s การติดเชื้อแบคทีเรียอี.โคไล ชนิดรุนแรง โอ 104 (E.Coli O 104)

การติดเชื้อแบคทีเรียอี.โคไล ชนิดรุนแรง โอ 104 (E.Coli O 104)

November 13 / 2019

 

 

การติดเชื้อแบคทีเรียอี.โคไล ชนิดรุนแรง โอ 104 (E.Coli O 104)

 

 

Q : เชื้ออี.โคไล โอ 104 มีการแพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทยแล้วหรือยัง
A : จากการเฝ้าระวังโดย กระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลทั่วไป ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้ออี.โคไล โอ 104 ในประเทศไทยเลย

 

Q : ข้อมูลเบื้องต้นของเชื้อ อี.โคไล โอ 104

A : เชื้ออี.โคไล โอ 104 ที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย มีอยู่ 6 สายพันธ์ โดยสายพันธ์ที่กำลังเป็นข่าวอยู่นี้ เป็นสายพันธ์ที่อยู่ในกลุ่มให้อันตราย โดยเชื้อดังกล่าวมีอยู่ในอาหารจำพวกผักสด โดยเฉพาะถั่วและถั่วงอก สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ จะมีอาการคล้ายคลึงกับผู้ป่วยที่อาหารเป็นพิษ คือ ท้องเสีย ถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ มีไข้ต่ำ คลื่นไส้อาเจียน ส่วนใหญ่อาการจะหายได้เอง แต่ประมาณร้อยละ 10 อาการจะรุนแรงขึ้น เช่น ถ่ายเป็นมูกหรือเป็นเลือด เกิดภาวะซีด และร้อยละ 3-5 จะมีอันตรายมากขึ้นคือ อาจเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน เม็ดเลือดแดงแตก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด ทั้งนี้ สามารถแยกอาการของ 2 โรคนี้ ได้โดยการสังเกตเบื้องต้น เช่น ท้องเสียเกิน 3 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ถ่ายไม่หยุด ถ่ายเป็นมูกเป็นเลือด และต้องสังเกตว่าผู้ป่วยมีการรับประทานอาหารที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมาบ้างหรือไม่ อาทิ ถั่วงอกดิบ ผักสด หรือผู้ป่วยมีการคลุกคลีกับผู้ป่วยหรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่เกิดการระบาดของเชื้อ ก็ควรต้องรีบมาพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจโดยละเอียดต่อไป

 

 

 

Q : การรักษาโรคที่ติดจากเชื้ออี.โคไล โอ 104

A : การรักษาผู้ที่ติดเชื้ออี.โคไล โอ 104 จะใช้วิธีเดียวกับการรักษาผู้ป่วยอาหารเป็นพิษ หรือท้องร่วง ทั่วไป โดยเป็นการรักษาตามอาการ แต่จะไม่ให้ยาเพื่อหยุดถ่ายท้อง เพราะอาจส่งผลให้เชื้อตกค้างอยู่ในร่างกาย แต่หากมีเหตุจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์

 

Q : วิธีป้องกันตัวจากการติดเชื้ออี.โคไล โอ 104
 

A : วิธีป้องกันที่ดีที่สุขคืออิงจากการรณรงค์ของ กระทรวงสาธารณสุข “ กินร้อน-ช้อนกลาง-ล้างมือ” ถ้าทำได้ก็จะช่วยให้ห่างไกลจากการติดเชื้อนี้ได้ โดยควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุขเท่านั้น หรืออย่างน้อยก็ควรผ่านความร้อนที่ 70 องศาขึ้นไป ก็จะช่วยเป็นการฆ่าเชื้อดังกล่าวได้ ส่วนผู้ที่นิยมรับประทานผักสดในช่วงนี้ก็ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะผักจำพวกถั่วและถั่วงอก และควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพราะโรคเหล่านี้ มักจะเกิดในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ ในส่วนของวงการแพทย์ ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขก็ได้ร่วมกับโรงพยาบาลต่างๆ ใช้มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังเชื้ออี.โคไล โอ 104 เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดใน ประเทศไทยได้ 

 

 

 

ส่วน รพ.รามคำแหงเอง นอกจากดำเนินการตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขให้ไว้แล้ว ทีมแพทย์และพยาบาลก็ยังมีการสังเกตอาการ และตรวจคัดกรองผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหารอย่างละเอียดและใกล้ชิดอีกด้วย ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่าเชื้ออี.โคไล โอ 104 ไม่น่าจะมีโอกาสแพร่ระบาดได้มากนัก และโดยข้อเท็จจริงแล้ว โรคดังกล่าวก็ไม่ได้มีความร้ายแรงมากนัก หากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และอยู่ในการดูแลของแพทย์

ด้วยเหตุนี้ จึงขอเน้นย้ำและฝากเตือนว่าให้รับประทานอาหารปรุงสุข หลีกเลี่ยงการรับประทานผักสด สำหรับน้ำที่ใช้ในการล้างผักสด ก็ควรจะเป็นน้ำสะอาด ไม่ควรใช้น้ำคลอง น้ำบ่อ และหากมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว ฯลฯ ควรรีบเข้ามาปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดจะดีกว่า


ศ.นพ. นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล
แพทย์ที่ปรึกษาด้านโรคติดเชื้อ รพ.รามคำแหง

เน้นย้ำให้รับประทานอาหารปรุงสุขหากมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว ฯลฯ ควรรีบเข้ามาปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจอย่างละเอียด