิดว่าอาการเหล่านี้ไม่ได้มีพลกระทบที่รุนแรงจึงไม่ได้ใส่ใจอะไรมาก อย่างไรก็ตาม หากปล่อยไว้จะกระทบต่อชีวิตประจำวัน ซึ่งหากสมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงอาจทำให้เลือดออกในสมองและเป็นลิ่มเลือดจนเป็นทุพพลภาพได้

 

การดูแลตัวเองเมื่อได้รับบาดเจ็บทางศีรษะ

  • กรณีที่คนรอบกายเกิดได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง ผู้ดูแลควรเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็ก ควรปลุกเขาเพื่อดูอาการทุก 1-2 ชั่วโมง และควรเลี่ยงเส้นทางที่ขรุขระเพื่อลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ
  • กรณีที่เป็นเองและต้องการกลับไปพักรักษาตัวที่บ้าน แพทย์ขอแนะนำให้ท่านงดการออกกำลังทุกชนิดอย่างน้อย 72 ชั่วโมง รับประทานอาหารอ่อนและยาแก้ปวดที่มีอยู่ประจำบ้านตามแพทย์สั่ง

 

 

แก้ไข

18/5/2566