โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia) โรคฮิตที่ไม่ควรมองข้าม

December 13 / 2024

 

 

 

โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia) 

 

 

 

 

 

     โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia) เกิดจากการอักเสบหรือระคายเคืองบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะอาหาร ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยหากประเภทเฉียบพลันสามารถหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ หากมีอาการบ่อยครั้งเป็นเวลานานจะเกิดการอักเสบเรื้อรังจนเกิดแผล

 

ชนิดของโรคกระเพาะอาหาร

  • กลุ่มโรคกระเพาะอาหารชนิดที่ไม่มีแผล เป็นกลุ่มที่พบบ่อยมากสุด โดยมีสาเหตุมาจากการทำงานที่ผิดปกติ เช่น การบีบตัวของกระเพาะกับลำไส้ที่ทำงานไม่ประสานกัน หรืออาจเกิดจากสภาพกรดในกระเพาะที่มีมากเกินไป แต่ไม่ทำให้เกิดแผล
  • กลุ่มที่พบสาเหตุความผิดปกติของกระเพาะอาหาร เช่น เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น จากการติดเชื้อแบคทีเรียเอช. ไพโลไร
  • กลุ่มความผิดปกติจากโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร พบได้น้อยมากประมาณ 2% ของผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้อง ซึ่งสงสัยว่าเป็นโรคกระเพาะอาหาร

 

 

 

โรคกระเพาะอาหาร รักษา

 

 

 

โรคกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร

     สาเหตุหลักเกิดจากการกรดในกระเพาะอาหารที่หลั่งออกมามากกว่าปกติจนทำลายเยื่อบุกระเพาะ ซึ่งเยื่อบุกระเพาะอาหารต้านทานกรดได้ไม่ดี รวมทั้งปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องจึงเกิดโรคบ่อย

 

ปัจจัยที่ก่อเกิดโรคกระเพาะอาหาร

  • ภาวะเครียด วิตกกังวลจากการใช้ชีวิตที่เร่งรีบหรือจากสังคมในการทำงาน
  • การติดเชื้อเอช. ไพโลไร” (H. Pylori)
  • อุปนิสัยการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น การรับประทานอาหารอย่างเร่งรีบ รับประทานไม่ตรงเวลา และการอดอาหาร
  • การรับประทานสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะและลำไส้ เช่น เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม รับประทานอาหารที่มีรสจัดเป็นประจำ เช่น รสเผ็ดจัด รสเปรี้ยวจัด
  • การทานรับประทานยาบางประเภท เช่น แอสไพริน ยาแก้ปวดบางชนิด
  • การสูบบุหรี่ จะเป็นการเพิ่มโอกาสของการเป็นแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น

 

 

 

 

โรคกระเพาะอาหาร รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษา

 

 

 

อาการของโรคกระเพาะอาหาร

  • รู้สึกปวดท้องแบบเฉียบพลัน จุกแสบ จุกแน่น บริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือช่องท้องส่วนบนเหนือสะดือแบบเป็นๆ หาย ๆ เรื้อรัง
  • อาจคลื่นไส้ร่วมเรอเปรี้ยว เวลาปวดมักจะสัมพันธ์กับมื้ออาหารทั้งเวลาก่อนรับประทานอาหารหรือหลังรับประทานอาหารใหม่ๆ และเวลาท้องว่าง เหมือนที่มักได้ยินกันบ่อยๆ ว่า “หิวก็ปวด อิ่มก็ปวด”
  • มีอาการอิ่มเร็ว รับประทานอาหารได้ไม่มากและไม่อยากอาหาร

 

 

 

โรคกระเพาะอาหาร รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษา

 

 

การรักษาโรคกระเพาะอาหาร

     เมื่อทราบว่าผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารมาจากสาเหตุใด แพทย์สามารถประเมินการรักษาที่เหมาะสม โดยวิธีการรักษาจะมี 2 วิธีหลัก ได้แก่

 

  • การรักษาด้วยยา แพทย์จะรักษาผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบตามอาการและสาเหตุ กรณีที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบจากการติดเชื้อ เอช.ไพโลไร แพทย์ก็จะทำการรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยในการฆ่าเชื้อ หรือจากสาเหตุอื่นๆ แพทย์จะรักษาตามอาการ และให้ยาลดกรด เพื่อช่วยให้เกิดการหลั่งกรดและรักษาแผลที่เกิดในกระเพาะอาหาร
  • ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต เช่น ล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหาร รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุก การรับประทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่อดอาหาร เลี่ยงการรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด รสเปรี้ยวจัด และสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะและลำไส้ หลีกเลี่ยงความเครียด นอนหลับให้เพียงพอ เป็นต้น

 

อ่านเพิ่มเติม: ตรวจหาเชื้อ H.pylori ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร

 

 

 

 

โรคกระเพาะาอาหาร รักษาโรคกระเพาะาอาหาร รักษา

 

 

โรคกระเพาะอาหารมักเป็นโรคเรื้อรัง เมื่อหายแล้วยังมีโอกาสเป็นซ้ำ หากไม่รักษาอย่างถูกวิธีและปรับการใช้ชีวิตถูกต้อง

 

แก้ไข

04/03/2565