การผ่าตัดส่องกล้องเนื้องอกมดลูก แผลเล็ก ฟื้นเร็ว หายไว ปวดน้อยลง

December 18 / 2024

 

การผ่าตัดส่องกล้องเนื้องอกมดลูก

 

 

การผ่าตัดส่องกล้องเนื้องอกมดลูกการผ่าตัดส่องกล้องเนื้องอกมดลูก

 


พญ. ศรีสุภา เลาห์ภากรณ์ 
สูติ - นรีเวช ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งวิทยานรีเวช 
และการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

 

 

เนื้องอกมดลูกไม่ใช่โรคร้ายแรงแต่พบได้บ่อย

     เนื้องอกมดลูก (myomauteri, leiomyoma, leiomyomata, uterine fibroid) เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งพบบ่อยในสตรีที่อายุ 30-50 ปี ถึงร้อยละประมาณ 84 พบมากในสตรีผิวดำมากกว่าผิวขาวและชาวตะวันออก 2 ถึง 5 เท่า สตรีที่แต่งงานแล้วแต่ไม่มีบุตรมีแนวโน้มพบเนื้องอกมดลูกได้บ่อยขึ้น ซึ่งพบมากในวัยเจริญพันธุ์และจะเล็กลงหลังเข้าวัยหมดระดู ส่วนมากผู้ป่วยมักไม่มีอาการแต่ในบางรายอาจมีอาการ เช่น ระดูออกมาก ปวดท้องน้อย มีบุตรยาก อาการกดเบียดจากก้อน เช่น ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก ไตบวมน้ำ หรือลำไส้อุดตัน  

 

 

 

ผ่าตัดเนื้องอกมดลูก ส่องกล้อง

 

 

จะทราบได้อย่างไรว่ามีเนื้องอกมดลูก?

     การวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยการตรวจภายใน (pelvic examination) และใช้การตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงอัลตราซาวนด์ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) การตรวจด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การฉีดสีโพรงมดลูก 

 

 

 

ผ่าตัดเนื้องอกมดลูก ส่องกล้องผ่าตัดเนื้องอกมดลูก ส่องกล้องผ่าตัดเนื้องอกมดลูก ส่องกล้อง

 

 

 

การรักษาเนื้องอกมดลูก

  • สตรีที่ไม่มีอาการและอาจอยู่ในช่วงใกล้หมดประจำเดือน หรือตรวจพบในวัยหมดประจำเดือน ให้พิจารณาใช้การตรวจติดตามเป็นระยะ 
  • การรักษาด้วยยาในกลุ่มที่มีอาการประจำเดือนออกผิดปกติ 
  • การอุดหลอดเลือดมดลูก (embolization) เป็นทางเลือกรักษาในผู้ป่วยที่มีประจำเดือนออกมากหรือปวดท้องประจำเดือนจากเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก ทั้งยังไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดแบบปรกติได้ ซึ่งให้ผลการรักษาที่ดีและลดอาการเกิดจากเนื้องอกมดลูก  
  • การรักษาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงต่อเนื้อเยื่อเป้าหมายด้วยการใช้ MRI และ MRgFUS เป็นตัวกำหนดตำแหน่งที่แน่นอน เพื่อไม่ให้คลื่นเสียงความถี่สูงไปทำลายเนื้อเยื่อปรกติที่อยู่ข้างเคียง
  • การผ่าตัดรักษา เป็นวิธีการรักษาที่ตรงจุด (definite treatment)

 

 

การผ่าตัดเนื้องอกมดลูก

  • การผ่าตัดมดลูก (hysterectomy) เหมาะสำหรับสตรีที่ไม่ต้องการมีบุตรแล้ว หรือสตรีที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งมดลูกหรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งสามารถเลือกการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (open laparotomy) ผ่าตัดผ่านกล้อง (laparoscopic surgery) หรือ ผ่าตัดผ่านทางช่องคลอด (NOTES) ตามขนาดเนื้องอกและความชำนาญของแพทย์
  • การผ่าตัดเฉพาะเนื้องอกมดลูก (myomectomy) โดยเหลือส่วนที่เป็นมดลูกไว้เพื่อผลของการมีบุตรในอนาคต หรือในสตรีที่ต้องการเก็บมดลูกไว้ ซึ่งวิธีการผ่าตัดเฉพาะเนื้องอกสามารถทำได้ทั้งแบบเปิดหน้าท้อง (open myomectomy) และส่องกล้องทางหน้าท้อง (laparoscopic myomectomy)

 

 

ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้องเนื้องอกมดลูก

  • การผ่าตัดเฉพาะเนื้องอกผ่านกล้องมีการศึกษาแบบ meta-analysis เปรียบเทียบการผ่าตัดเนื้องอกกล้ามเนื้อออกแบบเปิดหน้าท้องเทียบกับการผ่าตัดผ่านกล้องพบว่าการผ่าตัดผ่านกล้องสามารถลดปริมาณการเสียเลือด ความเข้มข้นเลือและอาการปวดหลังผ่าตัดลดลง ทว่าอาจใช้เวลานานที่นานกว่า

 

อ่านเพิ่มเติม: ศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชและมะเร็งทางนรีเวช

 

 

การผ่าตัดผ่านกล้องย่อมเป็นไปตามข้อบ่งชี้โดยพิจารณาจากขนาดตำแหน่งจำนวน ก้อนเนื้องอก รวมถึงประสบการณ์และความชำนาญของแพทย์ผู้ผ่าตัดด้วย