เฝ้าระวังโรคสะเก็ดเงิน ต้นเหตุผื่นเรื้อรังตามเล็บและศีรษะ

December 02 / 2024

 

 

 

มีผื่นเรื้อรัง โรคสะเก็ดที่ศีรษะ คัน เล็บผิดปกติ ระวัง ! สะเก็ดเงิน

 

 

 

 

สะเก็ดเงินสะเก็ดเงิน

 

 

นพ.ภค สาธิตพิฐกุล
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคผิวหนัง

 

 

     แม้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดให้โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคที่ไม่ติดต่อ แต่ก็จัดว่าพบบ่อย ในร้อยคนจะพบได้อย่างน้อยสัก 1 คนก็ถือว่ามากแล้ว อีกทั้งเป็นหนึ่งโรคที่ปัจจุบันก็ยังรักษาไม่หายขาด แต่มีหลากวิธีช่วยทุเลาอาการให้เบาลงได้ ถึงคราวแพทย์ผิวหนังคลายสงสัยและให้การรักษาและป้องกันโรค  

 

สะเก็ดเงิน

 

โรคสะเก็ดเงิน

     โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) หรือ ‘โรคเรื้อนกวาง’ เป็นผื่นผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่งอันเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เซลล์ผิวหนังแบ่งตัวผิดปรกติจนเกิดการอักเสบ โดยทั่วไปมักปรากฎตามเล็บ ข้อและบริเวณหนังศีรษะ ซึ่งพบได้ทุกช่วงวัย บางรายอาจพัฒนาจนเกิดอาการข้ออักเสบสะเก็ดเป็นโรคร่วม

 

 

สะเก็ดเงิน

 

อาการที่พบบ่อย 

  • มีผื่นแดงคันและมีสะเก็ดหนา
  • รู้สึกแสบร้อนร่วมกับมีอาการปวดข้อ
  • เล็บมือและเท้าหนา มีรอยบุ๋มผิดรูปทรง
  • ผิวแห้งแตก เริ่มลอกเป็นขุย หากแกะเกาสะเก็ดจะหลุดลอกและมีเลือดออก

 

 

สาเหตุของโรคสะเก็ดเงิน

  • พันธุกรรม ส่งทอดจากบุคคลในครอบครัวหรือญาติที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน 
  • การติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส HPV เชื้อไวรัสตับอักเสบ
  • การบาดเจ็บทางผิวหนัง เช่น การเกา การถู การเสียดสี
  • ปัจจัยอื่น เช่น การใช้ยาบางชนิด ภาวะเครียด ภาวะอ้วน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหาร การสัมผัสสารเคมีหรือสารก่อความระคายเคือง

 

ประเภทของโรคสะเก็ดเงิน

  • สะเก็ดเงินชนิดผื่นนูนแดงหนา ปรากฏเป็นจุดดวงสีชมพูกระจายทั่วตัวซึ่งเป็นชนิดที่พบบ่อย พบมากตามข้อพับ หนังศีรษะและลำตัว
  • สะเก็ดเงินชนิดปุ่มนูนขนาดเล็ก มักเป็นอาการไม่รุนแรงมากและพบมากในคนอายุน้อยและมีประวัติการเป็นไข้หวัดใหญ่มาก่อน หลังหายไข้ก็ยังแสดงอาการผื่น บางรายอาจหายได้เอง แต่บางรายกลายเป็นโรคเรื้อรังซึ่งอาจพัฒนากลายเป็นผื่นนูนแดงหนา
  • สะเก็ดเงินชนิดร่วมตุ่มหนอง ผู้ป่วยจะมีสะเก็ดเงินคละปุ่มหนองทั่วร่าง โดยผู้ป่วยจะเป็นไข้ไม่สบายร่วม
  • สะเก็ดเงินชนิดแดงแบบลอกทั่วตัว หรือในการแพทย์เรียกว่า ‘Erythrodermic psoriasis’  เป็นอาการรุนแรงมาก อาการจะปรากฏเป็นผื่นแดงแทบทั่วตัวร่วมกับขุยบาง ๆ หากเกิดกับผู้สูงวัยจะอันตรายมาก เพราะนอกจากเสียโปรตีนและเกลือแร่ ยังเพิ่มโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนร่วม เช่น ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน
  • สะเก็ดเงินที่เล็บ อีกแบบที่หากเป็นเล็บจะเริ่มขรุขระ ฐานเล็บจะเริ่มแยกจากตัวเล็บและมีหลุม

 

 

 

 

การวินิจฉัยโรค

     แพทย์จะเริ่มซักประวัติและตรวจร่างกาย ซึ่งหากมีลักษณะก้ำกึ่ง แพทย์จะเก็บชิ้นเนื้อของผู้ป่วยเพื่อส่องกล้องตรวจหาความผิดปรกติประกอบการวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ หากมีอาการข้ออักเสบสะเก็ดเงินร่วมควรเข้ารับการรักษากับอายุรแพทย์โรคข้อร่วม

 

 

 

โรคสะเก็ดเงิน รักษาสะเก็ดเงิน รักษาสะเก็ดเงิน รักษาสะเก็ดเงิน รักษาสะเก็ดเงิน รักษา

 

 

 

วิธีการรักษาโรคสะเก็ดเงิน

แพทย์จะเริ่มวางแผนการรักษาที่เหมาะสมตามระดับอาการของโรคสะเก็ดเงิน

 

  • การใช้ยาทาผิวหนัง โดยทั่วไปใช้รักษาในกลุ่มอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง
  • การใช้ยาในรูปแบบรับประทานหรือฉีด เช่น ยาช่วยควบคุมภูมิคุ้มกัน ซึ่งบางรายอาจใช้การรักษาอื่นร่วม
  • การรักษาด้วยแสง หรือการใช้แสงอัลตราไวโอเลต (UV: Ultraviolet) ชนิด UVB ซึ่งมีความถี่จำเพาะสำหรับช่วยให้หายเร็ว ผลข้างเคียงน้อยและประหยัดเวลารักษา โดยใช้เวลาเพียง 1 - 5 นาทีร่วมกับนัดพบแพทย์เพื่อฉายแสง 2 - 3 ครั้ง/สัปดาห์ 

 

อ่านเพิ่มเติม: วัย 50+ ยังแจ๋วหากใบหน้าไร้ริ้วรอย-คอยระวัง “มะเร็งผิวหนัง” 

 

ข้อควรปฏิบัติก่อน-หลังรักษา

 

  • ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากทานยา อาหารเสริมหรือใช้ผลิตภัณฑ์กับผิวหนังมาก่อนหน้า
  • แนะนำให้ทาครีมเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง เนื่องจากผิวจะแห้งได้หลังได้รับการฉายแสง
  • หลีกเลี่ยงการเลือกใช้ยาที่นอกเหนือการแนะนำของแพทย์
  • ควรสวมเสื้อผ้ามิดชิดและหลีกเลี่ยงแสงแดดเพื่อป้องกันผลข้างเคียง เช่น ผิวหนังไหม้
  • ผู้ป่วยควรเข้าพบแพทย์ตามตารางนัดทุกครั้ง

 

 

 

 

 

ทานอาหารอย่างสมดุลช่วยลดโรคผิวหนัง

     สมดุลกาย สมดุลจิตและอาหารที่รับประทานก็สำคัญ หากทานอาหารแต่พอดีก็เป็นยา หากทานมากหรือน้อยไปก็เป็นยาพิษ ไม่ว่าจะช่วงเวลาใดคำว่า ‘เวชศาสตร์เชิงป้องกัน’ (Preventive Medicine) นั้นยังเป็นหลักสากลที่เราไม่ควรหลงลืม หากทานอาหารไม่ดี จิตใจของเรายิ่งแปรปรวนจนส่งผลให้ลำไส้รั่ว (Leaky Gut) และผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้


 


ดังนั้นหากสิ่งใดควบคุมได้ในวันที่ยังไม่เกิดโรค ก็ควรตัดไฟแต่ต้นลมด้วยการเสริมเกราะป้องกันโรค