ผู้ป่วยโรคหัวใจติดโควิด อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป

December 09 / 2022

 

 

 

ผู้ป่วยโรคหัวใจติดโควิด อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป

 

 

 

 

 

 

 

 

โรคหัวใจนับเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้คนทั่วโลกอันดับ 1 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมทั้งคนไทย และมีอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่องล่าสุดสถิติจากกระทรวงสาธารณะสุข พบว่ามีคนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดปีละกว่า 4 แสนคนและมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่า 2 หมื่นคนต่อปี หรือเฉลี่ยแล้วชั่วโมงละ 2 คน

 

 

 

 

 

 

 

และถ้าผู้ป่วยโรคหัวใจมีการติดเชื้อ COVID-19 ร่วมด้วยจะมีอัตราการเสียชีวิตการเข้า ICU การใช้เครื่องช่วยหายใจและระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลก็มากกว่าผู้ป่วยทั่วไป โดยสถิติผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ที่เป็นโรคหัวใจมีจำนวนมากถึง 13% และอาจมีภาวะทางหัวใจและหลอดเลือดที่กำเริบขึ้นในขณะติดเชื้อ COVID-19 ได้อีกด้วย โดยจะพบว่ามี

 

* ภาวะหัวใจล้มเหลวมากขึ้นประมาณ 20%

* เส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้นประมาณ 10%

* หัวใจเต้นผิดจังหวะมากขึ้นประมาณ 10%

 

 

 

 

 

 

เพราะหากผู้ป่วยหัวใจติดเชื้อ COVID-19 จะทำให้มีกลไกการเกิดโรคหัวใจโดยตรง เชื่อว่าเกิดจาก

 

  • มีการกระตุ้นระบบภูมิต้านทานในร่างกายที่มีต่อกล้ามเนื้อหัวใจ
  • ผลจากการกระตุ้นจากเชื้อไวรัสต่อถ้าเข้าในกล้ามเนื้อหัวใจทำให้เกิดการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงได้

 

และเมื่อเกิดการติดเชื้อที่รุนแรงทำให้ระบบปอดและการหายใจและระบบไหลเวียนโดยรวม ย่อมมีผลทางอ้อมทำให้เกิดภาวะหัวใจกำเริบรุนแรงหรือล้มเหลวเฉียนพลันนำไปสู่การเสียชีวิตได้

 

คุณหมอหัวใจยังเตือนอีกว่า คนที่เป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดหรือโรคในกลุ่มหลอดเลือด จะต้องยิ่งเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะพบโรคหัวใจในผู้ป่วยติดเชื้อได้ 15% ความดันโลหิตสูง พบเป็นโรคร่วมได้ ถึง 20-30% เบาหวาน พบเป็นโรคร่วมได้ 10-15% เส้นเลือดสมองตีบ พบเป็นโรคร่วมได้ 5%

 

 

 

 

ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคหัวใจควรระมัดระวังเพื่อป้องกันการติดเชื้อจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ที่ต้องเคร่งครัดมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งคุณหมอแนะนำว่า

 

1. ควรปฏิบัติตัวตามมาตรฐานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 คือ ล้างมือเป็นประจำ, สวมหน้ากากอนามัย, เว้นระยะห่าง (Social Distancing), แยกของใช้ส่วนตัว ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก

 

2. หากมีอาการไข้ หรือมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ให้รีบพบแพทย์เพื่อประเมินการติดเชื้อและประเมินความรุนแรงและต้องบอกข้อมูลทั้งหมดให้แพทย์ทราบ เพื่อประเมินการรักษาและการใช้ยาที่ถูกต้อง

 

3. รับประทานยาประจำตามปกติ ไม่เปลี่ยนยาเอง หากไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

 

4. ยาบางตัวที่ใช้ร่วมรักษา COVID-19 อาจส่งผลต่อหัวใจ ดังนั้นแพทย์อาจต้องพิจารณาเรื่องยาให้เหมาะสมหากติดเชื้อ COVID -19

 

5. พิจารณาเรื่องการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID ตามความเหมาะสม

 

โดยคุณหมอจะเน้นการรักษาโรคเดิมให้ได้ตามเป้าหมายอย่างเคร่งครัด มีความสำคัญมากเนื่องจากหากเจ็บป่วยด้วย COVID-19 แล้วอาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อนทางหัวใจ กับผู้ป่วยโรคหัวใจ, โรคความดัน, เบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง, โดยอาจเพิ่มระยะเวลานอนโรงพยาบาล, เพิ่มอัตราการเสียชีวิต, การนอน ICU

 

 

 

 

การมาพบแพทย์ตามนัดจึงมีความสำคัญอย่างมากเพื่อติดตามการรักษา การทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รักษาอย่างเคร่งครัด จะช่วยให้สามารถควบคุมโรคได้ดี



พญ.บัณฑิตา พงษ์ตัณฑกุล
อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

Healthy heart package (ผู้หญิง)

ฝากหัวใจ..ให้เราดูแลกับ "Healthy heart package (ผู้หญิง)" ตรวจก่อนรู้ก่อน อย่าปล่อยให้หัวใจอ่อนแอ..เกินเยียวยา

ราคา 5,990 บาท

Healthy heart package (ผู้ชาย)

ฝากหัวใจ..ให้เราดูแลกับ "Healthy heart package (ผู้ชาย)" ตรวจก่อนรู้ก่อน อย่าปล่อยให้หัวใจอ่อนแอ..เกินเยียวยา

ราคา 5,990 บาท

“Healthy start program” โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

ดูแลหัวใจและปอดของคุณและคนที่คุณรัก ด้วยโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

ราคา 3,000 บาท

บริการอุปกรณ์ตรวจเช็คคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พกพาได้

ติดตามการเต้นของหัวใจแบบทางไกล เหมาะกับใครบ้าง ผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ พบอาการไม่บ่อยเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งไม่สามารถตรวจพบหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้วยวิธีตรวจอื่นๆ

ราคา 12,000 บาท

บันทึกการเต้นของหัวใจในโลกยุคดิจิทัล "ป้องกันภาวะหัวใจวาย"

Multiday Patch Holter (แผ่นบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ) อุปกรณ์บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดแผ่น แปะติดที่หน้าอก สามารถบันทึกการเต้นของหัวใจติดต่อกันได้หลายๆ วัน

ราคา 6,000 บาท