กรดไหลย้อนเรื้อรัง เสี่ยงมะเร็งหลอดอาหารได้ด้วย!

December 30 / 2024

กรดไหลย้อนเรื้อรัง

 

 

     เชื่อว่าทุกท่านคงเคยเจอคนรอบตัว (รวมถึงอาจเป็นตัวท่านเอง) ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนกันบ้างไม่มากก็น้อย แม้เป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารไม่คุ้นชื่อหรือได้ยินบ่อย แต่เป็นโรคที่มีแนวโน้มเกิดบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ หากเรายังต้องรับประทานอาหารเข้าไปทุกวัน โดยมีสัญญาณเริ่มด้วยการเกิดโรคกรดไหลย้อนเรื้อรัง  

 

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อนเรื้อรัง

     สาเหตุหลักของโรคมะเร็งหลอดอาหารส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง เช่น ทานอาหารเสร็จแล้วนอนทันที ทานอาหารมัน ๆ หรือทานอาหารเยอะเกินไป นอกจากนี้ น้ำหนักตัวที่มากเกินไป (อ้วน) ความเครียด สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือทานน้ำอัดลมบ่อย ๆ ก็เป็นปัจจัยเสริมที่มีส่วนทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ทั้งสิ้น

 

กรดไหลย้อนเรื้อรัง



 

'กรดไหลย้อน' ตัวการโรค

     กรดไหลย้อนคือน้ำย่อยของกระเพาะอาหารที่ไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร บางครั้งก็เกิดจากความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย หรือบางครั้งเกิดการบีบตัวที่ผิดปรกติของกระเพาะอาหารร่วมด้วย กรดจากกระเพาะอาหารจึงไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหารได้มากขึ้นนั่นเอง

 

อาการของกรดไหลย้อน  

อาการในหลอดอาหาร   

  • ปวดแสบปวดร้อนในหน้าอก หรือ ที่เรียกว่า Heart Burn เนื่องจากกรดไปทำให้หลอดอาหารอักเสบ 
  • มีอาการจุกแน่นที่บริเวณหน้าอก เหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ หายใจไม่ออกเวลานอน 
  • คลื่นไส้ กลืนอาหารลำบาก 
  • เรอเปรี้ยว หรือรู้สึกถึงรสขมของน้ำดี รสเปรี้ยวของกรดในปากหรือลำคอ   

 

อาการนอกหลอดอาหาร

     บริเวณกล่องเสียงและหลอดลม ไอเรื้อรัง เจ็บคอเรื้อรัง เสียงแหบ โดยเฉพาะในตอนเช้า เนื่องจากเวลานอน กรดจะไหลย้อนขึ้นมาได้มาก ทำให้เป็นโรคปอดอักเสบหรือมีอาการเจ็บหน้าอก

 

กรดไหลย้อนเรื้อรัง

 

 

กรดไหลย้อนเรื้อรังส่งผลให้เป็นมะเร็งหลอดอาหาร

     กรดไหลย้อนอาจเพียงสร้างความรำคาญและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันเท่านั้น หากอาจไม่รุนแรงหรือกำเริบบ่อย แต่หากปล่อยไว้นานจนเป็นเรื้อรัง ก็อาจส่งผลให้หลอดอาหารมีแผลหรือตีบได้ ทำให้บางคนกลืนอาหารลำบากบ้างก็กลืนแล้วชอบติด หรือบางรายร้ายแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งหลอดอาหาร เพราะหลอดอาหารส่วนปลายสัมผัสกับกรดมากเกินไป ทำให้เซลล์เปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นมะเร็งได้ในที่สุดนั่นเอง

 

อ่านเพิ่มเติม: รู้สาเหตุ-เข้าใจอาการ 'โรคกรดไหลย้อน' ควรตรวจและรักษาอย่างไร

 

 

 

กรดไหลย้อนเรื้อรัง

 

 

การตรวจด้วยเครื่องวัดกรดไหลย้อน

การตรวจด้วยเครื่องวัดกรดไหลย้อนตลอด 24 ชั่วโมง (24 hr Gastric PH monitoring) เหมาะกับผู้ป่วยหลากอาการ เช่น

 

  • ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนที่รับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น
  • ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนที่หยุดยาลดกรดไม่ได้ อาการจะกำเริบทันที
  • ผู้ป่วยอายุน้อยที่ไม่อยากรับประทานยาต่อในระยะเวลานาน
  • ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกคล้ายเป็นโรคหัวใจ แต่ตรวจแล้วว่าไม่เป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ป่วยที่มีอาการเสียงแหบเรื้อรังเหมือนมีก้อนที่คอ แสบคอที่ได้รับการตรวจแล้วจากแพทย์ หู คอ จมูก ไม่พบความผิดปกติใด ๆ ผู้ป่วยที่ส่องกล้องแล้วพบว่า ปลายหลอดอาหารมีการอักเสบที่รุนแรง
     

 

วิธีรักษาโรคกรดไหลย้อน

วิธีรักษาและป้องกันโรคกรดไหลย้อนที่ได้ผลมากที่สุด สามารถทำได้ด้วยการ

 

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพื่อลดการกำเริบของโรคซ้ำ รวมทั้งควบคุมเรื่องปริมาณและชนิดของอาหาร หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสเปรี้ยว เผ็ด อาหารหมักดอง อาหารมัน
  • ปรับการใช้ชีวิต ไม่สูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไปและผ่อนคลายความเครียด
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลมและแอลกอฮอล์
  • ห้ามนอนทันทีหลังทานอาหารเสร็จ หลังทานข้าวควรรอให้อาหารย่อยก่อนอย่างน้อย 3 ชั่วโมงขึ้นไป

 

 

รับชมวิดีโอ: โรคกรดไหลย้อน ภัยเงียบที่ควรระวัง

 

 

กรดไหลย้อนเรื้อรังกรดไหลย้อนเรื้อรังกรดไหลย้อนเรื้อรัง

 

 

วิธีรักษาโรคกรดไหลย้อนเรื้อรัง

     การรักษาโรคกรดไหลย้อนเรื้อรังในปัจจุบันเน้นการปรับพฤติกรรมและการใช้ยาร่วม ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยผู้ป่วยด้วยเครื่องมือประสิทธิภาพสูงพร้อมซักประวัติอาการผู้ป่วย เพื่อวางแผนรักษาสุขภาพผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

 

  • รับประทานยา ยาตัวหลักที่ใช้รักษาคือยาลดการหลั่งกรด ซึ่งแพทย์แนะนำให้รับประทานติดต่อ 4 - 6 สัปดาห์และประเมินอาการซ้ำ บางรายที่เกิดภาวะแทรกซ้อน แพทย์อาจให้ยาบางชนิดเพื่อบรรเทาอาการร่วม
  • หากอาการไม่ทุเลาหลังใช้ยา การใส่สายผ่านทางจมูกและเข้าไปที่หลอดอาหาร เพื่อวัดสภาพความกรด-ด่างในหลอดอาหาร เพื่อยืนยันความเป็นกรดไหลย้อนร่วม
     

 


หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือทานยาลดกรดควบคู่กันแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจวัดกรดในหลอดอาหาร 24 ชั่วโมง ถ้าเป็นเรื้อรังบ่อยๆ ก็ควรมาพบแพทย์

 

รับชมวิดีโอ: กรดไหลย้อนเรื้อรัง ภัยเงียบที่ควรระวัง