รู้เร็วรักษาไว! เพิ่มทางรอดจากโรคหลอดเลือดสมองแตก

October 30 / 2024

โรคหลอดเลือดสมองแตก

 

 

 

นพ.นภสินธุ์ เถกิงเดช

ประสาทศัลยแพทย์

 

 

     จากเดิมที่แล้วโรคหลอดเลือดสมองแบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดสมองแตกในคราวนี้มารู้จักโรคหลอดเลือดสมองแตก ภาวระไร้สัญญาณเตือนล่วงหน้าที่หนึ่งวินาที มีผลให้หนึ่งชีวิตอยู่รอดต่อไป

 

รู้จักโรคหลอดเลือดสมองแตก

     โรคหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) เกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองแตกหรือรั่วจากการเปราะของผนังหลอดเลือด เมื่อเกิดขึ้นจะส่งผลให้เลือดไหลออกไปยังเนื้อเยื่อสมองบริเวณดังกล่าวให้เกิดความเสียหาย โดยพบได้ร้อยละ 20 ในรูปแบบอาการเฉียบพลัน เช่น อ่อนแรง ชาครึ่งซีก ปากเบี้ยวพูดไม่ได้ เห็นภาพซ้อน

 

 โรคหลอดเลือดสมองแตก

 

โรคหลอดเลือดสมองแตกมีอยู่แค่ชนิดเดียวหรือ?

โรคหลอดเลือดสมองแตกแบ่งได้ 2 ชนิด ได้แก่ บริเวณในเนื้อสมองและในเยื่อหุ้มสมองบริเวณที่มีก้อนเลือดอยู่

ในเนื้อสมอง

  • เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดสมองแตกในเนื้อสมอง
  • โดยทั่วไปเกิดจากความดันเลือดที่สูงเรื้อรังหรือการเสื่อมของหลอดเลือดตามอายุ

 

ใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง

  • เกิดจากเลือดขังอยู่ใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง Arachnoid
  • ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะหลอดเลือดที่ผิดปรกติ 2 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดสมองโป่งพอง (Aneurysm) และหลอดเลือดผิดรูป โดยหลอดเลือดที่ผิดรูปจากการจับกลุ่มอยู่ใกล้กันสามารถเป็นได้ตั้งแต่กำเนิด ซึ่งในการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า Arteriovenous Malformation (AVM)

โรคหลอดเลือดสมองแตก

หลอดเลือดแดง-ดำผิดปรกติหรือโป่งพอง สองสาเหตุที่พบบ่อย
แม้ว่าภาวะหลอดเลือดที่ผิดปรกติสองประเภทนั้นพบบ่อย แต่มีรายละเอียดย่อยที่แตกต่างกัน

     หลอดเลือดแดง-ดำผิดปรกติ (AVM)

     มีโอกาสเกิดขึ้น 10 - 18 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบอัตราส่วนผู้ใหญ่ 100,000 คน ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด ก่อนเริ่มแสดงอาการหลอดเลือดสมองแตกหรือตีบในภายหลังได้

     หลอดเลือดสมองโป่งพอง

     แม้ไม่ได้เป็นมาแต่เกิด แต่มักเกิดขึ้นเมื่ออายุเลย 30 ไปแล้ว เกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยสาเหตุสามารถเกิดจากความดันเลือดที่สูง สูบบุหรี่จัด การติดสารเสพติดหรือภาวะติดเชื้อ

 

 

โรคหลอดเลือดสมองแตก

 

วิธีวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองแตก

     การวินิจฉัยมีจุดประสงค์ 2 ประการ คือเพื่อดูว่าเป็นหลอดเลือดตีบหรือหลอดเลือดแตก และดูตำแหน่งของก้อนเลือด (ในเนื้อสมองหรือใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง) ในกรณีที่เป็นหลอดเลือดแตกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง แสดงว่าเกิดจากการมีหลอดเลือดโป่งพองหรือเป็นหลอดเลือดผิดรูป

 

ลำดับการวินิจฉัย

  • ขั้นแรก แพทย์จะใช้เครื่อง CT หรือ MRI หาว่ามีเลือดออกที่ไหน
  • ขั้นต่อมา ถ้าพบว่ามีเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง แพทย์จะตรวจดูหลอดเลือดแบบละเอียดด้วยการใช้เครื่องเอกซเรย์ MRI, CTA หรือการฉีดสี (Angiogram) ซึ่งวิธีเหล่านี้จะสามารถตรวจดูรูปร่างของหลอดเลือดและการไหลเวียนของเลือด

โรคหลอดเลือดสมองแตก

 

หลังจากแพทย์รู้แล้วว่าเป็นอะไร เขาจะรักษาเราอย่างไร ?

กรณีหลอดเลือดสมองแตกในเนื้อสมอง

แพทย์จะใช้การักษาที่ไม่ให้แรงดันในสมองสูงเกินจนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

  • หากก้อนเลือดเล็กและไม่ทำให้ความดันสูงมาก แพทย์สามารถรักษาด้วยการใช้ยา
  • หากพบว่าเป็นก้อนเลือดใหญ่ แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัด เนื่องจากไม่สามารถรอให้ยาออกฤทธิ์ได้และความดันในสมองที่สูงมากก็ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้

 

กรณีหลอดเลือดสมองแตกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง

ถ้าเกิดจากหลอดเลือดโป่งพอง แพทย์สามารถรักษาได้ 2 วิธี ได้แก่

  • การใช้คลิปหนีบ (Clipping) เพื่อปิดรูที่มีการโป่งพอง กันไม่ให้เลือดเข้าไป
  • การนำขดลวด (Coliling) ใส่เข้าไปในบริเวณที่โป่งพองเพื่อกันไม่ให้เลือดเข้าไปเช่นเดียวกัน

โรคหลอดเลือดสมองแตก

 

กรณีหลอดเลือดแดงผิดปรกติ แพทย์แนะนำให้รักษาด้วย

  • ผ่าตัดหลอดเลือดแดงที่ผิดปรกติออก
  • รักษาด้วยการฉีดสีและใช้กาวเข้าไปอุดส่วนของหลอดเลือดที่ผิดปกติ
  • รักษาด้วยการฉายแสงก็เป็นได้

 

อ่านเพิ่มเติม: 'โรคหลอดเลือดสมอง' รวบสาเหตุอัมพฤกษ์-อัมพาต หากรักษาช้าอาจสายไป

 

 

แก้ไข

25/9/2567