"พูดไม่ออก บอกไม่ถูก" ระวังเสี่ยงภาวะบกพร่องด้านการสื่อภาษา

December 13 / 2024

 

 

"พูดไม่ออก บอกไม่ถูก คุยไม่รู้เรื่อง" เสี่ยงภาวะเสียการสื่อภาษา

 

 

 

     อะฟาเซีย (Aphasia) เป็นภาวะบกพร่องด้านการสื่อภาษา ซึ่งมักเป็นผลมาจากสมองได้รับความเสียหายจากโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก การได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะหรือความผิดปกติอื่นที่เกิดกับสมองส่วนใช้ภาษา ทำให้มีปัญหาด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา ไม่สามารถโต้ตอบ เข้าใจทั้งด้านการอ่านและการเขียนร่วมด้วย 

 

 

สาเหตุของภาวะสูญเสียการสื่อภาษา

ภาวะเสียการสื่อภาษาเป็นผลมาจากการที่สมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้ภาษาได้รับความเสียหาย อาทิ

 

  • โรคทางสมองเส้นเลือดสมองแตก/ตีบ เนื้องอก ติดเชื้อในสมอง สมองเสื่อม
  • สมองได้รับการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ
  • เคยเข้ารับการผ่าตัดสมอง

 

 

อาการของภาวะสูญเสียการสื่อภาษา

ภาวะสูญเสียการสื่อภาษาในแต่ละคนจะแตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับสมองบริเวณที่ได้รับความเสียหายและระดับความรุนแรงที่เกิด เมื่อเกิดภาวะดังกล่าวจะส่งผลดังต่อไปนี้ 

 

  • พูดไม่ได้ สื่อสารไม่ได้แม้กระทั่งการใช้ภาษากาย
  • ฟังคำพูดไม่เข้าใจ ตอบไม่ตรงคำถาม
  • พูดไม่ชัด
  • การนึกคำพูดลำบาก
  • บอกความต้องการไม่ได้ บอกชื่อสิ่งของที่ใช้ไม่ได้ ลืมชื่อคนในครอบครัว
  • ทำตามคำสั่งไม่ได้
  • พูดตามไม่ได้
  • มีความลำบากในการเคลื่อนไหวอวัยวะในการพูด ปาก ลิ้น ขากรรไกร

 

 

 

ภาวะ aphasia

 

 

 

 

การป้องกันภาวะสูญเสียการสื่อภาษา

เราสามารถป้องกันโอกาสเกิดโรคได้ด้วยการดูแลสุขภาพของสมอง ดังนี้

 

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีโซเดียมและไขมันต่ำ
  • งดการสูบบุหรี่
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสมและเท่าที่จำเป็น
  • ควบคุมระดับความดันโลหิตและไขมันในเลือด
  • ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบการไหลเวียนโลหิต ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  • หากสงสัยว่ามีอาการของหลอดเลือดสมองแตก ควรเข้าพบแพทย์โดยเร็วที่สุด รวมถึงหากมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาอาการเช่นกัน

 

 

 

 

ภาวะ aphasiaภาวะ aphasiaภาวะ aphasiaภาวะ aphasiaภาวะ aphasiaภาวะ aphasia

 

 

 

หากสงสัยว่ามีอาการของภาวะหลอดเลือดสมองแตกและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรเข้าพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อรักษาอาการ

 

 

 

 

แก้ไข

31/08/2565