คำแนะนำด้านโภชนาการหลังคลอดบุตร

January 13 / 2025

โภชนาการหลังคลอด

 

 

     คุณแม่หลังคลอดควรมีการดูแลเรื่องการรับประทานอาหารให้เหมาะสม เนื่องจากการมีภาวะโภชนาการที่ดีจะทำให้คุณแม่มีความพร้อมสำหรับการให้นมบุตร ซึ่งช่วยให้สามารถผลิตน้ำนมได้อย่างมีคุณภาพและเพียงพอ มีสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก

 

โดยทั่วไปสตรีที่ให้นมบุตรในช่วง 6

 

ความต้องการพลังงานของสตรีให้นมบุตร

     โดยทั่วไปสตรีที่ให้นมบุตรในช่วง 6 เดือนแรกจะต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นจากปกติ 500 กิโลแคลอรีต่อวัน และในช่วง 6 เดือนหลังจะต้องการเพิ่มขึ้นเพียง 300 กิโลแคลอรีต่อวัน ซึ่งอาหารที่ได้รับควรมีคุณค่าทางโภชนาการและสารอาหารที่จำเป็น ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน รวมถึงวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินบี วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินดี

 

 

โภชนาการหลังคลอด

 

 

แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับสตรีหลังคลอด

  • รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยแบ่งเป็น 3 มื้อหลักและมีอาหารมื้อว่าง 1-2 มื้อต่อวัน เพื่อให้ได้รับพลังงานและสารอาหารที่เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ นม
  • รับประทานผัก ผลไม้ หลากหลายสี เพื่อให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม โฟเลตซึ่งพบมากในผักใบเขียว บางครั้งเป็นวิตามินซีซึ่งพบมากในผลไม้รสเปรี้ยวหรือวิตามินเอในผักผลไม้สีเหลือง
  • รับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียม เช่น นม โยเกิร์ต เต้าหู้ ปลาเล็กปลาน้อย งาดำ นมถั่วเหลืองสูตรเสริมแคลเซียม
  • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ อย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวัน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด อาหารหมักดอง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน 

 

 

 

โภชนาการหลังคลอดโภชนาการหลังคลอดโภชนาการหลังคลอดโภชนาการหลังคลอดโภชนาการหลังคลอดโภชนาการหลังคลอด

 

 

ปริมาณอาหารที่ควรรับประทานใน 1 วัน

 

โภชนาการหลังคลอด

 

 

ตัวอย่างเมนูอาหารที่ช่วยในการเพิ่มน้ำนม

 

โภชนาการหลังคลอด

 

 

 


โดยทั่วไปหญิงให้นมบุตรในช่วง 6 เดือนแรก จะมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นจากปกติ 500 กิโลแคลอรีต่อวัน และในช่วง 6 เดือนหลัง จะต้องการเพิ่มขึ้นเพียง 300 กิโลแคลอรีต่อวัน



 

 

แก้ไข

30/11/2565