รอบเดือนผิดปกติ มาถี่มามาก ต้องรีบรักษาป้องกันความเสี่ยง

January 25 / 2024

 

รอบเดือนผิดปกติ มาถี่มามาก ต้องรีบรักษาป้องกันความเสี่ยง

 

 

 

 

ภาวะประจำเดือนผิดปกติ และ เลือดออกผิดปกติ ที่เกิดกับผู้หญิงแบ่งออกเป็น 3 แบบ ตั้งแต่เรื่อง

 

  • ปริมาณ ปกติแล้วโดยเฉลี่ยคือจะเปลี่ยนผ้าอนามัย 3-4 ผืนต่อวัน กรณีที่เปลี่ยนผ้าอนามัยชุ่ม 5 ผืนต่อวันก็เข้าเกณฑ์ว่าประจำเดือนออกมากกว่าผิดปกติ หรืออย่างกรณีที่เปลี่ยนทุก 2 ชั่วโมงก็ยิ่งเข้าเกณฑ์ว่ามีภาวะเลือดออกผิดปกติรุนแรง
  • ระยะเวลา คือจำนวนวันที่มาซึ่งหากมาน้อยกว่า 4 วันครึ่งถือว่ามาน้อยไป แต่ถ้ามานานเกิน 8 วันก็ถือว่านานไป
  • ความถี่ หากประจำเดือนปกติ จะอยู่ในช่วง 24-38 วันถ้าไม่ถึง 24 วันแล้วมาจะถือว่ามาถี่ แต่ถ้าเกินกว่า 38 วันจึงมาก็ถือว่านานเกิน

 

 

อย่างไรก็ตามอาการเลือดออกผิดปกติอาจมีตั้งแต่ปัญหา มามาก มาน้อย มาถี่ มาห่าง มากะปริบกะปรอย หรือไม่มาเลย หรืออาจจะเกิดขึ้นหลังจากมีเพศสัมพันธ์ โดยอาจมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ มีปวดท้อง หรือในกรณีที่เสียเลือดมานาน หรือเสียเลือดเฉียบพลันก็อาจมีเรื่องภาวะซีด ภาวะเลือดจางทำให้เหนื่อย เพลีย หรือวิงเวียนได้

 

 

สาเหตุรอบเดือนผิดปกติ แบ่งเป็น 2  กลุ่มใหญ่ๆ คือ

 

  • มีก้อนเนื้อหรือชิ้นเนื้อ เช่น เป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในกล้ามเนื้อมดลูก มีเนื้องอกมดลูก
    เป็นโรคติ่งเนื้อในโพรงมดลูก หรือบางส่วนอาจเป็นเรื่องของมะเร็งหรือเนื้อร้าย

 

  • ไม่มีก้อนให้เห็น เช่น กลุ่มของฮอร์โมนผิดปกติ เช่น ภาวะถุงน้ำในรังไข่ หรือกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดผิดปกติจากยาละลายลิ่มเลือดหรือโรคทางพันธุกรรม หรือกลุ่มที่เกิดจากการใช้ยาคุม ยาฮอร์โมน หรือเกิดจากการติดเชื้อภายในโพรงมดลูก ที่ส่งผลให้เกิดภาวะประจำเดือนออกมากไม่เป็นรอบรวมถึงอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ หรือปวดท้องน้อย เป็นต้น

 

ดังนั้นการวินิจฉัยต้องอาศัยประวัติการตรวจร่างกายรวมถึงการตรวจคัดกรองโรคอื่นๆ ร่วมด้วย

 

 

วิธีการรักษารอบเดือนผิดปกติ

 

ต้องควบคุมปริมาณเลือดที่ออกและป้องกันเลือดที่ออกผิดปกติในรอบประจำเดือนถัดไป ขณะที่การรักษาจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือการรักษาด้วยการให้ยา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นทางเลือกแรก ในกรณีที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผลหรือมีข้อห้ามในการใช้ยา แพทย์อาจใช้การรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมด้วย ซึ่งผู้ที่ได้รับการรักษาเกี่ยวกับรอบเดือนผิดปกติควรมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้ดูว่ายังต้องทานยาต่อหรือต้องหยุดยา และที่สำคัญคือต้องดูแลสุขภาพอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ลดภาวะเครียด ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย และทานอาหารให้ที่มีประโยชน์

 

 

 

แก้ไข

15/02/2566