อาการชามือ จากเส้นประสาทข้อมืออักเสบ

December 18 / 2024

 

 

 

อาการชามือ จากเส้นประสาทข้อมืออักเสบ

Carpal Tunnel Syndrome

(Median Nerve Entrapment)

 

 

 

อาการชามือเกิดจากสาเหตุใด

     เราต้องเข้าใจตรงกันก่อนว่าคำว่า ชาคือ หนา ๆ ไม่ค่อยรู้สึก รู้สึกเหมือนเป็นเหน็บ ไม่ใช่อาการอ่อนแรง ภาษาอังกฤษเรียก Numbness เพราะบางคนรู้สึกว่า ชาคืออ่อนแรง มือไม่มีแรง ซึ่งสาเหตุของอาการชาที่ได้พบบ่อย เช่น หลอดเลือดสมองตีบหรือแตก ไขสันหลังมีกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง มีแผงเส้นประสาทที่คออักเสบ หรือ เส้นประสาทส่วนปลายอักเสบที่ข้อศอกหรือ ข้อมือ ซึ่งสามารถแยกได้ด้วยการซักประวัติตรวจร่างกาย

 

 

มือชา

 

 

 

 

เส้นประสาทข้อมืออักเสบมีอันตรายหรือไม่ ?

  • ปวดชาเส้นประสาท ทรมาน จนไม่สามารถ นอน ทำงานได้ตามปกติ
  • หยิบของไม่ถนัด เนื่องจากชา ทำให้จับของเล็กไม่ถนัดเขียนหนังสือไม่ได้
  • กล้ามเนื้อในมืออ่อนแรง ลีบ

 

 

เส้นประสาทข้อมืออักเสบ เป็นสัญญาณเตือนว่าจะเป็นโรคใดได้หรือไม่ ?

  • ส่วนใหญ่มักเป็นจากการใช้งานมือข้อมือเยอะ ๆ ซ้ำ ๆ เช่น อาชีพที่ต้องทำงานใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ใช้สมาร์ทโฟน ถือของ เล่นดนตรี ขับมอเตอร์ไซค์ ขี่จักรยาน ซึ่งใช้ข้อมือเยอะ หรือ ตำแหน่งกดทับที่ข้อศอก เช่น ชอบนั่งเท้าคาง นอนตะแคงทับแขนตัวเอง

  • ที่พบรองลงไปคือเส้นเลือดเล็ก ๆ ที่เลี้ยงเส้นประสาทอักเสบหรือบวม เช่น คนที่เป็นโรคเบาหวาน คนท้อง โรคเอสเอลอี

 

 

 

มือชา

กิจกรรมที่ใช้ข้อมือเป็นเวลานาน

 

 

 

วิธีรักษาอาการมือชาจากเส้นประสาทข้อมืออักเสบ

  • รักษาด้วยยา กายภาพบำบัด พักมือ ประคบอุ่นหรือแช่น้ำร้อน ใส่ splint
  • รักษาด้วยการฉีดยาลดบวมที่ข้อมือ
  • รักษาด้วยการผ่าตัด

 

 

วิธีดูแลตัวเองให้ห่างจากเส้นประสาทข้อมืออักเสบ

  • สังเกตอาการถ้าเป็นระยะต้น เช่น ชาเป็น ๆ หาย ๆ อันนี้รีบรักษามักหายดี บางรายหายสนิทได้ ให้หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการมือชา เช่น ท่าการใช้คอมพิวเตอร์ หิ้วกระเป๋าถือหนักๆ เป็นเวลานาน ถือของย้ายของที่หนักเกินข้อมือจะรับได้
  • แต่ถ้ามีอาการชาถาวรตลอดเวลา การรักษาด้วยยาอาจไม่เพียงพอ มักต้องตรวจเส้นประสาท เพื่อดูว่าเส้นประสาทอักเสบระยะไหนแล้ว รุนแรงหรือไม่ จำเป็นต้องผ่าตัดหรือป่าว
  • ถ้ามีอาการอ่อนแรง ลีบ แล้วมักรักษาด้วยยาไม่ได้ การผ่าตัดเพื่อป้องกันไม่ให้ลีบหรืออ่อนแรงเพิ่มเติมไปกว่าเดิม

 

 


หากปวดมากไม่หายควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษา วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์