ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรังในสตรี (Chronic pelvic pain)

February 23 / 2024

 

 

ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรังในสตรี (Chronic pelvic pain)

 

 

 

พญ.ศรีสุภา  เลาห์ภากรณ์

สูติ-นรีเวช

 

 

 

ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรังในสตรี (Chronic pelvic pain) เกิดจากอะไร ?

ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรังในสตรี (Chronic pelvic pain) คืออาการปวดท้องน้อยที่เกิดจากอวัยวะในอุ้งเชิงกราน นานเกิน 6 เดือน1(อวัยวะในอุ้งเชิงกรานได้แก่ ช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย และ กล้ามเนื้อ) อาการปวดอาจต่อเนื่อง เป็นพักๆ หรือ เป็นๆหายๆ บางครั้งอาจสัมพันธ์กับรอบประจำเดือน มื้ออาหาร การปัสสาวะ หรือเพศสัมพันธ์ ความสำคัญของภาวะนี้ในระยะยาวอาจนำไปสู่ความวิตกกังวล หวาดกลัว ความเครียด ซึ่งส่งผลต่อการทำงาน การเรียน ครอบครัวและการดำเนินชีวิตประจำวันได้ จึงมีความสำคัญที่ควรได้รับการวินิจฉัย และดูแลรักษาอย่างถูกวิธีโดยสหสาขาวิชาชีพ

 

สาเหตุภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรังในสตรี ?

 

1. อวัยวะภายใน (Visceral etiology)

  • โรคทางนรีเวช ได้แก่  โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis), ก้อนเนื้องอกที่ปีกมดลูก (Adnexal mass), การติดเชื้ออักเสบในอุ้งเชิงกราน (PID,Metritis), เนื้องอกมดลูก (Leiomyoma), พังผืดในอุ้งเชิงกราน (Pelvic adhesion) เป็นต้น
  • โรคทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome), ลำไส้อักเสบ (Inflammatory bowel syndrome), มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer), โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (Diverticular colitis) เป็นต้น
  • โรคทางระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder cancer) การอักเสบหรือภาวะแทรกซ้อนทางเดินปัสสาวะ (Chronic or complicated urinary tract infection), กลุ่มอาการโรคปวดกระเพาะปัสสาวะ (Interstitial cystitis, Painful bladder syndrome)

 

2. ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Neuromusculoskeletal)

  • โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia), อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (Myofascial syndrome), โรคที่เกิดจากการทรงท่าที่ผิด (Postural syndrome), กลุ่มอาการปวดผนังหน้าท้อง (Abdominal wall syndrome)

 

3. ภาวะจิตสังคม (Psychosocial)

  • การถูกล่วงละเมิดทางร่างกาย อารมณ์ หรือทางเพศ (Abuse), ภาวะซึมเศร้า (Depressive disorder), ภาวะวิตกกังวล (Anxiety disorder), ภาวะโซมาติก (Somatic symptom disorder), โรคที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด (Substance use disorder)

ความชุกของภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรังในสตรีประมาณ 20%-60%4-7 มีการศึกษาอย่างเป็นระบบ (systematic review) ในสตรี 1,016รายพบว่า สาเหตุเกิดจากโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่(endometriosis) 70% โรคประสาทปัสสาวะ (bladder pain syndrome) 61% และพบทั้งสองภาวะร่วมกันถึง 48%8  บางรายงานพบภาวะลำไส้แปรปรวนได้ 38.5%9

 

 

 

การวินิจฉัยสาเหตุของภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรังในสตรี

 

เนื่องจากเป็นภาวะที่อาจพบสาเหตุหลายอย่างร่วมกันได้ จึงเป็นความยากที่จะให้การวินิจฉัยในครั้งแรก คนไข้ควรมาติดตามสม่ำเสมอ ดังนั้นการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการส่งตรวจจึงมีความสำคัญ รวมถึงการรักษาโดยทีมสหวิชาชีพร่วมกัน

 

ประวัติที่สำคัญที่คนไข้ควรบันทึกมาคือ ตำแหน่งปวด ระยะเวลาเริ่มปวด สิ่งกระตุ้นอาการปวด และสิ่งบรรเทาอาการปวด อาการปวดร้าวตำแหน่งอื่น มีความสัมพันธ์กับรอบเดือน การมีเพศสัมพันธ์ มื้ออาหาร การขับถ่าย ระบบทางเดินปัสสาวะ การออกแรง ท่าทาง เช่น ยกของ ออกกำลังกาย การทำงาน

 

สิ่งสำคัญคือมีสัญญานอันตรายที่ควรรีบมาพบแพทย์ ได้แก่ มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์, เลือดออกผิดปกติในสตรีอายุเกิน 40 ปี, มีเลือดออกหรือเริ่มปวดหลังวัยหมดประจำเดือน, มีภาวะน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ, คลำพบก้อนในอุ้งเชิงกรานหรือลำไส้, มีเลือดออกทางทวารหนัก หรือมีปัสสาวะเป็นเลือด

 

แพทย์จะทำการตรวยร่างกายและพิจารณาการตรวจภายใน และส่งตรวจทางห้องปฎิบัติการเบื้องต้นได้แก่ การตรวจปัสสาวะ (urine analysis) การตรวจหาโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) การเก็บเนื้อเยื่อส่งตรวจ การทำอัลตร้าซาวด์ หรือเอกซเรย์ ช่องท้องล่าง รวมทั้งการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การส่องกล้องลำไส้ (colonoscope) การส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ (Cystoscope) และการส่องกล้องวินิจฉัยช่องท้อง (Diagnostic laparoscope)

 

 

 

 

การรักษาภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรังในสตรี

 

เป้าหมายของการรักษาคือ การบรรเทาอาการปวด ให้คนไข้สามารถกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรังอาจเกิดจากหลายปัจจัย ดังนั้นการรักษาจึงมีหลายวิธี

 

การให้ยาแก้ปวด (medication)

การทำกายภาพบำบัด (physical therapy)

การผ่าตัด (laparoscopic adhesiolysis)

รวมทั้งการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy)

การบำบัดทางเพศ (Sex therapy)

 

 

 

หากปวดรุนแรงเป็นเวลานาน ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพียงคิดว่าเป็นภาวะปกติของผู้หญิง แนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการรักษา การรักษาขึ้นอยู่กับแพทย์วินิจฉัย

 

นัดพบแพทย์คลิก

พญ.ศรีสุภา  เลาห์ภากรณ์

สูติ-นรีเวช

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

1. Chronic Pelvic Pain: ACOG Practice Bulletin, Number 218. Obstet Gynecol. 2020. Mar;135(3):e98-e109

2. Engeler DS, Baranowski AP, Dinis-Oliveira P, Elneil S, Hughes J, Messelink EJ, van   Ophoven A, Williams AC., European Association of Urology. The 2013 EAU guidelines on chronic pelvic pain: is management of chronic pelvic pain a habit, a philosophy, or a   science? 10 years of development. Eur Urol. 2013 Sep;64(3):431-9. [PubMed]

3. Potts JM, Payne CK. Urologic chronic pelvic pain. Pain. 2012 Apr;153(4):755- 758. [PubMed]

4. Learman LA, Gregorich SE, Schembri M, Jacoby A, Jackson RA, Kuppermann M. Symptom resolution after hysterectomy and alternative treatments for chronic pelvic pain: does depression make a difference? Am J Obstet Gynecol 2011;204:269.e1–9. (Level II-2)

5. Williams RE, Hartmann KE, Sandler RS, Miller WC, Savitz LA, Steege JF. Recognition and treatment of irritable bowel syndrome among women with chronic pelvic pain. Am J Obstet Gynecol. 2005;192:761–7. (Level II-3)

6. Cheng C, Rosamilia A, Healey M. Diagnosis of interstitial cystitis/bladder pain syndrome in women  with chronic pelvic pain: a prospective observational study. Int Urogynecol J 2012;23:1361–6. (LevelII-3)

7. Montenegro ML, Mateus-Vasconcelos EC, Rosa e Silva JC, Nogueira AA, Dos Reis FJ, Poli Neto OB. Importance of pelvic muscle tenderness evaluation in women with chronic pelvic pain. Pain Med 2010;11:224–8. (Level II-3)

8. Tirlapur SA, Kuhrt K, Chaliha C, Ball E, Meads C, Khan KS. The ’evil twin syndrome’ in chronic pelvic pain: a systematic review of prevalence studies of bladder pain syndrome and endometriosis. Int J Surg 2013;11:233–7.

9. Zondervan KT, Yudkin PL, Vessey MP, et al. Chronic pelvic pain in the community—symptoms, investigations, and diagnoses. Am J Obstet Gynecol. 2001;184(6):1149-1155.doi:10.1067/mob.2001.112904

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

โปรแกรมผ่าตัดถุงน้ำดี อัตราเหมาจ่าย l โรงพยาบาลรามคำแหง

รักษานิ่วในถุงน้ำดีโดยใช้กล้องวิดิทัศน์ ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลกับผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากแผลผ่าตัดใหญ่ๆ อีกต่อไป

ราคา 96,500 บาท

ผ่าตัดเหมาจ่ายต้อกระจก

ต้อกระจกเกิดจากการขุ่นมัวของเลนส์แก้วตา สามารถรักษาให้มองเห็นได้ โดยการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตา

ราคา 31,300-98,500 บาท

แพ็กเกจศูนย์หัวใจ ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบ แบบไม่ต้องผ่าตัด

ราคา 33,000-120,000 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Platinum Check up สำหรับกลุ่มสุภาพสตรี

แพ็กเกจตรวจสุขภาพ RAM Platinum รายละเอียด เช่น การตรวจหัวใจและหลอดเลือด ร่วมกับการตรวจหาแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือด ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง เป็นต้น

ราคา 30,990 บาท

บันทึกการเต้นของหัวใจในโลกยุคดิจิทัล "ป้องกันภาวะหัวใจวาย"

Multiday Patch Holter (แผ่นบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ) อุปกรณ์บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดแผ่น แปะติดที่หน้าอก สามารถบันทึกการเต้นของหัวใจติดต่อกันได้หลายๆ วัน

ราคา 6,000 บาท