กิจกรรมบำบัด กับการพัฒนาการเด็กพิเศษ

December 22 / 2024

กิจกรรมบำบัดเด็กพิเศษ

 

 

 

กิจกรรมบำบัด รักษา-กระตุ้น-ฝึกสมาธิ “เด็กพิเศษ”

     เด็กพิเศษ คือ เด็กที่ต้องการความดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษ ซึ่งจุดมุ่งหมาย หลักของนักกิจกรรมบำบัดคือให้ “กลุ่มเด็กพิเศษ” สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างปกติสุข ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของโครงสร้างหรือสารเคมีบางอย่างของสมองหรือจากพันธุกรรม โดยมิได้มีเหตุจากการเลี้ยงดูของผู้ปกครองแต่อย่างใด ทำให้เด็กเกิดความบกพร่องด้านการพูดสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ร่วมกับมีพฤติกรรมและความสนใจที่ค่อนข้างจำกัด และเป็นแบบแผนซ้ำ ๆ โดยมีอาการที่สังเกตได้ง่าย ๆ ดังนี้

 

วิธีสังเกตเบื้องต้นว่าลูกเป็นเด็กพิเศษหรือไม่

  • อายุ 2 ขวบแล้วแต่ยังไม่เริ่มพูดเป็นคำที่มีความหมายไม่ตอบสนองเมื่อเรียกชื่อ
  • ไม่ทำตามคำสั่ง ไม่ค่อยสบตา
  • มีภาษาเฉพาะตัว หรือจะเรียก “ภาษาต่างดาว”
  • สื่อสารโดยการดึงมือผู้ปกครองให้ทำในสิ่งที่ต้องการ
  • เด็กบางคนอาจเคยพูดเป็นคำได้แล้ว แต่พัฒนาการด้านการพูดมาหยุดชะงักหรือถดถอยในช่วงอายุ 1 ปีครึ่งถึง 2 ปี

 

 

 

อีกทั้งยังมีอะไรอีกหลายอย่างที่คุณพ่อ-คุณแม่รวมถึงผู้ปกครองยังอาจไม่มีความกระจ่างแจ้งพอ จึงอาจส่งผลในเชิงลบต่อพฤติกรรมของบุตร-หลานที่เป็นเด็กกลุ่มนี้

 

 

กลุ่มอาการที่พบบ่อยในเด็กพิเศษ

1.  กลุ่มออทิสติก

     ความสามารถของตัวรับความรู้สึกและกระบวนการนำความรู้สึกไปที่สมอง อาจมีความผิดปกติมากหรือน้อยเกินไปก็ได้โดยเฉพาะในด้านระบบการทรงตัว การรับสัมผัส การรับความรู้สึกจากเอ็นและข้อ ซึ่งเมื่อมีการรับข้อมูลมากเกินไปก็จะเกิดภาวะไวต่อการรับความรู้สึกมากเกินไป จึงแสดงออกในลักษณะ “หลีกหนีต่อสิ่งเร้า” แต่ถ้ามีการรับข้อมูลน้อยเกินไปก็จะเกิดภาวะไวต่อการรับความรู้สึกน้อยเกินไป จึงแสดงออกในลักษณะ “ค้นหาสิ่งเร้ามากขึ้น” ดังนั้น เมื่อเด็กรับความรู้สึกจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเข้ามาซึ่งถือเป็นสิ่งเร้าแล้วพวกเขาไม่สามารถจัดระเบียบของสิ่งเร้านั้นได้ ก็จะส่งผลให้ไม่สามารถตอบสนองออกมาเป็นพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม

 

 

 

กิจกรรมบำบัดเด็ก

 

 

วิธีการดูแลเด็กออทิสติกแบบง่าย ๆ ดังนี้

  • การกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของร่างกาย
  • การกอดลูก ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดและช่วยให้เด็กสงบนิ่งขึ้น และได้รับความอบอุ่นไปพร้อมกัน
  • การฝึกให้เด็กมองสบตาเวลาคุยกันซึ่งควรทำบ่อย ๆ
  • การพูดและเปล่งเสียง สามารถทำได้ด้วยการจัดหาของเล่นแบบที่มีเสียง ทั้งเสียงเบา-เสียงดัง
  • การดมกลิ่น โดยให้รับรู้กลิ่นอาหารและสิ่งต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น กลิ่นเหม็นหรือหอม
  • การรับรสชาติด้วยลิ้น โดยจัดให้เด็กได้ลิ้มลองรสชาติที่หลากหลาย โดยไม่ให้ทานอาหารแบบเดิม ๆ ซ้ำซาก
  • การฝึกให้ช่วยเหลือตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกอบกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ เช่น ล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำ เข้าห้องน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหาร ตลอดไปจนถึงการเข้าห้องน้ำด้วยตนเอง โดยสอนให้น้องรู้จักบอก “อึ-ฉี่” เมื่อปวดและอีกอย่างคือ การแต่งกาย โดยฝึกให้เริ่มจากนุ่งกางเกง ใส่เสื้อยืด แล้วจึงสอนให้กลัดกระดุมหรือตะขอต่อไป
  • การฝึกด้านสังคม เพราะเด็กออทิสติกจะมีปัญหาเรื่องการแยกแยะความแตกต่างระหว่างบุคคล ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงต้องค่อย ๆ สอนว่าแต่ละครอบครัวเป็นใคร ต้องเรียกอย่างไร เพื่อให้เด็กเข้าใจบทบาทของคนในครอบครัว
  • การพูดและเปล่งเสียง เด็กออทิสติกจะมีปัญหาการพูดสื่อสารและการออกเสียง คุณพ่อคุณแม่อาจต้องพาไปพบผู้เชี่ยวชาญเรื่องการออกเสียงจากนั้นค่อยมาฝึกต่อที่บ้าน ฝึกให้น้องเลียนแบบการขยับปากตาม ฝึกดนตรี ศิลปะ หรืออาชาบำบัดก็ได้

 

 

 

 

กิจกรรมบำบัดเด็กกิจกรรมบำบัดเด็กกิจกรรมบำบัดเด็ก

 

 

 

 

 

2.  กลุ่มสมาธิสั้น

     อาการของเด็กในกลุ่มสมาธิสั้นจะเกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็กอายุก่อน 7 ปี ซึ่งหากเป็นแล้วจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ โดยที่เด็กในกลุ่มนี้จะมีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การเรียน การเล่น ขาดสมาธิ ทำให้วอกแวก อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น วู่วาม หรือทำอะไรโดยไม่ทันได้คิด

 

 

วิธีการดูแลเมื่อลูกสมาธิสั้น

การดูแลลูกสมาธิสั้นสำคัญที่สุดซึ่งพ่อแม่ต้องมีทัศนคติต่อเด็กในทางบวก โดยเด็กสมาธิสั้นสามารถรักษาได้ด้วยการผสมผสาน อาทิ

 

  • การรักษาทางยา จะช่วยให้เด็กสมาธิสั้นมีสมาธิดีขึ้น ดูสงบมากขึ้น ซนน้อยลง และควบคุมตัวเองได้มากขึ้น
  • การรักษาทางการศึกษาและการรักษาด้วยกิจกรรมบำบัด พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู สามารถช่วยรักษาเด็กสมาธิสั้นได้มาก โดยจะต้องเรียนรู้วิธีจัดการพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็ก โดยไม่ควรใช้การลงโทษ เพราะนอกจากจะไม่ได้ผลแล้วยังจะส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น

 

 

กิจกรรมบำบัดเด็ก

 

 

 

“ซน” กับ “สมาธิสั้น” ต่างกันอย่างไร?

วิธีสังเกตความแตกต่างระหว่างเด็กซนกับเด็กสมาธิสั้น ดังนี้

 

 

กิจกรรมบำบัดเด็กพิเศษ

 

 

 

แนวทางการรักษาเมื่อลูกสมาธิสั้น

การรักษาทางกิจกรรมบำบัดในเด็กสมาธิสั้น คือการใช้กิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายในการรักษา เพื่อแก้ไขความบกพร่องของเด็ก

 

  • การบูรณาการผสมผสาน การรับความรู้สึก (Sensory Integration) เช่น การกลิ้ง กระโดด กระตุ้นระบบสัมผัส การรับฟัง การมองเห็น
  • การฝึกควบคุมตัวเอง เช่น การร้อยลูกปัด การเดินทรงตัวบนสะพาน
  • การฝึกเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียน เช่น การแก้ไขการรับรู้ทางสายตา ฝึกการเขียน การอ่าน การคำนวณ
  • การฝึกการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน ให้ใกล้เคียงหรือเทียบเท่าเด็กปกติ
  • การปรับสภาพแวดล้อม ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็ก

 

 

กิจกรรมบำบัดเด็กกิจกรรมบำบัดเด็กกิจกรรมบำบัดเด็กกิจกรรมบำบัดเด็กกิจกรรมบำบัดเด็ก

 

 

 

เสริมสร้างสมาธิให้เด็กด้วยกิจกรรมที่เหมาะสม

  • การเสริมสร้างสมาธิให้กับเด็กในเบื้องต้นนั้น คุณพ่อ-คุณแม่ควรเริ่มต้นจากการฝึกฝนให้ลูกทำกิจกรรมง่าย ๆ ให้ลูกได้เรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร อาบน้ำ-ทาแป้ง หยิบของ หรือการติดกระดุมเสื้อผ้า

 

 

กิจกรรมบำบัดเด็ก

 

 

 

  • ฝึกสมาธิลูก ๆ ด้วยกิจกรรรมต่าง ๆ
  • อ่านหนังสือน่ารู้และนิทานแสนสนุก เพราะในขณะที่เด็กกำลังอ่านหนังสือ หรือนิทาน จะเป็นการฝึกการออกเสียงพูด สะกดคำ ทำให้เด็กจดจ่ออยู่กับตัวหนังสือหรือตัวละคร
  • การจัดให้ลูกฟังหรือเล่นดนตรี จะส่งผลดีต่อสมาธิ  เพราะดนตรีจะมีส่วนช่วยให้จิตใจของลูกสงบ ลดความตึงเครียดก่อนเข้าเรียนและหลังเลิกเรียน อาจเปิดเพลงที่ทำนองเบาๆ สบายๆ จะช่วยเสริมสร้างความจำและการเรียนรู้ของเด็กให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

 

กิจกรรมบำบัดเด็กกิจกรรมบำบัดเด็ก

 

 

 

 เด็กพิเศษ คือ เด็กที่ต้องการความดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษ เป็นกลุ่มโรคที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของโครงสร้างหรือสารเคมีบางอย่างของสมองหรือจากพันธุกรรม ทำให้เด็กเกิดความบกพร่องด้านการพูดสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การดูแลลูกสมาธิสั้น สำคัญที่สุดซึ่งพ่อแม่ต้องมีทัศนคติต่อเด็กในทางบวก

 

 

แก้ไข

27/4/2565