‘โรคหลอดเลือดสมอง’ รวบสาเหตุอัมพฤกษ์-อัมพาต รักษาช้าอาจสายไป

December 25 / 2024

โรคหลอดเลือดสมอง

 

 

 

     โรคหลอดเลือดสมองที่คิดว่าเป็นยาก คนไม่ค่อยเป็น ที่จริงแล้วกลับกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง โดยคิดเฉลี่ยเป็น 7.4% ของประชากรไทย และเทียบเป็นอันดับ 3 ของโลกจากอุบัติการของโรค รวบสาเหตุแห่งอัมพฤกษ์-อัมพาตและพิการถาวรที่ชื่อว่า ‘โรคหลอดเลือดสมอง’ หากรักษาช้าทุกอย่างอาจสายไป 

 

 

 

โรคหลอดเลือดสมอง

 

 

 

 

เจาะลึกโรคหลอดเลือดสมอง

     โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นภาวะที่เซลล์สมองบางส่วนได้รับความเสียหาย เนื่องจากหลอดเลือดแตก ตีบหรืออุดตัน ส่งผลให้ผู้ป่วยปากเบี้ยว อัมพาตครึ่งซีก การมองเห็นมีปัญหา ปวดหัวและอ่อนแรงเฉียบพลัน
 

ประเภทของโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองถูกแบ่งเป็นสองประเภทหลัก ได้แก่

 

  • ภาวะหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic Stroke) พบได้ 80% ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด เกิดจากตะกรันหรือลิ่มเลือดไปเกาะอยู่ในหลอดเลือดจนอุดตัน ซึ่งส่งผลให้เซลล์สมองขาดออกซิเจนและได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง 

  • ภาวะหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) พบได้ 20% โดยเกิดจากผนังหลอดเลือดอ่อนตัวลงจนรั่วหรือโป่งพอง ทำให้เกิดแรงดันไปกดสมองจนมีเซลล์สมองบางส่วนได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ในบางรายสามารถเกิดจากโรคหลอดเลือดสมองผิดปรกติแต่กำเนิด

 

ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองมีอะไรบ้าง

     โรคหลอดเลือดสมองมีโอกาสเสี่ยงเกิดจากปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัวบางโรค เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคอ้วน โรคที่มีโอกาสเป็นลิ่มเลือดในหัวใจห้องบนซ้ายสูง ซึ่งอาจหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง ร่วมกับการใช้ชีวิตที่สุ่มเสี่ยงให้เกิดโรค จึงส่งผลให้เกิดภาวะความดันสูงตามมา 

 

 

 

โรคหลอดเลือดสมอง

 

 

 

 

ทดสอบอาการ B.E.F.A.S.T. ได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

  • B – Balance การทรงตัวของร่ายกายผิดปกติ ทรงตัวไม่ได้ เดินเซและวิงเวียนศีรษะบ่อย 
  • E – Eye ตามัวมองไม่เห็นเฉียบพลัน ลานสายตาผิดปกติ
  • F – Face ให้ยิงฟันหรือยิ้ม สังเกตว่าปากเบี้ยวหรือมุมปากตก
  • A – Arm ให้ยกแขนทั้ง 2 ข้างขึ้นนาน 10 วินาที พบว่าแขนข้างใดข้างหนึ่งตก หรือยกไม่ขึ้นหรือไม่? 
  • S – Speech ให้พูดตามและสังเกตว่าพูดไม่ชัด พูดไม่รู้เรื่อง ไม่พูดหรือไม่? 
  • T – Time ถ้าสังเกตว่ามีอาการผิดปกติ ควรต้องรีบมาโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

 

 


เมื่อสมองขาดเลือดหรือมีเลือดออกในสมอง เซลล์สมองจะเริ่มตายลงเรื่อยๆ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร็วที่สุด เพราะยิ่งรักษาเร็ว ก็จะยิ่งได้ผลดีให้ผู้ป่วยฟื้นตัวใกล้เคียงปกติ ลดโอกาสการเสียชีวิตและพิการ


 

 

 

โรคหลอดเลือดสมอง


 

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง

  • CT Scan การตรวจด้วยเครื่อง X-ray computer สามารถทำได้รวดเร็ว แยกโรคหลอดเลือดสมองแตกได้ชัดเจน มีข้อมูลเพียงพอในการพิจารณาให้ยาละลายลิ่ม เลือดทางหลอดเลือดดำ
  • CTA Brain เห็นรายละเอียดได้ดีกว่า รวมถึงหลอดเลือดสมองโป่งพอง แต่มีข้อจำกัดในผู้ป่วยโรคไต
  • MRI Scan สามารถดูหลอดเลือดได้โดยไม่ต้องฉีดสี ทั้งยังให้รายละเอียดที่ดีกว่าในกรณีหลอดเลือดสมองตีบหรือไม่ทราบระยะเวลาที่เริ่มเป็น
  • Carotid duplex ใช้ Ultrasound ดูเส้นเลือดแดงใหญ่ที่คอ เช็กความหนาของผนังหลอดเลือด 
  • TCD ใช้ Ultrasound ดูการไหลเวียนของเลือด โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำ MRI หรือ CTA ได้ 

 

 

โรคหลอดเลือดสมอง

 

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองแบบเดิม

     การรักษาโรคหลอดเลือดสมองแบบเดิมเป็นแบบประคับประคอง กล่าวคือการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ/กินยาต้านเกล็ดเลือด เพื่อป้องกันการเป็นซ้ำ ไม่ได้แก้ไขเส้นเลือดที่อุดตัน

 

 

โรคหลอดเลือดสมอง

 

 

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองในปัจจุบัน

     เน้นที่การเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุด ทำการวินิจฉัยด้วย X-ray Computer สมอง เพื่อพิจารณาให้การรักษาเพื่อแก้ไขลิ่มเลือดที่อุดตันประกอบด้วย

 

  • การใช้ยาละลายลิ่มเลือด ช่วยละลายลิ่มเลือดที่อุดตันในหลอดเลือดสมองภายใน 3 - 4.5 ชม. เพื่อเลือดไหลเวียนเป็นปกติ
  • การสวนหลอดเลือด และใช้ขดลวดเพื่อดึงเอาลิ่มเลือดที่อุดตันออกมา (Stentriever) ภายใน 6 - 24 ชม. แล้วแต่กรณ
  • เทคโนโลยี Bi-plane DSA หรือ Biplane Digital Subtraction Angiography เทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงซึ่งฉายภาพชนิดสองระนาบแบบ 3 มิติสำหรับใช้วินิจฉัยได้รวดเร็วควบคู่กับลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรักษาโรค

 

 


การใช้ยาละลายลิ่มเลือดและ/หรือการลากลิ่มเลือดที่อุดตันออกมา จะช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ ดังนั้น เซลล์สมองจึงไม่ถูกทำลาย


 

 

โรคหลอดเลือดสมอง

 

 

การรักษากรณีเป็นโรคหลอดเลือดสมองแตก

โรคหลอดเลือดสมองแตกยังสามารถแบ่งแยกย่อยอีก 2 ประเภท ได้แก่ กรณีแตกในเนื้อสมองและในเยื่อหุ้มใต้สมอง แพทย์จะใช้การรักษาที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้ 

 

กรณีหลอดเลือดสมองแตกในเนื้อสมอง

แพทย์จะใช้การักษาที่ไม่ให้แรงดันในสมองสูงเกินจนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

 

  • หากก้อนเลือดเล็กและไม่ทำให้ความดันสูงมาก แพทย์สามารถรักษาด้วยการใช้ยา
  • หากพบว่าเป็นก้อนเลือดใหญ่ แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัด เนื่องจากไม่สามารถรอให้ยาออกฤทธิ์ได้และความดันในสมองที่สูงมากก็ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้

 

 

โรคหลอดเลือดสมอง

 

 

 

กรณีหลอดเลือดสมองแตกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง

ถ้าเกิดจากหลอดเลือดโป่งพอง แพทย์สามารถรักษาได้ 2 วิธี ได้แก่

 

  • การใช้คลิปหนีบ (Clipping) เพื่อปิดรูที่มีการโป่งพอง กันไม่ให้เลือดเข้าไป
  • การนำขดลวด (Coliling) ใส่เข้าไปในบริเวณที่โป่งพองเพื่อกันไม่ให้เลือดเข้าไปเช่นเดียวกัน

 

 

 

โรคหลอดเลือดสมอง

 

 

กรณีหลอดเลือดแดงผิดปรกติ แพทย์แนะนำให้รักษาด้วย

  • ผ่าตัดหลอดเลือดแดงที่ผิดปรกติออก
  • รักษาด้วยการฉีดสีและใช้กาวเข้าไปอุดส่วนของหลอดเลือดที่ผิดปกติ
  • รักษาด้วยการฉายแสงก็เป็นได้

 

 

วิธีลดเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

  • ป้องกันโรคด้วยการรับประทานยาหรือปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
  • หมั่นตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อดูสภาพร่างกายปัจจุบันและลดโอกาสเสี่ยงทัน
  • ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานผักผลไม้ ลดอาหารไขมันอิ่มตัว เลิกบุหรี่ เลี่ยงแอลกอฮอล์และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รักษาและควบคุมโรคซึ่งเป็นสาเหตุก่อเกิด เช่น โรคเบาหวาน ความดันสูง
  • กรณีเป็นโรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
  • หากพบว่ามีความดันโลหิตที่มากกว่า 140/90 mmHg ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

 

 

 


 

 

 

ศูนย์สมองพร้อมเป็นเพื่อนใจพาก้าวผ่าน

     ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลรามคำแหงพร้อมอยู่เคียงข้างคุณทุกการรักษา แม้ในยามที่สุ่มเสี่ยงจะเป็นโรคก็รู้สึกเบาใจขึ้นด้วยการตรวจหลอดเลือดสมองแต่เนิ่น รู้ผลเร็ว ลดเสี่ยงไวเพราะทุกวินาทีคือความเสี่ยงเมื่อเกิดโรค พร้อมฟื้นฟูสุขภาพกายภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะด้านประสาทวิทยาและบุคลากรด้านการแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง

 

แหล่งอ้างอิง

https://www.nhlbi.nih.gov/health/stroke