สภากาชาดไทย ร่วมกับ รพ.รามคำแหง ขอเชิญร่วมบริจาคโลหิต

February 23 / 2024

 

 

สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหงขอเชิญร่วมบริจาคโลหิต

ตารางกำหนดการรับบริจาคโลหิตประจำปี 2567

 

 

 


 

โรงพยาบาลรามคำแหงมีมาตรการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลระดับสูงสุด

 

  1. คัดกรอง สำหรับผู้บริจาคโลหิต ขอให้คัดกรองตนเองก่อนมาบริจาคโลหิต เช่น หากมีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง มีผื่นขึ้น เดินทางไปยังสถานบันเทิง ตลาด สถานที่แออัด พื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาด หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย/ ผู้ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ COVID-19 ต้องงดบริจาคโลหิตอย่างน้อย 14 วัน
  2. เข้มงวด บุคลากรมีความตระหนักและปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ทุกคนในพื้นที่สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา มีแอลกอฮอล์เจลล้างมือทุกจุดสัมผัส สถานที่และอุปกรณ์สะอาดปลอดเชื้อ จัดให้มี การเว้นระยะห่าง และจัดตั้งฉากกั้นระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้บริจาคโลหิตทุกจุดของกระบวนการบริจาคโลหิต

 

 

คำแนะนำก่อนบริจาคโลหิต

 

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
  • รู้สึกสบายดี สุขภาพแข็งแรง พร้อมที่จะบริจาคโลหิต หากอยุ่ระหว่างรับประทานยารักษาโรค ให้แจ้งแพทย์/พยาบาล ผู้ตรวจคัดกรองสุขภาพทุกครั้ง
  • รับประทานอาหารประจำมื้อก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ แกงกะทิขนมหวาน ก่อนมาบริจาคโลหิต 6 ชั่วโมง เพราะจะทำให้พลาสมามีสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้
  • การดื่มน้ำก่อนบริจาคโลหิต 30 นาที ประมาณ 3-4 แก้ว ซึ่งเท่ากับปริมาณโลหิตที่เสียไปในการบริจาค จะทำให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น และช่วยลดภาวะการเป็นลมจากการบริจาคโลหิตได้
  • งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก่อนมาบริจาคโลหิตอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

 

 

คำแนะนำขณะบริจาคโลหิต

 

  • สวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
  • เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะ ไม่มีผื่นคัน หรือรอยเขียวช้ำ ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
  • ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต
  • ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการผิดปกติระหว่างบริจาค เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที

 

5 ขั้นตอนในการบริจาคโลหิต 

 

 

 

คำแนะนำหลังบริจาคโลหิต

 

  • นอนพักที่เตียง 5 นาที หากไม่มีอาการผิดปกติ จึงลุกจากเตียง และไปนั่งพัก 10 -15 นาที พร้อมดื่มเครื่องดื่ม และรับประทานอาหารว่าง
  • ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
  • รับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก วันละ 1 เม็ด หลังอาหารจนหมด เพื่อชดเชยธาตุเหล็กที่เสียไปจากการบริจาคโลหิต เพื่อให้สามารถบริจาคโลหิตได้อย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการขึ้น-ลงที่สูง อาจทำให้รู้สึกวิงเวียนและเป็นลมได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้แขนข้างที่บริจาคโลหิต เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการเดินไปในบริเวณที่แออัด และมีอากาศร้อนอบอ้าว
  • งดกิจกรรมหรือทำงานที่มีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ ความเร็ว ความสูง ความลึก เครื่องจักรกล
  • งดออกกำลังกายที่ทำให้เสียเหงื่อ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง

 

 

Q : ผู้ป่วยโควิด-19 หลังจากหายแล้วบริจาคโลหิตได้หรือไม่?

A : ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 สามารถบริจาคโลหิตได้ แต่ต้องได้รับการตรวจยืนยันว่าไม่พบเชื้อแล้วอย่างน้อย 4 สัปดาห์

 

 

 

 

Q : ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ บริจาคเลือดได้จริงหรือ?

A : การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สามารถบริจาคโลหิตได้ แต่หลังฉีดวัคซีนแล้ว 1-2 วัน ไม่มีอาการไข้ขึ้นสูง ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลียปวดศีรษะ หรือมีผื่นแพ้ เมื่อสุขภาพสมบรูณ์ พักผ่อนเพียงพอ ก็สามารถบริจาคโลหิตได้

 

 

Q&A วัคซีนโควิด-19 กับการบริจาคโลหิต

 

Q : หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 บริจาคโลหิตได้ไหม?

A : สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองจาก สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โมเดอร์นา, ไฟเซอร์, ซิโนฟาร์ม, ซิโนแวค, แอสตร้าเซนเนก้า, จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ให้เว้น 7 วันหลังฉีดวัคซีน จึงจะบริจาคโลหิตได้    

Q : ผู้ที่มีอาการข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีนบริจาคโลหิตได้หรือไม่?

A : ควรให้อาการหายดี และเว้นระยะ 14 วันจึงไปบริจาคโลหิต โดยแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่จุดรับบริจาคโลหิตทราบด้วยเพื่อประเมินสภาพร่างกายก่อนบริจาคโลหิต

Q : จำเป็นต้องรับวัคซีนครบ 2 เข็ม จึงจะบริจาคโลหิตได้ใช่ไหม?

A : ไม่จำเป็น ผู้ที่รับวัคซีนโควิด-19 สามารถบริจาคโลหิตได้หลังจากการรับวัคซีนเข็มแรก 7 วัน

Q : เลือดที่บริจาคจากผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 ให้ผู้รับบริจาคได้หรือไม่?

A : ไม่ได้ เพราะวัคซีนไม่ได้มีผลกับการสร้างภูมิต้านทานในผู้ที่รับบริจาคเลือด เนื่องจากปริมาณเลือดที่นำไปใช้น้อยกว่าปริมาณเลือดในร่างกายของผู้รับบริจาคมาก

 

 

 

ภาพบรรยากาศ

 

 

 

แก้ไข

10/01/2567