จะรู้ได้อย่างไร?...ว่าอ้วนลงพุง

January 27 / 2023

 

จะรู้ได้อย่างไร?...ว่าอ้วนลงพุง

 

 

 

ปัจจุบันความอ้วนหรือโรคอ้วน ได้ถูกกำหนดให้เป็นโรคอย่างหนึ่งที่ต้องการดูแลและรักษา ทั้งนี้เพราะโรคอ้วนสามารถทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้หลายโรค องค์การอนามัยโลก ได้ให้คำนิยามของโรคอ้วนไว้ว่า เป็นภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกายเกินปกติ จนเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือเป็นสาเหตุให้เกิดโรคที่ส่งผลต่อสุขภาพเป็นความเจ็บป่วย และอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

 

 


โรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) เป็นชนิดที่พบบ่อย และเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้มากมาย วินิจฉัยได้จากการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ต้องตรวจพบอย่างน้อย 3 ใน 5 ข้อ

 

  • การวัดขนาดรอบเอว บริเวณสะดือในท่ายืนเท้าทั้ง 2 ข้าง ห่างกัน 10 เซนติเมตร ช่วงหายใจออก
    * เพศชาย ไม่เกิน 90 เซนติเมตร เพศหญิง ไม่เกิน 80 เซนติเมตร
  • ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ≥ 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • ระดับไขมัน HDL cholesterol

< 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในเพศชาย
< 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในเพศหญิง

  • ระดับความดันโลหิตมากกว่า ≥ 130/85 มิลลิเมตรปรอท
  • ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร ≥ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 

 

 

สาเหตุของโรคอ้วน

 

  • กรรมพันธุ์ บางครอบครัวมีแนวโน้มจะอ้วนกันทั้งหมดอาจจะเกิดจากการเลี้ยงดู, สิ่งแวดล้อม, การใช้ชีวิตร่วมกันแบบเดียวกัน
  • รับประทานอาหารแบบเดียวกัน การรับประทานอาหาร ซึ่งให้พลังงานสูงเป็นประจำโดยเฉพาะแป้งและไขมัน และรับประทานมากเกินความต้องการของร่างกาย
  • ยาบางอย่าง ทำให้ความอยากอาหารมากขึ้น เช่น ยาทางจิตเวช, ยารักษาเบาหวาน, ยา steroid
  • โรคบางอย่าง โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ ได้แก่ ต่อมธัยรอยด์และต่อมหมวกไต
  • สิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรมและการใช้ชีวิต ของแต่ละประเทศและเผ่าพันธุ์
  • การดื่มสุรา และสูบบุหรี่
  • ภาวะเครียด บางคนมีความผิดปกติทางจิตใจทำให้รับประทานอาหารมากขึ้น
  • ปัจจุบัน ความก้าวหน้า ทางด้านเทคโนโลยีทำให้คนอายุน้อย มีเครื่องอำนวยความสะดวกมากมายและขาดการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย
     

 

โรคอ้วน ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง, ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตเรื้อรัง, โรคมะเร็ง (มะเร็งเยื่อบุมดลูก, รังไข่, มะเร็งเต้านม, มะเร็งลำไส้) ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ, กรดไหลย้อน, โรคข้อเข่าเสื่อม, โรคประจำเดือนผิดปกติ



การรักษาโรคอ้วน การควบคุมน้ำหนักตัว ด้วยการหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลหรือแอลกอฮอล์สูง กินอาหารแต่ละมื้อให้ปริมาณลดลง ค่อยๆ ลดโดยเฉพาะอาหารประเภทแป้งและไขมัน เพิ่มอาหารประเภทเส้นใย เช่น ผักและผลไม้ที่ไม่หวาน , ไม่กินจุกจิก เคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น เช่น ใช้บันไดแทนลิฟต์ พยายามออกกำลังกายทุกวันอย่างน้อย 30 นาที ตรวจร่างกายเพื่อดูว่ามีโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากความอ้วนหรือยัง เช่น เบาหวาน , ไขมันในเลือดสูง  หรือการใช้ยาเพื่อลดน้ำหนักตัว

 

 


อย่างไรก็ตามการลดน้ำหนักที่ยั่งยืนที่สุดก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร ทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารทอด และออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ

 

 

แก้ไข

19/01/2566