บทความสุขภาพโรงพยาบาลรามคำแหง - ไข้หวัดใหญ่กับเบาหวาน

February 22 / 2024

 

 

ไข้หวัดใหญ่กับเบาหวาน

 

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากกว่าไข้หวัดธรรมดา แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว และอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานซึ่งติดเชื้อได้ง่าย

 

 

ทำไมไข้หวัดใหญ่ถึงอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวาน ? 

 

  1. น้ำตาลในเลือดรบกวนการทำงานของเม็ดเลือดขาว
  2. ความสามารถในการทำลายเชื้อโรคลดลง ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
  3. มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม หูอักเสบ มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงชีวิต

 

 

 

ผลกระทบของการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ต่อเบาหวาน 

 

โรคเบาหวาน

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้น้อยลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่รุนแรง น้ำตาลในเลือดไปรบกวนการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวทำให้ความสามารถการทำลายเชื้อโรคลดลง

 

การติดเชื้อ/โรคแทรกซ้อน

การติดเชื้อในร่างกายจะส่งผลให้น้ำตาลในเลือดแปรปรวนทำให้โรคเบาหวานอาจกำเริบและมีความรุนแรง

 

 

 

ข้อควรรู้ที่เกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่และโรคเบาหวาน 

 

ในช่วงฤดูกาลระบาดของไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยเบาหวาน มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น 5 – 15 % ผู้ป่วยเบาหวาน มีโอกาสเข้านอนโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่สูงกว่าคนทั่วไปประมาณ 6 เท่า

 

ประโยชน์ของวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในคนไข้เบาหวาน 

 

ลดอัตราการเข้าโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ได้ ประมาณ 50 - 60 % ลดอัตราการเสียชีวิต ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 18 ปีได้ ประมาณ 50 – 60 %

 

 

เชื้อไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้ 

 

ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกและราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นประจำทุกปีเพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของไข้หวัดใหญ่

 

อย่ามองข้ามโรคไข้หวัดใหญ่ เรื่องใหญ่ใกล้ตัวคุณ