s “สามี-ภรรยา นักออกกำลังกาย” มาตรวจสุขภาพตามช่วงวัย

“สามี-ภรรยา นักออกกำลังกาย” มาตรวจสุขภาพตามช่วงวัย

February 23 / 2024

 

“สามี-ภรรยา นักออกกำลังกาย” มาตรวจสุขภาพตามช่วงวัยรวมทั้งหัวใจ

คุณหมอตรวจพบความผิดปกติ พร้อมให้หลักการไปปฏิบัติได้ผลดีจริง

 

 

 

 

ตรวจสุขภาพตามช่วงวัยแล้วพบว่า EKG ผิดปกติ

 

 

“คุณนรินทร์ เย็นธนกรณ์” “...ผมพยายามเจาะจงเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพตามช่วงวัยให้ครอบคลุมเรื่องหัวใจ กับมะเร็ง คือตรวจเพิ่มให้ได้มากที่สุดเพราะสิ้นปีนี้อายุถึง 40 และรู้สึกว่าเป็นช่วงที่ร่างกายน่าจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจึงต้องพยายามตรวจเช็คให้ได้มากที่สุดครับ ถ้าเรื่องไหนกังวลเป็นพิเศษก็อาจจะขอตรวจเพิ่ม อย่างคลื่นไฟฟ้าหัวใจเวลาไปตรวจสุขภาพทั่วไปก็ปรากฎว่า EKG มีความผิดปกติเล็กน้อย แต่สุดท้ายก็ได้เห็นว่าควรต้องไปคุยกับหมอหัวใจอยู่ดีไม่อย่างนั้นก็คงรู้สึกหงุดหงิดนิดนึง เพราะในเมื่อผลมันไม่ค่อยดีก็ต้องรีบเคลียร์ ซึ่งพอหมอบอกว่าผลของหัวใจไม่ได้แย่ หรือรุนแรงก็ค่อยไปแก้เรื่องอื่นกัน แต่ก็ใช่ว่าจะปลอดภัย 100 % เพราะว่าถ้าตรวจแล้วเกิดค่าอย่างอื่นไม่ดีก็อาจจะมีผล เราก็ต้องหาทางสร้างสมดุลให้มันดีทุกอย่าง...”


 

หมอหัวใจให้คำอธิบายเรื่องผล EKG เพราะมีสาเหตุ พร้อมให้คำแนะนำ

 

 

พญ.บัณฑิตา พงษ์ตัณฑกุล

แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจ

 

 

“พญ.บัณฑิตา พงษ์ตัณฑกุลแพทย์ผู้ชำนาญการโรคหัวใจ” ประจำ “รพ.รามคำแหง” อธิบายเกี่ยวกับผล EKG ที่ผิดปกติเล็กน้อยนั้นเป็นเพราะมีกล้ามเนื้อหัวใจหนาอันเป็นผลจากความดันโลหิตสูงที่ยังไม่สามารถคุมให้อยู่ในเกณฑ์ได้จึงแนะนำวิธีคุมความดันให้ และจากนั้นคุณหมอได้ให้เข้ารับการทดสอบด้วยการวิ่งสายพานเนื่องจากทั้งความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดสูง กับภาวะน้ำหนักตัวมากเกินไปล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจเส้นเลือดหัวใจตีบ แต่เมื่อดูผลจากการวิ่งสายพานแล้วยังไม่แสดงถึงปัญหาเส้นเลือดหัวใจตีบ คุณหมอจึงได้เน้นให้คุมความดันให้ดีขึ้นเพราะเป็นเรื่องที่มีผลต่อหัวใจมากกว่า ทั้งนี้ได้มีการประเมินองค์ประกอบจำเพาะเรื่อง “น้ำหนักตัว” ว่าน่าจะเหมาะกับการออกกำลังกายประเภทใด แต่ที่น่าจะต้องลองดูกันก่อนคือ “การลดน้ำหนัก” เพราะคุณหมอมองว่าหากน้ำหนักลดลงแล้วค่าทุกอย่างดีขึ้นก็จะได้ไม่ต้องไปทำอะไรอย่างอื่นมากนัก และเริ่มต้นด้วยการลดน้ำหนักโดยจัดให้ “นักกำหนดอาหาร” มาให้คำแนะนำเรื่องอาหารการกินว่าควรเป็นอย่างไร ต้องทานอาหารอย่างไร รวมทั้งปริมาณต่อวัน จากนั้นคุณหมอได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกายว่าจะต้อง “คาร์ดิโอ” คือทำให้หัวใจเต้นในอัตรา 120 ครั้งต่อนาทีวันละประมาณกี่นาที หากเป็นการออกกำลังเพื่อลดน้ำหนักจะต้องใช้เวลาเท่าใดในช่วงเดือนแรกหลังจากที่ไปลองทำครบ 1 เดือนแล้วได้กลับมาติดตามผลพบว่า


 

หลังจากปฏิบัติตามคำแนะนำของหมอหัวใจผลลัพธ์ดีขึ้นทันที

 

“...ผลตรวจค่าเลือดค่าดีขึ้นทุกตัว แม้ว่าอาจจะยังไม่ถึงกับผ่านเกณฑ์แต่ก็เห็นสัญญาณได้ค่อนข้างชัดเจนว่า “คอเลสเตอรอล” ลดลง “ไขมันพอกตับ” ที่มีอยู่ก่อนก็ลดค่า “ไขมันเลว” ก็ลดลงขณะที่ “ความดันโลหิต” ก็ควบคุมได้ดีขึ้น ลดยาได้ก็จะได้ทำอย่างอื่นต่อไป แต่จนถึงทุกวันนี้ก็ยังคงทำแบบเดิมก็คือเน้นเรื่องของการออกกำลังกายแล้วก็ควบคุมอาหารเพราะเห็นชัดเจนว่า เดือนแรกน้ำหนักหายไปประมาณ 4 กิโลจริงๆ แล้วพอผ่านไป 2 เดือนค่าทุกอย่างเกือบจะเป็นปกติหมดแล้ว ยาก็แทบจะลดไปครึ่งๆ เลย และเมื่อนับเวลามา 4 เดือนตั้งแต่เริ่ม โดยส่วนตัวก็รู้สึกได้ว่าการที่เราออกกำลังกายมาทุกเดือนทำให้รู้สึกว่า เวลาเราวิ่ง เดิน อุ้มลูกจะรู้สึกว่าเหนื่อยยากขึ้น วิ่งได้ต่อเนื่องมากขึ้น เดินเร็วได้มากขึ้นต่างจากช่วงเดือนแรกมากเลย ตอนนี้รู้สึกว่าร่างกายเราแข็งแรงขึ้นมากเลยครับ...”

 

 

เมื่อสุขภาพเราดีแล้วก็ชวนคนข้างกายมาออกกำลังด้วย

 

 


ต่อมาก็ได้ชวนภรรยา “คุณสุขฤทัย” ไปออกกำลังกายด้วยเพื่อให้แข็งแรง คือเมื่อก่อนเรา 2 คนเคยวิ่งมาราธอนด้วยกัน จึงรู้สึกว่าถ้าสุขภาพแข็งแรงดีทั้งคู่มันก็เป็นกิจกรรมที่เราทำคู่กันได้ดี พอเขาเห็นผมออกกำลังกายเยอะๆ ก็อยากออกกำลังกายด้วยเพราะอยากจะแข็งแรงเหมือนตอนสมัยก่อนมีลูก...ผมคิดว่าได้คุยกันสื่อสารกันภายในครอบครัวก็เป็นการสร้างแรงจูงใจให้กันและกันได้ ทั้งยังช่วยผลักดันให้ไปได้ด้วยดีทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ผมรู้สึกว่าทุกวันนี้การลดความอ้วนไม่ได้ยากขนาดนั้นและถ้าทุกคนในบ้านเข้าใจก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะเมื่อสุขภาพดีก็จะทำให้อยู่กับลูกไปได้นานๆ แก่ตัวไปลูกก็ไม่ต้องมาดูแลเรา หรือผมกับภรรยาจะไปเที่ยวไหนก็ไม่ต้องพึ่งลูกเพราะร่างกายเราแข็งแรงครับ...”

 

 

ฝากถึงคนที่อยากมีสุขภาพแข็งแรงต้องทำอย่างไร?

 

 

 

“คุณสุขฤทัย” ก่อนหน้านี้ที่ออกกำลังกายมาตลอดทั้งของสามีและเราเป็นการออกแบบที่ว่านึกฮึดขึ้นมาทีก็ทำทีหนึ่ง พอผ่านไปเดือนสองเดือนก็เริ่มหย่อนเริ่มมีเหตุผลโน่นนี่มาทำให้ไม่ไปออกกำลังกายแล้ว แต่รอบนี้ตั้งใจจะออกกำลังกายไม่ให้ตึงนักแต่ก็จะออกตลอดไปโดยจะพยายามออกให้ได้แบบนี้ประมาณนี้ตลอดไป และคิดว่าจะไปทดสอบสมรรถภาพทางร่ายกายด้วย VO2 max ด้วยค่ะ ขอฝากถึงทุกคนที่อาจจะมีลูกแล้วหรือยังไม่มีก็ตาม คือเราใช้ร่างกายมาทุกวันทั้งวันมาตลอดไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ยังใช้ไปเรื่อยๆ ซึ่งถ้าเราเอาแต่ใช้โดยไม่ดูแลสักวันหนึ่งเราก็จะแย่และแก้ไม่ทัน แต่ถ้าเราคอยดูแลคอยเช็ค คอยทบทวนหน่อยว่าช่วงนี้กินอาหารไม่ค่อยดีต่อสุขภาพเยอะไปไหม ออกกำลังกายน้อยไปไหม ก็อยากให้หันมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายใช้ได้ดีๆ และอยู่กับเรานาน ๆ ค่ะ...”

 

 

หมอหัวใจชวนมาเริ่มต้นออกกำลังกายอย่างถูกต้องกันเถอะ

 

“พญ.บัณฑิตา พงษ์ตัณฑกุลแพทย์ผู้ชำนาญการโรคหัวใจ” แนะนำว่า การเริ่มต้นออกกำลังกายอย่างถูกต้องคือการตั้งเป้าหมายว่าต้องการออกกำลังกายเพื่ออะไร เช่น เพื่อสุขภาพแข็งแรง เพื่อลดน้ำหนักรักษารูปร่างเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพให้ดีขึ้นจากโรค โดยควรพิจารณาร่วมกับการควบคุมโรคประจำตัวและการคุมอาหารให้ถูกต้อง เพื่อนำมาวางแผนการออกกำลังกาย โดยอาศัยหลักการ FITT ซึ่งอักษรแต่ละตัวมีความหมายดังนี้คือ

  • F หรือ Frequency คือ ความถี่ในการออกกำลังกายกี่ครั้งต่อสัปดาห์
  • I หรือ Intensity คือ ความหนักในการออกกำลังกายมาก-น้อยเพียงใด
  • T หรือ Time คือ ช่วงเวลาในการออกกำลังกายแต่ละครั้ง
  • T หรือ Type คือ ชนิดของการออกกำลังกาย เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน

การให้ weight/resistance band เหมาะสมจะเกิดความปลอดภัยและเกิดประโยชน์ตามเป้าหมายของการออกกำลังกายอย่างแท้จริงโดยแผนการออกกำลังกายของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับร่างกาย อายุ เพศ โรคประจำตัว น้ำหนัก เป้าหมายของการออกกำลังกาย การประเมินวางแผนตรวจก่อน-หลังการออกกำลังกาย เช่น การเดินสายพาน VO2 max การใช้อุปกรณ์ Gadget ต่างๆ ในการออกกำลังกายซึ่งทั้งหลายเหล่านี้ หมอสามารถแนะนำและปรับเปลี่ยนรายละเอียดของการประเมินที่ได้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของการออกกำลังกายที่ดีต่อสุขภาพมากที่สุดค่ะ...”

 

 

แก้ไข

08/08/2565