โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบผู้สูงอายุ

December 18 / 2024

กระดูกพรุน

 

 

     โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคที่ความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดน้อยลงจนทำให้กระดูกเสื่อม เปราะบาง และมีโอกาสแตกหักได้ง่าย ในผู้ป่วยบางรายกระดูกพรุนมีผลให้ส่วนสูงลดลง เนื่องจากมวลกระดูกผุกร่อน ผลจากโรคกระดูกพรุนคือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก เนื่องจากกระดูกสามารถรับน้ำหนัก แรงกระแทก หรือแรงกดได้ลดลง 

 

 

กระดูกพรุนกระดูกพรุน

 

 

สาเหตุของโรคกระดูกพรุน

     กระดูกประกอบด้วยเซลล์สร้างกระดูก (Osteoblast) ทำหน้าที่สร้างกระดูกขึ้นมาใหม่จากแคลเซียมและโปรตีนตามกระบวนการการเจริญเติบโตของร่างกายและช่วยทดแทนกระดูกส่วนที่สึกหรอ และภายในกระดูกยังมีเซลล์สลายกระดูก (Osteoclast) ทำหน้าที่สลายเนื้อกระดูกเก่า โรคกระดูกพรุนเกิดจากการทำงานที่ไม่สมดุลกันของเซลล์กระดูกทั้ง 2 ชนิดจึงทำให้มีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูกเกิดขึ้น

 

 

อาการของโรคกระดูกพรุน

     ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมักจะทราบว่าตนป่วยเมื่อมีอาการแสดงไปแล้ว และยังมีอาการบ่งชี้อื่น ๆ ที่ควรใส่ใจสังเกต เพื่อให้สามารถรักษาได้ทันการณ์ ดังนี้

 

  • กระดูกข้อมือ แขน สะโพก และกระดูกสันหลังแตกหักได้ง่าย แม้ถูกกระแทกแบบไม่รุนแรง
  • หลังค่อม หรือกระดูกสันหลังส่วนบนโค้งลง
  • ความสูงลดลง
  • อาจมีอาการปวดหลังเรื้อรังด้วย

 

 

กระดูกพรุนกระดูกพรุนกระดูกพรุน

 

 

 

ปัจจัยเสี่ยงร่วมที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน

  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
  • ชาวผิวขาว หรือเชื้อชาติชาวเอเชีย
  • ขาดวิตามินดี หรือแคลเซียม
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ
  • สูบบุหรี่
  • น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากโหมออกกำลังกายหรืออดอาหาร
  • ใช้ยาสเตียรอยด์เกินขนาด
  • ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น โรคต่อมไทรอยด์
  • เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคตับ โรคทางเดินอาหารผิดปกติ

 

อ่านเพิ่มเติม: “กระดูกพรุน” หรือไม่ รู้ได้จากการ “ตรวจมวลกระดูก”

 

การรักษาโรคกระดูกพรุน

การรักษาทางยา มียาหลายชนิดที่ใช้รักษาโรคกระดูกบาง โดยเฉพาะหญิงวัยทอง กลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน ได้แก่

 

  • ฮอร์โมนเอสโตรเจนมักให้ในกลุ่มผู้ป่วยตัดรังไข่ หรือ เพื่อลดอาการจากการหมดประจำเดือน
  • SERM (selective estrogen receptor modulators) เป็นยาที่สังเคราะห์ขึ้นคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งเต้านม สามารถลดการสูญเสียมวลกระดูก และลดอุบัติการณ์ของกระดูกเปราะหักได้
  • แคสซิโนติน (Calcitonin) เป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่สกัดจากปลาแซลมอน ช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก และลดอุบัติการณ์กระดูกสันหลังหัก มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้
  • บิสฟอสพอเนต (Bisphosphonates) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสลายกระดูก ช่วยลดความเสี่ยงต่อกระดูกสันหลังหักยุบ และกระดูกสะโพกหักได้
  • ฮอร์โมนพาราไธรอยด์ ในผู้ป่วยที่กระดูกพรุนรุนแรง หรือไม่ตอบสนองต่อยากลุ่มอื่น

 

การรักษาโดยการผ่าตัด

     เพื่อแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากภาวะกระดูกหัก เช่น การฉีดซีเมนต์ ที่กระดูกสันหลัง ในรายที่กระดูกสันหลังหัก ยุบ หรือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในรายที่กระดูกสะโพกหัก สิ่งที่ทำให้ทราบได้ว่ากระดูกมีการเสื่อมสภาพหรือไม่คือการปรึกษาแพทย์เพื่อซักประวัติ เอกซเรย์ ตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกและหากพบความผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลที่ถูกต้อง

 

 

การป้องกันโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนสามารถลดความเสี่ยงได้โดยการดูแลสุขภาพและบำรุงกระดูก ได้แก่

 

  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน และมีค่าความเป็นกรดสูง
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • ระมัดระวังการใช้ยา โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์ที่ต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลา

 

อ่านเพิ่มเติม: เช็กด่วน!!!...วัยทองก่อน "กระดูกพรุน"

 

 

กระดูกพรุนกระดูกพรุนกระดูกพรุนกระดูกพรุน

 

 

สิ่งที่จะทำให้ทราบได้ว่ากระดูกมีการเสื่อมสภาพหรือไม่ ทำได้โดยการปรึกษาแพทย์เพื่อซักประวัติ เอกซเรย์ ตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก หากพบความผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลที่ถูกต้อง

 

 

 

แก้ไข

29/07/2565