โรคตาขี้เกียจ ภาวะที่พบบ่อยในวัยเด็ก รู้เร็ว รักษาได้

October 31 / 2024

โรคตาขี้เกียจ

 

 

 

     โรคตาขี้เกียจ (Amblyopia) คือ โรคทางตาที่ทำให้ดวงตามองเห็นภาพได้ไม่ชัดเจน หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะส่งผลให้ความสามารถในการมองเห็นลดลงและตาบอดถาวรในอนาคต ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับดวงตาข้างเดียว แต่บางรายอาจพบได้ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งโรคนี้มักจะปรากฏในเด็กอายุไม่เกิน 7 ปี เนื่องจากเป็นช่วงที่มีพัฒนาการทางการมองเห็น

 

 

สาเหตุของโรคตาขี้เกียจ

 

  • กล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวดวงตา ทำงานไม่สมดุลกัน
  • การเบี่ยงเบนสายตามาใช้ตาเพียงข้างใดข้างหนึ่ง เช่น มีการติดเชื้อหรือเป็นต้อกระจกบริเวณตาข้างขวา ทำให้ใช้เพียงตาข้างซ้ายในการมองเห็น
  • มีสายตายาว สั้น หรือเอียงทั้งสองข้างมากเกินไป หรือไม่เท่ากันทั้งสองข้าง
  • ความบกพร่องของอวัยวะรับภาพ หรือแปลผลภาพ เช่น เส้นประสาทตาฝ่อ แผลบริเวณจุดรับภาพในจอตา และการเสียหายของสมองส่วนที่แปลภาพจากการขาดออกซิเจน

 

 

อาการของโรคตาขี้เกียจ

     โรคนี้ค่อนข้างสังเกตได้ยาก และตัวเด็กเองก็อาจไม่ทราบว่าเกิดอาการกับดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรือไม่ ยกเว้นในกรณีที่มองเห็นความผิดปกติจากดวงตาได้ชัดเจน ผู้ป่วยมักมีอาการ ดังนี้

 

  • การมองเห็นของดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างแย่ลง
  • มีอาการตาเหล่ ต้องเอียงศีรษะหรือปิดตาไว้ข้างหนึ่ง เพื่อให้มองเห็นได้ชัด
  • การกะระยะหรือวัดความห่างระหว่างวัตถุกับสิ่งอื่นๆ ทำได้ยาก
  • ดวงตาเบนเข้าด้านในหรือออกด้านนอก
  • ปวดศีรษะ

 

 

โรคตาขี้เกียจโรคตาขี้เกียจโรคตาขี้เกียจโรคตาขี้เกียจโรคตาขี้เกียจ

 

 

การรักษาโรคตาขี้เกียจ

 

แนวทางในการรักษาจะรักษาความผิดปกติที่เป็นต้นเหตุ การกระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้งานดวงตาข้างที่มีปัญหาตาขี้เกียจ เพื่อช่วยให้สมองทำงานประสานกับดวงตาข้างที่มีตาขี้เกียจให้มากขึ้นและอาจใช้หลายวิธีควบคู่กัน ดังนี้

 

  • สวมแว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ ช่วยแก้ไขปัญหาสายตาของผู้ป่วยที่มีความต่างระหว่างสายตา ทั้ง 2 ข้างมาก จึงทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนและสั่งการสมองให้ทำงานประสานกับดวงตาข้างที่มีปัญหาตาขี้เกียจมากขึ้น เพื่อพัฒนาสายตาทั้ง 2 ข้างให้มีการทำงานเท่ากันและเป็นไปตามปกติ
  • ใส่ที่ครอบตา แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยสวมที่ครอบตากับดวงตาข้างที่ปกติเป็นระยะเวลาประมาณ 2-6 ชั่วโมงต่อวันในช่วงเวลาที่มีการใช้งานดวงตา เพื่อให้มีการใช้งานดวงตาข้างที่มีปัญหาตาขี้เกียจ โดยอาจต้องสวมที่ครอบตาไว้ติดต่อกันนานเป็นสัปดาห์ไปจนถึงเป็นปีตามสถานการณ์ของแต่ละคน
  • ใช้ยาหยอดตา เป็นยาหยอดตาที่มีส่วนประกอบของสารอะโทรปีน หยอดลงในตาข้างที่ปกติสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อทำให้เกิดอาการมัวชั่วคราว และกระตุ้นให้ดวงตาข้างที่มีปัญหาตาขี้เกียจใช้งานมากขึ้น แต่อาจส่งผลให้ดวงตามีความไวต่อแสงมากขึ้น
  • การผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุตาขี้เกียจจากตาเข หรือตาเหล่ หนังตาตก และการรักษาในวิธีข้างต้นไม่ได้ช่วยให้ตำแหน่งของดวงตากลับมาเป็นปกติ แพทย์อาจแนะนำให้มีการผ่าตัดกล้ามเนื้อดวงตาเพื่อให้ทำงานได้เป็นปกติมากขึ้น

 

 

 

โรคตาขี้เกียจโรคตาขี้เกียจโรคตาขี้เกียจ

 

 

โรคตาขี้เกียจ คือ โรคที่ทำให้ดวงตามองเห็นภาพได้ไม่ชัดเจน หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะส่งผลให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง และตาบอดถาวรในอนาคต ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับดวงตาข้างเดียว มักจะปรากฏในเด็กอายุไม่เกิน 7 ปี เนื่องจากเป็นช่วงที่มีพัฒนาการทางการมองเห็น

 

 

แก้ไข

10/08/2565