เด็กน้อยวัยไม่เกิน 5 ขวบให้ระวัง “โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง”

December 20 / 2024

 

หนูน้อยวัยไม่เกิน 5 ขวบให้ระวัง “โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง” เด็กโต-ผู้ใหญ่ก็เป็นได้

 

 

ผื่นภูมิแพ้ในเด็ก

 

 

 

     เชื่อว่าต้องมีชาวพันทิปไม่น้อยทีเดียวที่เคยเจอ“โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง” หรืออาจจะกำลังสร้างปัญหาให้กับบุตร-หลานที่กำลังน่ารักน่าเอ็นดูอยู่ในวัยไม่เกิน 5 ขวบจนส่งผลให้ผิวหนังของหนูน้อยเกิดการอักเสบเรื้อรังชนิดที่ว่าเป็น ๆ หาย ๆ และกลายเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ทำให้อัตราการเป็นโรคนี้อยู่ในสัดส่วนสูงถึง 85% จากผู้ป่วยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ที่พบว่าเป็นโรคนี้โดยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่ามาจากปัจจัยใดจากหลาย ๆ อย่าง

 

 

“โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง” เป็นเรื่องของปัจจัยต้นเหตุการเกิดโรคมีอยู่ 2 ปัจจัย

     อย่างแรกจะเกิดจาก ปัจจัยภายในตัวผู้ป่วยเอง เช่น ผู้ป่วยมีความผิดปกติของโครงสร้างชั้นผิวหนัง ทำให้ผิวหนังมีรู เกิดการระเหยของน้ำออกทางรูนี้ ทำให้ผิวเก็บความชุ่มชื้นไว้ไม่ได้ ในทางกลับกันคือมีการกระตุ้นของสิ่งแวดล้อมผ่านเข้ามาทางรูนี้เช่นกัน  หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย รวมทั้งการมีประวัติครอบครัวเป็นภูมิแพ้ ก็กระตุ้นให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน... ปัจจัยที่ 2 คือ ปัจจัยภายนอก-จากสิ่งแวดล้อม เช่นการแพ้อาหารบางชนิด อากาศร้อนหรือเหงื่อออกทำให้ต้องเกา การติดเชื้อที่ผิวหนัง การสัมผัสกับสารระคายเคืองหรือสารก่อภูมิแพ้ รวมทั้งภาวะเครียดก็เป็นสาเหตุได้เหมือนกัน

 

 

หนูน้อยที่เป็น “โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง” จะมีอาการที่แตกต่างกันไปแต่ละราย

 

“...เด็กเล็กจะมีผื่นแดงเป็นขุยแห้งคันบริเวณแก้ม, รอบริมฝีปาก, ใบหู

 

 

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

 

 

เมื่อเกิดในเด็กเล็กเริ่มคลาน

     สำหรับในเด็กเล็กเวลาเริ่มคลาน จะมีการเสียดสีบริเวณข้อพับด้านนอกแขนขา จึงเป็นตำแหน่งที่เกิดผื่นได้ง่ายและจะคันจนทำให้บางคนต้องเกามาก แล้วก็ตามมาด้วยการอักเสบถึงกับขึ้นตุ่มน้ำหรือมีน้ำเหลืองซึม

 

 

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

 

 

 


ขณะที่ในเด็กบางรายอาจมองไม่เห็นผื่น แต่จะก่อให้เกิดอาการคันมาก ทำให้ต้องนอนพลิกตัวไปมา แล้วก็ไม่เป็นอันได้หลับได้นอน...


 

 

กรณีของเด็กโต

     แต่สำหรับในรายของเด็กโตหรือผู้ใหญ่ จะมีผื่นบริเวณข้อพับด้านในของแขนขา ซึ่งจะกลับกันกับตำแหน่งที่เกิดในเด็กเล็ก อันเนื่องมาจากการมีเหงื่อและการเสียดสีเป็นตัวกระตุ้น นอกจากนี้ยังพบได้บริเวณคอ มือ เท้า ลำตัว ทำให้เกิดการคันจนต้องเกามากถึงกับขึ้นเป็นปื้นหนาตามมา...แต่ไม่ว่าจะเป็นในช่วงวัยไหนก็ตาม อาการสำคัญของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังที่สำคัญนั้นจะต้อง...มีอาการเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ และมีอาการกำเริบของโรคเป็นระยะ ๆ หลังจากได้รับสิ่งกระตุ้น...”

 

 

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

 

 

 “...โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะมีอาการดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยสามารถหายขาดได้ในบางคน ซึ่งใครที่มีอาการเป็นน้อยจะหายไว ส่วนใครที่เริ่มเกิดอาการตอนโตจะหายช้าและมีโอกาสหายขาดได้ยาก  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นและดูแลผิวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้โดยมีรายงานการพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 80 จะมีอาการดีขึ้นหลังจากมีอายุ 8 ปีไปแล้ว โดยจะมีประมาณร้อยละ 5 ที่ยังคงมีผื่นจนโตเป็นผู้ใหญ่...”

 

 

วิธีดูแลรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

สามารถนำไปใช้ได้ทั้ง “เด็กโต” และ “ผู้ใหญ่” และ คุณพ่อ-คุณแม่หรือผู้ปกครองที่ต้องดูแล “ผู้ป่วยเด็กน้อย” ตั้งแต่ “การอาบน้ำ” หมอแนะนำว่า...

 

“...ไม่อาบน้ำอุ่น-ไม่อาบน้ำนาน เพราะจะทำให้ผิวแห้ง อาบด้วยน้ำประปาที่มีอุณหภูมิห้องแค่ครั้งละไม่เกิน 5-10 นาทีก็พอ...ที่ไม่ควรทำคือขัดถูผิวด้วยผงหรือเม็ดขัดผิวที่เรียกว่า beads scrub...โดยไม่ควรทำสปา-อบไอน้ำที่รู้จักกันดีว่าซาวน่า เพราะจะทำให้ผิวระคายเคืองได้จากการเสียดสี การขัดถู...ส่วนสบู่ที่ใช้ควรเป็นสบู่ที่มีความเป็นกรดอ่อน ๆ ประมาณ pH 5-5.5  เนื่องจากสบู่ที่มีความเป็นด่างจะระคายเคืองผิวและทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ง่าย และควรหลีกเลี่ยงการใช้ antiseptic soap/Herbal soap...และหลังจากอาบน้ำเสร็จก็ให้ดูแลรักษาผิวพรรณด้วยการทา moisturizing cream โดยทันทีขณะที่ผิวยังหมาด ๆ เพราะจะเก็บความชุ่มชื้นที่เซลล์ผิวได้ดีกว่าทาตอนผิวแห้ง การทาครีมช่วยทำให้สภาพผิวหนังแข็งแรงขึ้น สามารถป้องกันการสัมผัสเข้ามาของสารก่อภูมิแพ้และเชื้อโรคได้ ครีมที่ใช้ควรเลือกแบบที่ไม่มีน้ำหอม-ไม่มีสารกันเสีย แต่ไม่แนะนำให้ใช้น้ำมันมะพร้าวทาผิวเพราะจะเพิ่มการระเหยของน้ำทางผิวหนัง การทาครีมสามารถทาได้ทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หากมีผื่นหรือคันผิวต้องพยายามอดใจไม่เกาพร้อมกับหมั่นตัดเล็บให้สั้น”

 

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังผื่นภูมิแพ้ผิวหนังผื่นภูมิแพ้ผิวหนังผื่นภูมิแพ้ผิวหนังผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

 

 

 


สำหรับกรณี “การใช้ยา” โดยเฉพาะพวกยาสเตียรอยด์ ยาแก้แพ้/แก้คัน ยาแก้อักเสบ หรือยากดภูมิต้านทาน เป็นการใช้เพื่อการรักษาปลายเหตุซึ่งควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น...ส่วนกรณีแพ้อาหารก็ได้แนะให้เลี่ยงอาหารที่เป็นสาเหตุ 


 

 

 

 

 

แก้ไข

05/01/2566