การตรวจพิเศษทางรังสีในระบบทางเดินปัสสาวะ

December 10 / 2024

 

 

 

การตรวจพิเศษทางรังสี ของระบบทางเดินปัสสาวะ

 

 

ตรวจทางรังสี

 

 

 

IVP (Intravenous Phylogram) 

     IVP (Intravenous Phylogram) เป็นการตรวจพิเศษทางรังสีวิทยาในระบบทางเดินปัสสาวะ เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับระบบทางเดินปัสสาวะ โดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าทางเส้นเลือดดำเพื่อดูการทำงานของไต ท่อไตและกระเพาะปัสสาวะ เช่น นิ่ว ก่อนให้สารขับออกทางไต จากนั้นทำการถ่ายภาพเอกซ์เรย์เป็นระยะ ๆ ตามที่แพทย์สั่ง

 

 

 

ตรวจทางรังสีตรวจทางรังสี

 

 

 

การเตรียมตัวก่อนการตรวจพิเศษทางรังสี (สำหรับผู้ป่วย)

  • รับประทานอาหารอ่อน ๆ ประเภทโจ๊ก หรือข้าวต้มในมื้อเย็นของวันก่อนตรวจ
  • การตรวจในบางกรณีอาจต้องรับประทานยาระบายในคืนวันก่อนตรวจ
  • งดน้ำ,อาหารอย่างน้อย 6 ชม. ก่อนตรวจ
  • กรณีที่ผู้ป่วยเคยมีอาการแพ้ยา และ/หรืออาหารทะเล โรคหอบหืด ภูมิแพ้ โรคหัวใจ หรือโรคประจำตัวกรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ
  • กรณีที่ผู้ป่วยมีประวัติการแพ้ยา แพ้อาหารทะเล โรคภูมิแพ้ หอบหืด รังสีแพทย์หรือแพทย์เจ้าของไข้ลงความเห็นว่าจำเป็นต้องตรวจ แพทย์จะมีการให้ยาป้องกันการแพ้สารทึบรังสีให้ก่อนตรวจ

 

 

การเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนการตรวจพิเศษทางรังสี 

(สำหรับเจ้าหน้าที่คลินิกที่ส่งตรวจรังสี)

 

  • ต้องเตรียมผล BUN / Creatinine / GFR ให้พร้อมก่อนถึงวันตรวจซึ่งผู้ป่วยที่ตรวจ IVP นี้จะต้องมีผลการตรวจที่แสดงค่าการทำงานของไต BUN / Creatinine / GFR ภายใน 3 เดือนในผู้ป่วยปกติ แต่ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับไต จะต้องมีผลการตรวจค่าการทำงานของไตภายใน 7 วัน

 

 

ขั้นตอนการตรวจพิเศษทางรังสี

  • ผู้ป่วยหรือญาติจะได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทั้งหมดจากเจ้าหน้าที่และลงชื่อในใบแสดงความจำนงและยินยอมในการใช้สารทึบรังสีที่ทางโรงพยาบาลได้เตรียมไว้
  • เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นของโรงพยาบาลและถอดเครื่องประดับที่มีส่วนของโลหะออกให้หมด พร้อมกับฝากญาติไว้

 

 

วิธีการตรวจพิเศษทางรังสี

  • ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียงเอกซ์เรย์และถ่ายภาพเอกซ์เรย์ภาพแรก เพื่อดูว่ามีอุจจาระค้างอยู่ในลำไส้หรือไม่ หากมีค้างมากซึ่งจะรบกวนการแปลผล อาจต้องมีการสวนอุจจาระหรือเลื่อนนัดเพื่อเตรียมตัวใหม่
  • แพทย์/พยาบาลจะฉีดสารทึบรังสีเข้าทางเส้นเลือดดำ และจะมีการสังเกตอาการ พร้อมทั้งดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
  • เมื่อมีอาการผิดปกติขณะทำการตรวจ ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที
  • นักรังสีเทคนิคจะทำการถ่ายภาพ เอกซ์เรย์ ภายหลังจากการฉีดสารทึบรังสีเรียบร้อยแล้วเป็นระยะๆ ได้แก่ 5 นาที 10 นาที 30 นาที ตั้งแต่เริ่มฉีดสารทึบรังสี หรือตามที่แพทย์เห็นสมควร และรอให้ผู้ป่วยปวดปัสสาวะมากๆ (ต้องอั้นปัสสาวะ)
  • เมื่อผู้ป่วยปวดปัสสาวะเต็มที่ นักรังสีเทคนิคจะถ่ายภาพเอกซ์เรย์อีก 1 รูป จากนั้นจึงให้ผู้ป่วยปัสสาวะทิ้งได้
  • เมื่อผู้ป่วยปัสสาวะเรียบร้อยแล้ว นักรังสีเทคนิคจะทำการถ่ายภาพเอกซ์เรย์ อีก 1 รูปจึงจะจบสิ้นกระบวนการตรวจ

 

 

 

 

   ตรวจพิเศษทางเดินปัสสาวะ

 

 

หลังการตรวจพิเศษทางรังสี

  • ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ตามปกติ
  • ผู้ป่วยควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้สารทึบรังสีที่ฉีดเข้าไปไม่ตกค้างหรือถูกดูดซึมไว้ในร่างกาย แต่จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ

 

 

ระยะเวลาในการตรวจพิเศษทางรังสี  45 นาที - 1 ชั่วโมง

     ทางแผนกเอกซ์เรย์ มีมาตรการการป้องกันและมีเครื่องมือที่จำเป็นในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่อาจจะเกิดอาการแพ้สารทึบรังสี ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย