การรักษาภาวะคัดตึงเต้านมและภาวะท่อน้ำนมอุดตัน

December 16 / 2024

 

การรักษาภาวะคัดตึงเต้านมและภาวะท่อน้ำนมอุดตัน

 

 

คุณแม่หลังคลอดอาจเผชิญกับปัญหาท่อน้ำนมอุดตันที่อาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดไม่สบายตัว และส่งผลให้ปริมาณน้ำนมลดลง

 

 

 

ท่อนมอุดตัน

 

 

 

สาเหตุของภาวะท่อน้ำนมอุดตัน และภาวะเจ็บคัดตึงเต้านม

  • ภาวะหลังคลอด 2-3 วัน จากการที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการผลิตน้ำนมปริมาณมาก แต่ไม่สามารถระบายออกได้
  • ลูกดูดนมไม่เกลี้ยงเต้า
  • ท่าทางในการอุ้มเข้าเต้าไม่ถูกต้องทำให้ลูกไม่ดูด หรือดูดลำบาก
  • คุณแม่ปล่อยให้น้ำนมค้างอยู่ในเต้านมนาน (ตกรอบปั้ม)
  • ใส่เสื้อชั้นในที่คับแน่นจนเกินไป ทำให้เกินความไม่สบายตัว
  • คุณแม่มีภาวะเครียด ทำให้การหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้น้ำนมไหลลดลง

 

 

อาการของภาวะท่อน้ำนมอุดตัน

  • มีก้อนแข็งบริเวณเต้านม
  • กดเจ็บบริเวณที่มีก้อนแข็ง
  • ปวดระบมเต้า
  • บวมแดง แต่ไม่มีไข้
  • อาจพบจุดขาวบริเวณหัวนม
  • ปริมาณน้ำนมลดลง

 

 

การเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการรักษา

  • ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ
  • ไม่จำเป็นต้องงดปั๊มนม คุณแม่สามารถปั๊มนมได้ตามรอบก่อนมาทำการรักษา โดยไม่พยายามบีบปั๊มเต้านมให้เกิดการอักเสบ
  • เตรียมเครื่องปั๊มนม เพื่อปั๊มหลังการรักษา
  • ใช้เวลาในการรักษาครั้งละประมาณ 1-2 ชั่วโมง

 

 

ข้อห้ามในการรักษาทางกายภาพบำบัด

  • มีไข้ หรือมีภาวะติดเชื้อ
  • น้ำนมมีสีหรือกลิ่นผิดปกติ

 

 

วิธีการรักษาทางกายภาพบำบัด

  • การใช้คลื่นอัลตราซาวด์ (Ultrasound) คลื่นเสียงความถี่สูงที่สามารถลงไปยังเนื้อเยื่อที่ต้องการรักษาได้ถึง 2-5 cm ทำให้เกิดพลังงานความร้อนลึก กระตุ้นการขยายของท่อน้ำนม การไหลของน้ำนม และลดอาการปวด
  • การนวดกระตุ้นน้ำนมโดยนักกายภาพบำบัด ด้วยเทคนิคการทางสรีรวิทยา และการนวดเพื่อกระตุ้นฮอร์โมนที่ช่วยในการหลั่งของนม
  • การประคบอุ่นเพื่อการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบรรเทาอาการคดตึง ลดอาการปวด

 

 

 

ท่อนมอุดตันท่อนมอุดตันท่อนมอุดตัน

 

 

ข้อดีของการรักษาทางกายภาพบำบัดท่อน้ำนมอุดตัน

  • ไม่เจ็บ
  • ใช้เวลาไม่นานในการรักษา
  • ลดอาการปวดคัดเต้านม
  • กระตุ้นการหลั่งของน้ำนม
  • กระตุ้นกระบวนการซ่อมแซม
  • กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด

 

การป้องกันภาวะท่อต่อมน้ำนมอุดตัน

  • ไม่ควรให้น้ำนมค้างเต้าเป็นเวลานาน ควรปั้มนมตามรอบปั้ม
  • ให้ลูกดูดหรือปั้มนมให้เกลี้ยงเต้าทุกครั้ง
  • ประคบอุ่น เพื่อบรรเทาอาการคัดตึงก่อนให้นม
  • ดื่มน้ำปริมาณมากๆ
  • หลีกเลี่ยงอาหารประเภท ของมัน,ของทอด เช่น แกงกะทิ รวมทั้งเบเกอรี่       

 

ท่อนมอุดตันท่อนมอุดตันท่อนมอุดตันท่อนมอุดตันท่อนมอุดตัน

 

 

ท่อนมอุดตัน

 

 

ท่อนมอุดตัน

 

 

แก้ไข

24/04/2566