คำแนะนำสำหรับจากโรงพยาบาลผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19

February 23 / 2024

 

 

คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง หรือสงสัยว่าเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19

 

 

 

โรคโควิด-19 (COVID-19)

 

  • เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในตระกูลโคโรนาไวรัส สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดยการหายใจเอาละอองฝอยน้ำมูก น้ำลาย ของผู้ที่ติดเชื้อเข้าไปจากการไอ จาม และพูดคุยกัน เชื้อยังสามารถเข้าสู่ร่างกายทางปาก จมูก และตา ผ่านมือที่ปนเปื้อนเชื้อจากการสัมผัสพื้นผิวต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้ออยู่

 

  • ผู้ที่ติดเชื้อนี้อาจมีอาการป่วย หรือไม่มีอาการก็ได้ แต่สามารถแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้ อาการของโรค โควิด-19 มีตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนถึงอาการรุนแรง และเสียชีวิตได้อาการที่พบได้บ่อย เช่น ไข้น้ำมูก ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว จมูกไม่ได้กลิ่น การรับรสเปลี่ยนไป หายใจหอบเหนื่อย เป็นต้น

 

  • ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคไตเรื้อรัง กลุ่มอาการดาวน์ โรคธาลัสซีเมีย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น ระยะฟักตัวของโรค (ระยะเวลาหลังจากที่รับเชื้อแล้วแสดงอาการหรือตรวจพบเชื้อ) ประมาณ 2-14 วัน

 

  • ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรค โควิด-19 และยังไม่มีอาการจึงมีความจำเป็นต้องแยกกักตัวเพื่อสังเกตอาการที่บ้านเป็นเวลา 14 วันนับจากวันสุดท้ายที่สัมผัสโรค เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น หากเกิดการติดเชื้อ

 

 

วิธีการสังเกตอาการที่บ้านในช่วงแยกกักตัว 10 วัน

 

สังเกตอาการไข้และอาการระบบทางเดินหายใจทุกวันโดยแนะนำให้วัดอุณหภูมิร่างกาย

 

  • อาการไข้ : เมื่อวัดอุณหภูมิร่างกายได้ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไปหรือมีอาการตัวร้อนหนาวสั่นปวดเมื่อยตัว
  • อาการระบบทางเดินหายใจ : น้ำมูก ไอ เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น การรับรสเปลี่ยนไปหายใจหอบเหนื่อย

 

หากมีอาการข้อใดข้อหนึ่ง ให้รีบไปพบแพทย์โดยใช้รถส่วนตัว ผู้ป่วย และผู้ร่วมเดินทางทุกคนใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาหากเป็นรถยนต์ให้เปิดหน้าต่างรถไว้เสมอ

 

 

การปฏิบัติตัวระหว่างแยกกักตัว 10 วันที่บ้านที่พักเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นๆ

 

  • ให้หยุดอยู่บ้าน ไม่เดินทางออกนอกบ้าน หรือเข้าไปในสถานที่แออัดที่มีคนจำนวนมาก
  • ควรนอนแยกห้องเดี่ยว
  • สวมหน้ากากอนามัยและอยู่ห่างจากคนอื่นๆ ในบ้านโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ ประมาณ 1-2 เมตร หรืออย่างน้อย 2 ช่วงแขน
  • รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น
  • ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อนส้อม แก้วน้ำ เป็นต้น
  • สำหรับห้องน้ำ หากเป็นไปได้ควรใช้ห้องน้ำแยกกัน หรือถ้ามีห้องน้ำเพียงห้องเดียว แนะนำให้ใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้ายและปิดฝาชักโครกทุกครั้งก่อนกดน้ำทิ้ง
  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาที กรณีไม่มีน้ำและสบู่ สามารถล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นอย่างน้อย 70%
  • การทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ให้ใส่ถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด และทำความสะอาดมือถือด้วยแอลกอฮอล์เจลหรือน้ำและสบู่ทันที
  • เมื่อไอจามควรไอใส่ต้นแขน หรือใช้กระดาษทิชชู่ปิดจมูกและปากถึงคาง แล้วทิ้งในถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้ง หลังจากนั้นทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจลหรือน้ำและสบู่ทันที
  • ทำความสะอาดบริเวณที่พัก เช่น เตียง โต๊ะ บริเวณของใช้รอบตัว รวมถึงห้องน้ำด้วยน้ำยาฟอกขาว 5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (น้ำยาฟอกขาวหนึ่งส่วนต่อน้ำสะอาด 99 ส่วนน้ำยาฟอกขาว 10 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร)
  • ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ด้วยสบู่หรือผงซักฟอกธรรมดาและน้ำ

 

 

การปฏิบัติตัวของผู้อยู่อาศัยร่วมบ้านของผู้ที่แยกกักตัว 10 วันและการทำลายเชื้อในสิ่งแวดล้อมในบ้าน

 

  • ทุกคนในบ้านควรสวมหน้ากากอนามัย
  • ควรล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสพื้นที่ที่ใช้ร่วมกัน หรือมีการปนเปื้อน เช่น ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง เพื่อลดการรับและแพร่เชื้อ โดยใช้น้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นอย่างน้อย 70%
  • เฝ้าระวังอาการเจ็บป่วยของผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือสมาชิกในบ้าน ภายในระยะเวลา 14 วัน หลังสัมผัสผู้ป่วย
  • ควรนอนแยกห้องกับผู้ที่ต้องสังเกตอาการหรือห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร และเปิดหน้าต่าง
  • ไม่รับประทานอาหารร่วมกัน รวมถึงการใช้ของส่วนตัวร่วมกัน