“หุ่นยนต์ฝึกเดินเสมือนจริง” นวัตกรรมเพื่อฟื้นฟู

January 09 / 2025

 

“หุ่นยนต์ฝึกเดินเสมือนจริง” นวัตกรรมฟื้นฟู

 

หุ่นยนต์ฝึกเดิน

 

     หุ่นยนต์ฝึกเดินเสมือนจริง (Exoskeleton) เป็นนวัตกรรมรูปแบบหนึ่งสำหรับช่วยทำงานทดแทนกล้ามเนื้อช่วงล่างที่อ่อนแรงหรือเป็นอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งยังช่วยผู้ป่วยที่มีปัญหาการเดินได้กลับมาลุกขึ้นยืนและเดินได้สะดวกขึ้น พร้อมกลับมาใช้ชีวิตได้ดีขึ้น

 

หลักการทำงานของหุ่นยนต์ฝึกเดินเสมือนจริง

  • เป็นหุ่นยนต์สวมใส่ขาสองข้างที่มีมอเตอร์ขับเคลื่อนข้อสะโพก และข้้อเข่าพร้อมแบตเตอรี่ในตัว
  • มีอุปกรณ์ฝึกการเดินระบบแขวนบนโครงฝึกเดินล้อเลื่อน (moving suspension) และอุปกรณ์ฝึกเดินด้วยไม้ค้ำยัน ควบคุมการฝึกเดินด้วยซอฟท์แวร์ระบบไร้สาย

 

หุ่นยนต์ฝึกเดินหุ่นยนต์ฝึกเดิน

 

ข้อดีของหุ่นยนต์ฝึกเดินเสมือนจริง

  • ใช้ฟื้นฟูผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินได้จากความผิดปกติของระบบประสาทสั่งการกล้ามเนื้อและกระดูก
  • ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพกล้ามเนื้อพร้อมกระตุ้นระบบประสาทให้ฟื้นตัว ทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อขา ทั้งยังปรับรูปแบบการเดินที่ผิดปกติให้ก้าวเดินได้อย่างนุ่มนวลและเหมาะสม    
  • ช่วยให้ก้าวเดินในรูปแบบที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้ฝึกเดินได้นานขึ้น

 

 


การฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดินร่วมกับการทำกายภาพบำบัดสามารถช่วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกลับมาเดินได้เองมากกว่าการฝึกกายภาพบำบัดเพียงอย่างเดียว รวมถึงทำให้การทรงตัวดีขึ้นด้วย


 

 

 

หุ่นยนต์ฝึกเดิน

 

 

เหตุผลที่ควรเข้ารับการฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์กับโรงพยาบาลรามคำแหง

  • มีหุ่นยนต์ฝึกเดินเสมือนจริงคอยรองรับทุกระยะการฟื้นตัวทางระบบประสาทตั้งแต่ผู้ป่วยที่อ่อนแรงมาก ทรงตัวได้น้อยจนถึงผู้ที่ต้องการเพิ่มความเร็วในการเดิน 
  • พร้อมด้วยนักกายภาพบำบัดที่ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติจากบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์และศูนย์กายภาพบำบัดมาตรฐาน
  • ผู้ป่วยทุกรายได้รับแผนการรักษาที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล พร้อมติดตามพัฒนาการและส่งเสริมผู้ป่วยระหว่างฝึกให้ได้รับผลลัพธ์ที่ดีกว่า

 

ควรใช้เวลาเท่าไหร่เพื่อฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์

     เพื่อผลลัพธ์ที่ดีควรฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ ต่อเนื่องนาน 2–6 สัปดาห์ โดยแต่ละครั้งจะใช้เวลาฝึก 40-60 นาที ปัจจุบันการฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ได้รับการยอมรับว่าสามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถของผู้ป่วยในส่วนของความเร็ว ความทนทานและการพัฒนาคุณภาพของการเดิน (Gait quality) ซึ่งรวมถึงระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด แพทย์จึงให้ใช้ฟื้นฟูผู้ป่วยร่วมการรักษาแบบดั้งเดิม

 

 


ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกด้วยหุ่นยนต์ของผู้ป่วยแต่ละรายขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและการฟื้นตัวของระบบประสาท


 

 

หุ่นยนต์ฝึกเดินเสมือนจริงนั้นเหมาะกับใคร

  • อัมพฤกษ์ อัมพาตจากการบาดเจ็บไขสันหลัง
  • อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคพาร์กินสัน
  • ผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางการเดิน