s โรคทอนซิลอักเสบ โรคเกี่ยวกับคอที่ต้องคอยดูแลและใส่ใจ

โรคทอนซิลอักเสบ โรคเกี่ยวกับคอที่ต้องคอยดูแลและใส่ใจ

January 08 / 2024

 

 

โรคทอนซิลอักเสบ โรคของคอที่ต้องใส่ใจ

 

ทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) โรคที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อบริเวณทอนซิลซึ่งเป็นต่อมคู่ข้างซ้ายและขวาที่อยู่บริเวณด้านข้างของลำคอ ทำหน้าที่ช่วยปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคที่ผ่านเข้าลำคอหรือทางการหายใจ แต่บางทีต่อมทอนซิลนี้ก็ติดเชื้อเสียเอง โดยอาจทำให้มีอาการหลักคือต่อมทอนซิลบวมแดง เจ็บคอ กลืนลำบาก มีไข้ เสียงเปลี่ยนและมีกลิ่นปาก

 

 

 

 

 

อาการต่อมทอนซิลอักเสบ

 

สังเกตอาการหรือสัญญาณเตือนของโรคต่อมทอนซิลอักเสบ ผู้ป่วยมักมีอาการแสดง ดังนี้

  • ต่อมทอนซิลบวมแดง กดแล้วเจ็บ
  • กลืนอาหารลำบาก เจ็บคอเวลากลืน
  • ปวดศีรษะ
  • มีไข้ หนาวสั่น
  • เสียงแหบหรือเสียงเปลี่ยน เนื่องมาจากภาวะต่อมทอนซิลโต
  • มีกลิ่นปาก
  • คลำได้ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม โต กดเจ็บได้
  • ปวดร้าวที่หู
  • อาจมีอาการอาเจียนหลังรับประทานอาหาร

 

สาเหตุของทอนซิลอักเสบ

 

การติดเชื้อที่ต่อมทอนซิลเกิดจากไวรัสหรือแบคทีเรียที่ผ่านเข้าทางปาก โดยต่อมทอนซิลจะช่วยป้องกันการติดเชื้อด้วยการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวออกมาต่อสู้กับเชื้อโรค และเนื่องจากเป็นภูมิคุ้มกันด่านแรก ต่อมทอนซิลจึงเป็นอวัยวะที่เสี่ยงต่อการอักเสบและติดเชื้อได้เช่นกัน

 

การดูแลตนเองเมื่อเป็นต่อมทอนซิลอักเสบ

 

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้คอชุ่มชื้น
  • รับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม และดื่มเครื่องดื่มที่ช่วยให้สบายคอ เช่น น้ำอุ่น ชาที่ปราศจากคาเฟอีน น้ำอุ่นผสมน้ำผึ้ง หรือไอศกรีมแท่ง
  • กลั้วปากด้วยน้ำเกลือ สามารถทำได้เองที่บ้าน ใช้เกลือ 1 ช้อนชาผสมน้ำเปล่าประมาณ 250 มิลลิลิตร กลั้วลำคอแล้วบ้วนทิ้ง จะช่วยให้บรรเทาอาการเจ็บคอลงได้
  • รักษาความชุ่มชื้นของบ้าน หลีกเลี่ยงอากาศแห้งเนื่องจากจะส่งผลให้ระคายเคืองที่คอและเจ็บคอยิ่งขึ้น 
  • เด็กที่อายุมากกว่า 4 ปีขึ้นไปอาจอมยาอมเพื่อบรรเทาอาการระคายคอ
  • หลีกเลี่ยงสารที่ก่อความระคายเคืองที่คอ เช่น ควันบุหรี่ และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั้งหลาย

 

การรักษาต่อมทอนซิลอักเสบ

 

การรักษาภาวะต่อมทอนซิลอักเสบ แพทย์จะตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาตามอาการ หากมีอาการอักเสบไม่มาก เจ็บคอเล็กน้อย ไม่มีไข้ อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา ในผู้ป่วยที่มีอาการมากแพทย์จะวินิจฉัยให้รักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ

 

  • การรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น การให้ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ ยาลดน้ำมูก หรือลดไข้ ให้ยาแก้อักเสบเพื่อกำจัดเชื้อที่เป็นสาเหตุ ถ้าการอักเสบนั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งโดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคต่อมทอนซิลอักเสบ จะมีอาการดีขึ้นในช่วง 3-7 วันหลังเข้ารับการรักษา

 

  • การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด กรณีที่การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะไม่ได้ผล เกิดภาวะแทรกซ้อนมีภาวะต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง อาจจะต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัด ตัดต่อมทอนซิล ซึ่งการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดจะช่วยให้อาการต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังหายเป็นปกติได้ โดยหากพบว่าภายใน 1 ปีมีอาการทอนซิลอักเสบมากกว่า 7 ครั้ง ควรปรึกษาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และรักษาอย่างถูกต้องเพราะต่อมทอนซิลที่เกิดการอักเสบ จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพในการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาจส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงได้

 

 

 

 

นัดพบแพทย์

พญ. ธัญรดา เลี่ยมเส้ง

หู คอ จมูก