บทความสุขภาพโรงพยาบาลรามคำแหง ก้อนโผล่ คลำพบก้อน มดลูกหย่อน

February 22 / 2024

 

ก้อนโผล่ คลำพบก้อน มดลูกหย่อน

 

พญ.ศรีสุภา เลาห์ภากรณ์

สูติ - นรีเวช ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งวิทยานรีเวช

และการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

 


เรื่องความหย่อนคล้อยไม่ว่าจะช่วงบนหรือล่าง ก็สร้างปัญหาได้เหมือนกัน ในบทนี้จะกล่าวถึงความหย่อนของช่วงล่าง คือ ก้อนโผล่ คลำพบก้อนที่อวัยวะเพศในผู้หญิง อวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือกล้ามเนื้อกระบังลมหย่อน คือ อวัยวะในอุ้งเชิงกราน เช่น มดลูก กระเพาะปัสสาวะลำไส้ (ในรายที่ผ่าตัดมดลูกผนังช่องคลอดด้านบนก็สามารถหย่อนได้เช่นกัน) มีการเคลื่อนตัวลงมาจากตำแหน่งปกติเดิม

 


อาการมีได้ทั้งระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่ออก หรือติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ อาการทางลำไส้ เช่นถ่ายลำบาก ถ่ายไม่สุด กลั้นอุจจาระไม่ได้ อาการอื่นๆเช่น ปวดท้องน้อย ปวดหลัง หน่วงช่องคลอด ปากช่องคลอด เดิน-นั่ง ลำบากจากก้อนที่ยื่น หรือเกิดแผลกดทับ มีเลือดออก แผลติดเชื้อ

 


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุ้งเชิงกรานหย่อน

  • การคลอดเองทางช่องคลอด โดยหากเคยคลอดบุตรทางช่องคลอด 1 ครั้ง จะเพิ่มโอกาสการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนเป็น 2 เท่า
  • มีประวัติคลอดยาก เช่น คลอดทารกตัวใหญ่
  • อายุ โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆ 10 ปี ในช่วงอายุ 20-59 ปี
  • เชื้อชาติ
  • ภาวะอ้วน
  • มีประวัติผ่าตัด ผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน มาก่อน
  • มีภาวะเพิ่มความดันในช่องท้องเรื้อรัง เช่น ท้องผูก ไอเรื้อรัง ยกของหนัก
  • มีประวัติโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

 


ความรุนแรงของโรคภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนแบ่งเป็น 4 ระยะ (แบ่งตามระบบ POP-Q system)
 

  1. ระยะ 0 คือ ไม่พบการหย่อนของอวัยวะอุ้งเชิงกราน
  2. ระยะ I คือ มีอวัยวะหย่อนจากตำแหน่งเดิม แต่อยู่เหนือเยื่อพรมจารีมากกว่า 1 เซนติเมตร
  3. ระยะ II คือ มีอวัยวะหย่อนจากตำแหน่งเดิม และอยู่เหนือเยื่อพรมจารีน้อยกว่า 1 เซนติเมตร
  4. ระยะ III คือ มีอวัยวะหย่อนจากต าแหน่งเดิม และอยู่ตำ่กว่าเยื่อพรมจารีมากกว่า 1 เซนติเมตร
  5. ระยะ IV คือ มีอวัยวะหย่อนทั้งหมดหย่อนจนพ้นเยื่อพรมจารีมาทั้งหมด

 

 

การวัดระยะการหย่อนของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานระบบ POP-Q

 

 

 

การรักษาอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานหย่อน แบ่งเป็น

 

  1. การรักษาแบบไม่ผ่าตัด (Nonsurgical methods)
  • การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน สามารถป้องกันได้มากขึ้น และลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ลดนำ้หนัก รักษาโรคไอเรื้อรัง งดยกของหนัก

 

 

  • การรักษาแบบใส่ห่วงพยุง ในกรณีที่มีโรคประจำตัวเสี่ยงต่อการผ่าตัด หรือคนไข้ไม่ต้องการผ่าตัด

 

 

 

  1. การรักษาด้วยการผ่าตัด (Surgical methods) สามารถผ่าตัดแก้ไขได้ทั้งผ่านทางช่องคลอดทางหน้าท้อง หรือส่องกล้องผ่าตัด

 

 

นัดพบแพทย์คลิก

พญ.ศรีสุภา เลาห์ภากรณ์

สูติ - นรีเวช ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งวิทยานรีเวช

และการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

 

 

แก้ไข

31/08/2565