ลำไส้แปรปรวน-ท้องผูกสลับท้องเสีย ภาวะปัญหาต่อระบบขับถ่าย

November 09 / 2024

ลำไส้แปรปรวน

 

 

 

     "ลำไส้แปรปรวน" ภาวะที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกสลับท้องเสีย ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการทำงานของระบบขับถ่าย หากละเลยอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงขึ้นได้ มาทำความเข้าใจสาเหตุ อาการ และวิธีดูแลลำไส้ให้แข็งแรงเพื่อชีวิตที่สบายขึ้น

 

โรคลำไส้แปรปรวน

     โรคลำไส้แปรปรวน หรือ ไอบีเอส (IBS) เกิดจากลำไส้ส่วนปลายทำงานผิดปรกติ ได้แก่ ปลายลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กบีบตัวมากเกินไป ทำให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้อง ไม่สบายท้อง มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย ท้องผูก หรือท้องเสีย

 

สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน

 

  • ลำไส้บีบหรือเคลื่อนตัวผิดปรกติ เป็นผลจากการหลั่งสารหรือฮอร์โมนบางชนิดในผนังลำไส้ ซึ่งนำไปสู่อาการปวดท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก
  • ระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นมากผิดปกติ เช่น หลังรับประทานอาหาร โดยทั่วไปลำไส้จะได้รับการกระตุ้นให้บีบตัวหรือเคลื่อนตัวเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แต่ในผู้ป่วยลำไส้แปรปรวนจะตอบสนองมากผิดปกติ  ลำไส้จึงบีบตัวมากขึ้นจนปวดท้อง ท้องเสียหรือท้องผูก  นอกจากนี้ความเครียดหรือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ก็มีส่วนให้เกิดอาการมากขึ้น
  • แกนที่เชื่อมโยงระหว่างประสาทรับความรู้สึกทำงานผิดปรกติ ระบบกล้ามเนื้อของลำไส้และสมอง (Brain – Gut Axis) โดยเกิดจากความผิดปกติของสารที่ควบคุมการทำงานหลายชนิดและทำหน้าที่แตกต่างกัน

 

ลำไส้แปรปรวน

 

 

อาการของลำไส้แปรปรวน

 

  • ปวดท้อง อาจจะปวดตรงกลางหรือปวดบริเวณท้องน้อย โดยทั่วไปจะปวดท้องน้อยด้านซ้ายมากกว่าด้านขวา และมักเป็นแบบปวดเกร็ง
  • แน่นท้อง ท้องอืด โดยไม่สัมพันธ์กับอาหาร
  • หน้าท้องโตขึ้นเหมือนมีลมในท้อง อาจมีอาการเรอ หรือผายลมมากขึ้น
  • ถ่ายอุจจาระไม่ปรกติ บางรายมีอาการท้องผูก ท้องเสีย หรือท้องผูกสลับท้องเสีย บางรายมีความรู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด ปวดเบ่ง แต่เมื่อถ่ายอุจจาระมักเป็นมูก อาการจะดีขึ้น ซึ่งมักเป็น ๆ หาย ๆ มากน้อยสลับกันไป 

 

ลำไส้แปรปรวนลำไส้แปรปรวนลำไส้แปรปรวน

 

 

ปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรคลำไส้แปรปรวน

ลำไส้แปรปรวน (IBS) เป็นโรคเรื้อรัง เนื่องจากร่างกายไวต่อสิ่งกระตุ้นสูงจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

 

  • การแพ้อาหาร อาหารบางประเภทกระตุ้นการเกิดโรคลำไส้แปรปรวน
  • ภาวะเครียดและฮอร์โมน ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคลำไส้แปรปรวนสูงกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนสูง

 

การรักษาโรคลำไส้แปรปรวน

     โรคลำไส้แปรปรวนสามารถบรรเทาอาการลงได้ด้วยแนวทางในการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

 

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยเส้นใย
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยยาก เพื่อลดการเกิดแก๊สในท้อง
  • รับประทานอาหารตรงเวลา ไม่ควรอดอาหาร และไม่ควรรีบรับประทาน
  • ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • รักษาด้วยยาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวด ยาระบาย (ท้องผูก) ยาหยุดถ่าย (ท้องเสีย)

 

ลำไส้แปรปรวนลำไส้แปรปรวนลำไส้แปรปรวนลำไส้แปรปรวน

 

ลำไส้แปรปรวนลำไส้แปรปรวนลำไส้แปรปรวน

 

เพศหญิงมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน จึงมีแนวโน้มที่จะพบโรคลำไส้แปรปรวนได้มากกว่าเพศชาย

 

 

 

 

แก้ไข

29/07/2565