โรคแพนิค ภัยร้ายทำลายสุขภาพจิต

December 03 / 2024

 

 

 

เข้าใจกับโรคแพนิค

 

 

 

 

     โรคแพนิค (Panic Disorder) คือภาวะความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมองและระบบประสาทอัตโนมัติให้ไวต่อสิ่งเร้ามากกว่าปกติ เมื่อป่วยจึงรู้สึกตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไร้เหตุผลหรือหาสาเหตุไม่ได้ ซึ่งโรคนี้ต่างจากอาการหวาดกลัวหรือกังวลทั่วไป เนื่องจากผู้ป่วยจะเกิดอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรงตลอดเวลา แม้ไม่ได้เผชิญหน้าหรือตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย 

 

 

โรคแพนิค

 

 

สาเหตุของโรคแพนิค

ปัจจัยทางกายภาพ 

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม หากบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลทางสายเลือดที่ใกล้ชิดซึ่งมีประวัติป่วยเป็นโรคแพนิคหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นก็เสี่ยงป่วยเป็นโรคแพนิค
  • ความผิดปกติของสมอง หากสารสื่อประสาทในสมองไม่สมดุล ก็อาจเกิดอาการแพนิคได้
  • การได้รับสารเคมีต่าง ๆ หากได้รับสารเสพติด ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีนหรือสูบบุหรี่ก็มีโอกาสที่ระบบประสาทและสมองได้รับความเสียหาย

 

ปัจจัยทางสุขภาพจิต

  • เหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นในชีวิตส่งผลให้เกิดโรคแพนิคได้ โดยเฉพาะการสูญเสีย พลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รักซึ่งล้วนทำให้ผู้ป่วยตื่นตระหนกอย่างรุนแรง หากอาการต่อเนื่องยาวนานเป็นปีก็สามารถป่วยเป็นโรคแพนิคได้

 

 

อาการของโรคแพนิค

     โรคแพนิคมักเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เมื่อแสดงอาการย่อมรุนแรงกว่าภาวะเครียดทั่วไป โดยมักเกิดขึ้น 10-20 นาทีหรือยาวนานเป็นชั่วโมง โดยทั่วไปมักปรากฏในหลากอาการ ดังนี้

 

  • หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนขาดอากาศ
  • หวาดกลัวอย่างรุนแรงจนร่างกายขยับไม่ได้
  • เวียนศีรษะหรือรู้สึกคลื่นไส้
  • เหงื่อออกและมือเท้าสั่น
  • รู้สึกหอบและเจ็บหน้าอก
  • วิตกกังวลหรือหวาดกลัวว่าจะตาย รวมทั้งรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตได้
  • หวาดกลัวและพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่หรือสถานการณ์อันตรายที่ทำให้รู้สึกหวาดกลัวในอดีต

 

 

 

โรคแพนิค

 

 

การรักษาโรคแพนิค

     โรคแพนิครักษาได้ด้วยการตรวจเลือดหาสาเหตุที่เกิดทางด้านร่างกายร่วมรับประทานยาเพื่อปรับสมดุลของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ หลังจากนั้นจึงให้ผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดทางจิตใจควบคู่ เพื่อปรับแนวคิด พฤติกรรม และสร้างความเข้าใจแก่บุคคลใกล้ชิดให้ผู้ป่วยได้ก้าวผ่าน 

 

 


การฝึกการหายใจเพื่อควบคุมสติ เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยลดความเครียดความวิตกกังวล ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข