ปวดหัวบ่อยจนเรื้อรัง..ให้ระวัง! “เนื้องอกในสมอง”

March 01 / 2023

 

ปวดหัวบ่อยจนเรื้อรัง..ให้ระวัง! “เนื้องอกในสมอง”

 


 

“ปวดหัว” เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย ด้วยเพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวนั้นมีหลากหลาย เช่น เครียด พักผ่อนน้อย ค่าสายตาเปลี่ยน ไซนัสอักเสบ หรือแม้แต่อาการเกร็งของกล้ามเนื้อต้นคอและไหล่ ซึ่งพบได้มากในกลุ่มคนวัยทำงาน แต่โดยปกติอาการปวดหัวส่วนใหญ่จะหายไปเองภายในระยะเวลาไม่นาน และไม่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันมากนัก

 

 

 

แต่!..ถ้าใครที่ปวดหัวแล้วพบว่ามีอาการผิดสังเกต 3 ข้อต่อไปนี้ ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจมีความผิดปกติบางอย่างในสมองและควรไปพบแพทย์ตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุแท้จริง เพื่อจะได้รักษาอย่างตรงจุด

 

  • ปวดหัวเรื้อรัง มีอาการปวดหัวมากกว่า 15 วันต่อเดือน อย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน ซึ่งมักเป็นอาการเริ่มต้นของเนื้องอกในสมองที่กำลังพัฒนาขนาด คือมีขนาดใหญ่ขึ้นจนทำให้แรงดันในสมองสูงขึ้น และแสดงออกในลักษณะของอาการปวดหัว
  • อาเจียน โดยเฉพาะการอาเจียนในตอนเช้า ถือเป็นหนึ่งในอาการร่วมสำคัญที่ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีความผิดปกติจากสมอง ที่ไม่ได้เกิดจากความเครียดตามปกติ
  • ท่าทางการเคลื่อนไหวหรือการสื่อสารผิดปกติ เกิดจากมีก้อนเนื้องอกไปกดทับ หรือเบียดสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบต่างๆ โดยแต่ละคนจะมีอาการแสดงแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าก้อนเนื้องอกเกิดขึ้นในสมองส่วนที่ทำหน้าที่อะไร เช่น บางคนอาจพูดไม่ได้ แขนขาอ่อนแรงหรือชา การทรงตัวผิดปกติ หรือบางคนมีอาการชัก ทั้งที่ไม่เคยมีประวัติการชักมาก่อน

 

 

 

** เพราะ เนื้องอกในสมอง ไม่มีสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่ทันทีที่มีอาการ สิ่งสำคัญคือการไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้รู้ว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นเกิดจากอะไร ซึ่งการตรวจสแกนสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือMRI จะช่วยให้มองเห็นได้ชัดเจนว่ามีเนื้องอกหรือความผิดปกติอื่นๆ เกิดขึ้นที่สมองหรือไม่ รวมไปถึงขนาดของก้อนเนื้องอก เพื่อให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง

 

 

แม้ว่าก้อนเนื้องอกที่ตรวจพบจะไม่ใช่เนื้อร้าย แต่หากปล่อยไว้นาน อาจส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ ตามมาและอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

 

หากเนื้องอกเกิดอุดตันทางเดินของน้ำในสมอง ซึ่งการรักษาเนื้องอกในสมองมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี คือ การฉายรังสี ให้ยาเคมีบำบัดและการผ่าตัด โดยแพทย์จะเลือกวิธีการรักษาจากอาการของผู้ป่วย ตำแหน่งและขนาดของเนื้องอก เป็นหลัก

 

 

แก้ไข

01/03/2566