กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Heart Attack) เตรียมรับมือเมื่อไร้สัญญาณ

November 13 / 2024

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

 

 

     'Heart Attack' เมื่อหัวใจไม่ได้วายเพราะความรัก แต่คือหายนะไร้สัญญาณที่พร้อมจู่โจมให้หัวใจตาย โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ยังเป็นหนึ่งโรคอันตรายที่ควรเฝ้าระวังตั้งแต่ยังเป็นปรกติ

 

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

     โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome: ACS) หรือในชื่อ 'Heart Attack' เป็นภาวะขาดเลือดที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ ทั้งยังเกิดได้ใน 3 กระบวนการ ได้แก่ การสะสมของไขมันในหลอดเลือด ที่เรียกว่า “plaque” การปริแยกหรือฉีกขาดของไขมัน การเกิดก้อนเลือดอุดตันภายในหลอดเลือด (Thrombosis)

 

กลไกของโรค

     โดยปรกติเยื่อบุผนังหลอดเลือดจะช่วยป้องกันไขมันสะสมในหลอดเลือดเพื่อไม่ให้อุดตัน หากเยื่อบุผนังหลอดเลือดทำงานได้ไม่ดีดั่งเคยหรือเกิดเสื่อมไป ไขมันจะเริ่มสะสมในผนังหลอดเลือดจนเป็นคราบ (plaque) คล้ายการเกิดสนิมขึ้นในท่อประปา ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้สะดวก

 

 

 


ถ้าอุดตันมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดเลือดก็จะทำให้เกิดอาการหัวใจขาดเลือดขึ้น


 

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

แสดงให้เห็นไขมันที่อุดตันในหลอดเลือด 

 

 

 

สาเหตุของโรค

 

  • ผู้ป่วยเริ่มเจ็บหน้าอกในช่วงออกกำลังกายหรือเหนื่อยง่าย แต่ถ้ามีการปริหรือฉีกขาดของคราบเกิดขึ้น ก็จะทำให้ไขมันหรือสารต่าง ๆ จากคราบกระจายในหลอดเลือด ซึ่งกระตุ้นทำให้เกิดก้อนเลือดอุดตันขึ้น หากอาการเจ็บหน้าอกรุนแรงมาก อาจเกิดหัวใจวายและเสียชีวิตลงได้ในช่วงสั้น ๆ เราจึงเรียกว่าอาการนี้ว่า “Heart Attack”
  • ความเครียดมาก โกรธหรือเสียใจมาก ๆ ก็เป็นจุดเร่งให้เกิดการปริแยกของคราบไขมันหรือหินปูนในหลอดเลือด และมักจะพบได้บ่อยในช่วงตื่นนอน

 

 

 

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

 

 

 

 

 

วิธีป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

     เราสามารถป้องกันเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือ Heart Attack สามารถทำได้ด้วยหลักการง่าย ๆ ด้วยการหยุดสูบบุหรี่ ลดไขมันในเลือด และควบคุมความดันโลหิต โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน การใช้ยาต้านเกร็ดเลือดและยาลดความดันบางชนิด นอกจากนี้การลดความอ้วนยังสามารถลดอุบัติการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยเช่นกัน 

 

 

 

ควรทำอย่างไรเมื่อหัวใจวาย

     การรักษาที่ดีที่สุดเมื่อเกิด Heart Attack คือการส่งตัวเข้าพบแพทย์เพื่อเปิดหลอดเลือดหรือละลายก้อนเลือดที่อุดตันออกให้เร็วที่สุด หากสามารถปิดหลอดเลือดที่อุดตันภายใน 6 ชั่วโมงจะมีโอกาสรอดที่สูงขึ้น

 

 

เมื่อเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ควรไปถึงโรงพยาบาลเพื่อทำการขยายหลอดเลือดหัวใจให้เร็วที่สุด