ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ในผู้ป่วยเบาหวาน

December 09 / 2022

 

 

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ในผู้ป่วยเบาหวาน

 

 

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) หรือ ภาวะกลูโคสในเลือดต่ำ (Low Blood Glucose) เกิดขึ้นเมื่อระดับกลูโคสในเลือดลดลงต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในคนปกติ หรือต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดชิลิตรในกรณีของผู้ป่วยเบาหวาน คนทั่วไปเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากการอดอาหาร ร่างกายจะสามารถรักษาระดับน้ำตาลไว้ ด้วยกลไกทางระบบประสาทอัตโนมัติและฮอร์โมนแต่ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยยา เมื่อรับประทานอาหารน้อย หรือออกกำลังกายมากเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจส่งผลให้มีอันตรายถึงหมดสติได้

 

 

 

อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

 

อาการทางร่างกายจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่

 

  • รู้สึกหิว
  • มีเหงื่อออกมาก
  • รู้สึกกังวล
  • มือสั่น กระสับกระส่าย
  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
  • ความดันโลหิตซิสโตลิคสูง
  • ชารอบปากหรือส่วนอื่นๆ     

 

 

อาการสมองขาดกลูโคส ได้แก่

 

  • อุณหภูมิร่างกายต่ำ
  • อ่อนเพลีย มึนงง ปวดศีรษะ
  • ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง สับสน ไม่มีสมาธิ ตาพร่ามัว พูดช้า ง่วงซึม หลงลืม
  • พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง
  • อัมพฤกษ์ครึ่งซีก (Hemiparesis) คล้ายโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หมดสติ และชัก

 

 

สาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

 

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจเป็นผลข้างเคียงของอินซูลินหรือยารักษาโรคเบาหวาน  ซึ่งส่วนใหญ่มักมีปัจจัยส่งเสริมร่วมด้วย เช่น

  • การบริโภคคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอ เมื่อร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรต ระบบย่อยอาหารจะย่อยน้ำตาลและแป้งให้กลายเป็นน้ำตาลกลูโคส จากนั้นกลูโคสจะเข้าสู่กระแสเลือดและทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หากบริโภคคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอระดับน้ำตาลในเลือดอาจลดลงต่ำเกินไป

 

  • การอดอาหาร จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงต่ำเกินไป ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจเกิดขึ้นได้ขณะหลับ หรือไม่ได้รับประทานอาหารเป็นเวลาหลายชั่วโมง

 

  • การออกกำลังกายมากเกินไป การเพิ่มระดับการออกกำลังกายมากเกินกว่าปกติ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้นานถึง 24 ชั่วโมงหลังจากออกกำลังกายแล้ว

 

  • การดื่มแอลกอฮอล์ขณะท้องว่าง แอลกอฮอล์ทำให้ร่างกายรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ได้ยากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อท้องว่าง ทั้งนี้แอลกอฮอล์ยังทำให้ไม่รู้สึกถึงอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างรุนแรงได้

 

  • ภาวะเจ็บป่วย เมื่อเจ็บป่วยอาจส่งผลให้รับประทานอาหารได้น้อยลง หรือไม่สามารถรับประทานอาหารได้เลย  ซึ่งอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ  ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานและผู้ดูแลควรเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเมื่อเกิดภาวะโรคอื่นแทรกซ้อน

 

 

การบรรเทาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

เมื่อเริ่มมีอาการ ควรรีบตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด โดยวิธีการเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว และแก้ไขตามระดับอาการ ดังนี้

 

อาการไม่มากและรู้สึกตัวดี

ให้กินอาหารทันที ถ้าเวลาที่เกิดใกล้มื้ออาหารหลัก แต่หากอยู่ระหว่างมื้ออาหาร ควรกินอาหารว่าง เช่น นมพร่องมันเนย (240 ซีซี) หรือผลไม้ขนาดกลาง 1 ลูก หรือ แครกเกอร์ 2-3 แผ่น

 

อาการค่อนข้างมาก แต่รู้สึกตัวดี

ให้กินอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมเร็วอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้

  • น้ำผลไม้คั้นสดไม่เติมน้ำตาล ปริมาณ ½ แก้ว
  • ลูกอม 2 เม็ด หรือน้ำตาล 2 ก้อน
  • น้ำหวาน ½ แก้ว (น้ำหวานเข้มข้น 2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำให้ได้ปริมาณ 120 ซีซี)
  • น้ำตาลทราย 3 ช้อนชา
  • น้ำผึ้ง 3 ช้อนชา

หลังจากนั้นให้รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ขนมปัง ข้าว หรือก๋วยเตี๋ยว ต่อเลยทันที

 

อาการเป็นมาก

ไม่รู้สึกตัวหรือมีอาการชัก ห้ามให้อาหารทางปากเด็ดขาด เพราะอาจสำลักเข้าปอด ควรนำส่งโรงพยาบาลทันที

 

 

 

การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

 

  • การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด สามารถช่วยวางแผนการรับประทานอาหารและออกกำลังกายให้เหมาะสม ผู้ป่วยเบาหวานควรตรวจสอบตัวเองด้วยเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดให้บ่อยเท่าที่แพทย์แนะนำ กรณีผู้ป่วยที่เคยเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำโดยไม่รู้ตัว มีความจำเป็นต้องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดบ่อยขึ้น โดยเฉพาะเมื่อต้องทำงานในที่สูงหรือก่อนขับรถ หรือก่อนออกกำลังกาย
  • รับประทานอาหารและของว่างตามปกติ แผนการรับประทานอาหารเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ รับประทานอาหารและของว่างเป็นประจำด้วยปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมเพื่อช่วยไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ขณะท้องว่าง
  • ออกกำลังกายอย่างปลอดภัย การออกกำลังกายสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ทั้งขณะออกกำลังกายและหลังออกกำลังกายไปแล้วหลายชั่วโมง ดังนั้นเพื่อช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ป่วยเบาหวานควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการออกกำลังกาย
  • ปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานยาปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ควรได้รับในแต่ละวัน รวมถึงวางแผนการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม  

 

 

 

 

 

 

 

แพ็กเกจรักษาด้วยออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง (60 นาที/5 ครั้ง)

รักษาด้วยออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง เป็นวิธีการบำบัดผู้ป่วยด้วยการหายใจด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 100%

ราคา 15,000 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวานสำหรับผู้หญิง l รพ.รามคำแหง

“เบาหวาน” โรคใกล้ตัวที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม รู้ทันป้องกันได้

ราคา 4,890 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวานสำหรับผู้ชาย l รพ.รามคำแหง

"โรคเบาหวาน" ไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิด เป็นแล้วรักษาไม่หายขาด รู้ทันป้องกันได้

ราคา 4,890 บาท

แพ็กเกจรักษาด้วยออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง (60นาที/3 ครั้ง)

รักษาด้วยออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง เป็นวิธีการบำบัดผู้ป่วยด้วยการหายใจด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 100%

ราคา 9,000 บาท

แพ็กเกจรักษาด้วยออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง (90 นาที/5 ครั้ง)

รักษาด้วยออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง เป็นวิธีการบำบัดผู้ป่วยด้วยการหายใจด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 100%

ราคา 17,500 บาท

แพ็กเกจรักษาด้วยออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง (60 นาที /10 ครั้ง)

รักษาด้วยออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง เป็นวิธีการบำบัดผู้ป่วยด้วยการหายใจด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 100%

ราคา 28,500 บาท

แพ็กเกจรักษาด้วยออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง (90 นาที/10 ครั้ง)

รักษาด้วยออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง เป็นวิธีการบำบัดผู้ป่วยด้วยการหายใจด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 100%

ราคา 34,000 บาท