โรคไตเรื้อรัง เป็นสภาวะที่ไตถูกทำลาย - โรงพยาบาลรามคำแหง

January 11 / 2024

      

 

โรคไตเรื้อรัง

 

 

โรคไตเรื้อรัง คือ สภาวะที่ไตถูกทำลาย มีผลทำให้ความสามารถของไตในการทำงานลดลง เช่น การรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย การควบคุมน้ำและแร่ธาตุต่างๆ ในเลือด การกำจัดของเสียออกจากเลือด การกำจัดยาและพิษออกจากร่างกาย การหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด เป็นต้น

 

 

สาเหตุของโรตไตเรื้อรัง

 

1. จากพันธุกรรม โดยอาจเป็นมาตั้งแต่กำเนิดหรือค่อยๆ แสดงอาการในภายหลังก็ได้ เช่น โรคถุงน้ำที่ไต

2. เกิดจากโรคอื่นที่มีผลกระทบกับไต เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น

3. การทานอาหารรสจัดไม่ใช่เพียงแค่รสเค็ม รวมไปถึงหวานจัด หรือเผ็ดจัดด้วยเช่นกัน 

4. ไตอักเสบ

5. โรคแพ้ภูมิตัวเอง

6. นิ่ว

7. ไวรัส , มะเร็ง

 

 

 

 

อาการของโรคไตเรื้อรัง

 

ผู้ที่เริ่มมีอาการของโรคไต ในช่วงแรกแทบไม่มีสัญญาณเตือน โดยอาการมักจะปรากฏในช่วงระยะท้ายๆ เมื่อไตได้รับความเสียหายไปมากแล้ว ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคไตมักจะมีอาการต่างๆ เหล่านี้

 

  • ปัสสาวะเป็นเลือด ปกติแล้วปัสสาวะจะมีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลืองเข้ม ขึ้นอยู่กับปริมาณการดื่มน้ำในขณะนั้น แต่ถ้าพบว่าปัสสาวะมีเลือดปน อาจจะเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรืออาจเกิดเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

 

  • ปัสสาวะเป็นฟอง เกิดจากการมีโปรตีนไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ซึ่งมักเป็นอาการของภาวะโรคไตเรื้อรัง

 

  • ปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ ผู้ที่ไตมีความผิดปกติ เช่น โรคไตเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถดูดน้ำกลับเก็บในกระเพาะปัสสาวะได้ปกติ จึงทำให้ต้องปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ

 

  • มีอาการบวมของหน้าและเท้า

 

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ขาดสมาธิ

 

  • บางรายน้ำหนักลด แต่บางรายผู้ป่วยอาจจะตัวบวม น้ำหนักขึ้นก็ได้

 

  • ผิวหนังจะซีด คัน มีจ้ำเลือดขึ้นง่าย

 

  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้

 

  • ปากขม ไม่สามารถรับรสอาหารได้

 

โรคไตเรื้อรังมีกี่ระยะ?

โรคไตเรื้อรังแบ่งออกเป็น 5 ระยะ 

 

ระยะที่ 1 เป็นระยะที่ไตเริ่มเสื่อม (มีโปรตีนในปัสสาวะ) ค่าการทำงานของไต หรือ ค่า GFR ปกติ ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 90 หรือมากกว่า

 

ระยะที่ 2 ไตเสื่อม ค่าการทำงานของไต หรือ ค่า GFR ลดลงเล็กน้อย ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 60-89

 

ระยะที่ 3  ค่าการทำงานของไต หรือ ค่า GFR ลดลงปานกลางซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 30-59

 

ระยะที่ 4 ค่าการทำงานของไต หรือ ค่า GFR ลดลงมาก ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ  15-29

 

ระยะที่ 5 เข้าสู่ภาวะไตวาย ค่าการทำงานของไต หรือ ค่า GFR น้อยกว่า 15 ค่า eGFR (estimated Glomerular Fitration Rate) คือปริมาณเลือดที่ไหลผ่านตัวกรองของไตในหนึ่งนาที (มล/นาที/1.73 ตร.ม.)

 

 

 

การรักษาโรคไตเรื้อรัง


1. การรักษาเพื่อชะลอการเสื่อมของไต

 

  • ควบคุมโรคประจำตัวให้ดี ได้แก่ คุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้ดี
  • การควบคุมอาหาร ลดทานอาหารเค็ม รับประทานอาหารโปรตีนให้เหมาะสม ได้รับพลังงานที่เพียงพอ
  • การรักษาด้วยยา เช่น ยาลดการดูดซึมฟอสเฟต ยาขับปัสสาวะ ยารักษาภาวะโลหิตจาง ยาลดความดันโลหิต ยาลดไขมันในเลือด และการให้ยาปรับสมดุลกรดด่าง
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดน้ำหนัก งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงยาที่มีผลเสียต่อไต

 

2. การรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต (Renal Replacoment Therapy)

 

  • กระบวนการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 เพื่อทดแทนไตที่ไม่สามารถทำงานได้เองตามที่ควรจะเป็น ช่วยขจัดของเสียที่ค้างอยู่ในร่างกาย

สามารถเลือกการรักษาได้ 3 วิธี ดังนี้

  • การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) คือ การนำเลือดออกทางเส้นเลือดที่แขนหรือคอ ผ่านเข้าเครื่องไตเทียมไม่ยังตัวกรอง เพื่อจัดของเสียและน้ำส่วนเกินที่ลังอยู่ในร่างกาย แล้วนำเลือดที่ฟอกแล้วกลับคืนสู่ผู้ป่วย ทำให้ระดับของเสียในร่างกายลดลง

 

  • การล้างไตทางช่องท้อง (Pertoneal Dialysis) คือ การใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปทิ้งค้างในช่องท้อง โดยอาศัยเยื่อบุช่องท้องแลกเปลี่ยนของเสียและน้ำส่วนเกินออกมาที่น้ำยาล้างไต เมื่อครบตามเวลาที่กำหนดก็จะทำการปล่อยน้ำยาล้างไตที่เต็มไปด้วยของเสียและน้ำส่วนเกินทิ้ง พร้อมทำการเปลี่ยนใส่น้ำยาล้างใตถุงใหม่เข้าไป โดยผู้ป่วยต้องมีการผ่าตัดใส่สายยางสำหรับใส่น้ำยาล้างไตทางช่องท้องให้พร้อมก่อนการล้างไต

 

  • การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation) คือ การผ่าตัดนำไตที่ดีจากผู้บริจาคใส่ไปในผู้รับไต โดยผู้รับไตต้องรับประทานยากภูมิต้านทานสม่ำเสมอเพื่อป้องกันภาวะปฏิเสธไตที่ปลูกถ่าย ปัจจุปันการปลูกถ่ายไตจัดเป็นวิธีบำบัดทดแทนไตที่มีประสิทธิภาพดีสุด และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

 

 

 

นัดพบแพทย์คลิก

นพ.ถนอมศักดิ์ อัศวดิลกชัย

อายุรกรรมโรคไต