มะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้โรคเร็ว.. รักษาหายได้

December 13 / 2024

 

 

มะเร็งลำไส้ใหญ่

 

 

 

     "มะเร็งลำไส้ใหญ่" เป็นโรคร้ายที่สามารถรักษาได้หากตรวจพบในระยะแรก การรู้เท่าทันสัญญาณเตือนและการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาด ศูนย์โรคทางเดินอาหารจึงขอร่วมสร้างความเข้าใจในโรคนี้และดูแลสุขภาพให้แข็งแรงไปด้วยกัน

 

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

     มะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่และลำไส้ที่มีการเปลี่ยนแปลงและแบ่งตัวอย่างต่อเนื่องจนไม่สามารถควบคุมได้ กลายเป็นก้อนหรือเนื้องอก ระยะแรกอาจเป็นเพียงแค่ติ่งเนื้องอกเล็ก ๆ เรียกว่า โพลิป (Polyp) แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษาหรือตัดทิ้ง อาจพัฒนากลายเป็นมะเร็ง ที่สามารถลุกลามทะลุผนังลำไส้จนแพร่กระจายต่อไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้

 

 

 

 

มะเร็งลำไส้ใหญ่

 

 

 

 

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่

แม้สาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีบางปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเกิดมะเร็งชนิดนี้ เช่น

 

  • การได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรม พ่อ แม่ หรือญาติพี่น้องและทายาทสายตรง
  • การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
  • การรับสารพิษเข้าสู่ร่างกายและมีการตกค้างที่ลำไส้ มักพบสารพิษในอาหารประเภท ปิ้ง ย่าง อาหารหมักดอง สารเคมีจากผักที่ไม่สะอาด และเนื้อสัตว์แปรรูป
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หรือเนื้อสัตว์สีแดงปริมาณมาก
  • อายุ โดยส่วนใหญ่พบว่ากว่า 90% มักเกิดกับคนที่อายุมากกว่า 50 ขึ้นไป แต่ก็อาจพบได้ในวัยหนุ่มสาวและวัยรุ่น
  • ความอ้วน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น

 

 

 

 

มะเร็งลำไส้ใหญ่

 

 

 

 

"อายุ" หนึ่งความเสี่ยงเกิดมะเร็งสำไส้ใหญ่  

มะเร็งลำไส้ใหญ่มักพบในคนที่มีอายุมากขึ้น โดยร้อยละ 90 เป็นผู้มีอายุมากกว่า 50 ปี ที่เหลือจะพบในอายุน้อยกว่านั้น ที่เป็นอย่างนั้นเพราะยิ่งอายุมากขึ้น 

 

  • เซลล์ผิวลำไส้มีโอกาสแบ่งตัวจนเกิดติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ได้มากกว่าคนอายุน้อย ซึ่งติ่งเนื้อนี้จะค่อย ๆ เติบโตในลำไส้ใหญ่จนกลายเป็นมะเร็งในที่สุด
  • ขณะที่ติ่งเนื้อมีขนาดเล็กมักจะไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ กว่าอาการจะแสดงออก ติ่งเนื้อก็มีขนาดใหญ่มากหรือกลายเป็นมะเร็งไปแล้ว ซึ่งการเกิดติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ก็พบได้ในคนทั่วไป แม่ไมได้มีประวัติคนในครอบครัวหรือมีความเสี่ยงใดมาก่อน

 

 

 

 

 

 

4 ระยะของมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • ระยะที่ 1    ระยะเริ่มลุกลาม โรคมะเร็งยังอยู่ในเยื่อบุลำไส้
  • ระยะที่ 2    โรคมะเร็งทะลุเข้ามาในชั้นกล้ามเนื้อของลำไส้และ/หรือทะลุถึงเยื่อหุ้มลำไส้ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียง
  • ระยะที่ 3    มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง
  • ระยะที่ 4    มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไป หรือลุกลามตามกระแสโลหิตไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น ตับ ปอด กระดูก

 

อาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่อาจไม่แสดงอาการผิดปกติในตอนตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่อาจมีอาการมาก่อน เช่น

 

  • ท้องอืด ท้องผูกหรือท้องเสียสลับท้องผูก
  • มีเลือดปนมาในอุจจาระ มีเลือดออกทางทวารหนัก
  • อุจจาระมีขนาดเล็กหรือบางลง
  • อาการจุกเสียด แน่น หรือปวดท้องบ่อยๆ
  • ซีด อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • อาจคลำได้ก้อนในช่องท้องมักพบด้านขวาตอนล่าง
  • ปวดเบ่งบริเวณทวารหนักคล้ายปวดอุจจาระตลอดเวลา

 

 

 

มะเร็งลำไส้ใหญ่มะเร็งลำไส้ใหญ่มะเร็งลำไส้ใหญ่มะเร็งลำไส้ใหญ่มะเร็งลำไส้ใหญ่มะเร็งลำไส้ใหญ่

 

 

 

 

ใครควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • คนทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้น และไม่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำใส้ใหญ่
  • คนที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ให้เริ่มตรวจก่อนถึงช่วงอายุที่ญาติเป็นมะเร็งอย่างน้อย 10 ปี เช่น พ่อเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่ออายุ 45 ปี ลูกควรตรวจเมื่ออายุ 35 ปี 
  • หากผลการตรวจไม่พบความผิดปกติ แนะนำให้ทำการตรวจซ้ำทุก ๆ 5 ปี

 

การวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • ตรวจอุจจาระหาเลือดที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (Fecal Occult Blood Test) ปีละครั้ง
  • การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ทุก 5 ถึง 10 ปี 
  • การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลายร่วมกับการตรวจสวนแป้งลำไส้ใหญ่ทุก 5 ปี
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยภาพเสมือนจริง (Computed tomography colonoscopy) ทุก 5 ปี ซึ่งปัจจุบันสามารถตรวจพบเนื้องอกที่มีขนาดมากกว่า 9 มม. ได้มากกว่าร้อยละ 90

 

อ่านเพิ่มเติม: ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เฝ้าสังเกตสัญญาณที่ไม่อาจทราบได้ด้วยตัวเอง

 

 

 

มะเร็งลำไส้ใหญ่มะเร็งลำไส้ใหญ่มะเร็งลำไส้ใหญ่

 

 

วิธีลดเสี่ยงของการเกิดมะเร็งสำไส้ใหญ่

     ควรลดอาหารที่มีไขมันสูง ของทอด หยุดสูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราควรปฏิบัติเป็นประจำอยู่แล้ว และเราสามารถทำด้วยตัวเองได้

 

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

     กรณีตรวจพบติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ แพทย์สามารถใช้เครื่องมือตัดติ่งเนื้อผ่านการส่องกล้อง โดยที่ไม่มีแผลใด ๆ แต่หากเกิดมีอาการผิดปกติในคนที่อายุน้อยกว่านั้น สามารถตรวจได้เลยไม่ต้องรอจนถึงอายุ 50 ปี อย่างไรก็ตาม แพทย์ยังสามารถใช้การฉายแสง การทำเคมีบำบัดร่วมกับการประคับประคองอาการตามความเหมาะสม

 

 

อ่านเพิ่มเติม: โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้โรคเร็ว แก้ไขได้ไม่ยากด้วยหลากวิธี

 

 

ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยภาพเสมือนจริง สามารถตรวจพบเนื้องอกที่มีขนาดมากกว่า 9 มม. ได้มากกว่าร้อยละ 90

 

 

แก้ไข

06/11/2565