“ปลูกถ่ายไต” เมื่อไตวายเรื้อรัง กับโรงพยาบาลรามคำแหง

April 12 / 2024

 

 

 

 

 “ปลูกถ่ายไต” เมื่อ “ไตวายเรื้อรัง”

กับ โรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

 

 

โดยทั่วไปภาวะไตวายเรื้อรังมีทั้งหมด 5 ระยะ เป็นการแบ่งระยะตามการทำงานของไตว่าทำงานถึงระยะที่เท่าไหร่แล้ว และถ้าไตทำงานลดลงจนถึงระยะที่ 5 หรือไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายแล้ว ผู้ป่วยก็จะเริ่มมีอาการ

 

 

  • อ่อนเพลีย
  • ทานไม่ได้
  • คลื่นไส้,อาเจียน
  • อาจจะมีน้ำท่วมปอด
  • ตัวบวม
  • ปัสสาวะลำบาก

 

 

 

 

 

 

 

 

3 วิธีรักษาโรคไตหรือที่เรียกว่า “การบำบัดทดแทนไต”

 

 

  • การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
  • การล้างไตผ่านช่องท้อง
  • การปลูกถ่ายไต

 

 

ทั้ง 3 วิธีนี้ มุ่งเน้นเพื่อบำบัดทดแทนไตที่เสียไป ทำให้ร่างกายกลับมาทำงานได้ตามปกติ แต่ทั้งนี้การปลูกถ่ายไตนั้นส่วนใหญ่จะใช้รักษาเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ป่วยมานานแล้ว

 

 

 

 

 

การผ่าตัดปลูกถ่ายไตคืออะไร?

 

หลายคนอาจยังไม่ค่อยทราบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง “การผ่าตัดปลูกถ่ายไต” ซึ่งการปลูกถ่ายไตก็คือการนำไตที่ดีมาจากผู้บริจาคมาผ่าตัดใส่เข้าไปในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง เพื่อให้ไตอันใหม่ทำงาน ช่วยผู้ป่วยให้กลับมามีชีวิตได้ตามปกติ ส่วนใหญ่ไตที่ได้รับบริจาคจะมาจาก พ่อแม่ พี่น้อง หรือญาติที่มีสายเลือดเดียวกัน สามีหรือภรรยา หรือไตของผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้ว

 

 

 

ใครบ้างที่สามารถบริจาคไตได้?

 

ก่อนที่จะบริจาคไตได้ต้องตรวจเช็คให้แน่ใจก่อนว่าผู้บริจาคมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว อายุไม่มากเกินไป และไตที่จะบริจาคสามารถเข้ากันได้กับไตของผู้ป่วย ซึ่งโดยทั่วไปถ้าเป็นสายเลือดเดียวกัน ก็จะสามารถบริจาคไตให้แก่กันและกันได้ แต่ในกรณีที่ไม่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น สามีให้ภรรยา หรือภรรยาบริจาคให้สามี เราจะมีการตรวจสอบการเข้ากันได้ก่อน เช่น ตรวจกรุ๊ปเลือดว่าเข้ากันได้หรือไม่นอกจากนี้ก่อนที่จะทำการผ่าตัด ยังต้องตรวจเลือดและเนื้อเยื่อของอวัยวะที่จะบริจาคนั้นผู้รับสามารถรับได้หรือไม่ ถ้าผู้รับไม่สามารถรับอวัยวะได้ ก็อาจจำเป็นต้องรอรับไตจากผู้บริจาคที่เสียชีวิต

 

 

 

 

 

 

2 ขั้นตอน ถ้าต้องการบริจาคไต

ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติจะเริ่มจากการติดต่อขอบริจาคอวัยวะให้แก่สภากาชาดไทย โดยผู้ที่จะบริจาคอวัยวะหรือญาติเป็นผู้ขอลงทะเบียนขอบริจาคอวัยวะเป็นอันดับแรก

 

 

ขั้นตอนต่อมาคือ เมื่อผู้บริจาคเสียชีวิต เช่น จากภาวะสมองตาย โรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาจะทำการตรวจเลือด ตรวจเนื้อเยื่อและส่งข้อมูลให้สภากาชาดไทยเพื่อนำไปเปรียบเทียบกับคนไข้ที่รอการปลูกถ่ายไต ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนขอรับบริจาคกับสภากาชาดไทยไว้แล้วเช่นกัน ซึ่งหากตรวจเลือด ตรวจเนื้อเยื่อว่าเข้ากันได้หรือไม่ถ้าเข้ากันได้ ผู้ป่วยจึงจะได้รับไตที่บริจาคจากผู้เสียชีวิตไปปลูกถ่ายต่อไป โดยมีระยะเวลาเตรียมตัวประมาณ 24 ชั่วโมง หากพอเข้ากันได้แล้วจะมีทีมแพทย์เข้าไปผ่าตัดและนับไปไม่ให้เกิน 24 ชั่วโมง รวมแล้วไม่เกิน 2 วัน ที่ต้องมีการตรวจคุณภาพการทำงานของไตว่าดี ไม่มีการติดเชื้อ และเนื้อเยื่อเข้ากันได้กับผู้ที่จะรับบริจาคจึงจะดำเนินการผ่าตัดปลูกถ่ายไตต่อไป

 

 

 

 

หลังจากผ่าตัดปลูกถ่ายไตแล้วจะเป็นอย่างไร?

 

หลังจากผ่าตัดปลูกถ่ายไตแล้วผู้ป่วยจะมีไตเพิ่มเป็น 3 อัน เนื่องจากแพทย์จะไม่ผ่าตัดไตที่มีอยู่ออกไปโดยไม่จำเป็น แต่จะผ่าตัดใส่ไตใหม่ เข้าไปตรงบริเวณด้านหน้าท้องด้านซ้ายหรือขวาก็ได้ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์

 

 

 

 

ผ่าตัดปลูกถ่ายไตที่โรงพยาบาลรามคำแหง

 

โรงพยาบาลรามคำแหงได้รับการรับรองจากสภากาชาดไทยให้ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตได้แล้ว ตอนนี้เรามีทีมอาจารย์ทั้งทีมผ่าตัด และทีมดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดพร้อมที่จะดูแลคนไข้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายไต ตั้งแต่ช่วงก่อนเข้าการปลูกถ่ายไต เข้ามารับการประเมิน ไปจนถึงหลังรับการผ่าตัด

 

 

 

นอกจากนี้เรายังมีทีมที่คอยให้การดูแลรักษาทั้งทีมอาจารย์แพทย์ ทีมพยาบาล ทีมฝ่ายโภชนาการ เภสัชกร และทีมงานอื่นๆ ไว้พร้อมตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งขณะนี้มีผู้ป่วยมารอเข้าคิวนัดไว้แล้ว ซึ่งเราก็พร้อมที่จะผ่าตัดได้ทันทีที่ได้รับบริจาคไต ก็จะสามารถไปรับและดำเนินการให้ทันกำหนด 24 ชั่วโมง

 

 

คู่มือผู้ป่วยปลูกถ่ายไต อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิก >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1127

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเรื่ืองการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ได้ที่สายตรง โทร. 064-5646059 ทุกวันตั้งแต่เวลา 08:00-16:00 น.