ตรวจหาเชื้อ H.pylori ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร

November 26 / 2024

 

 

 

ตรวจหาเชื้อ H.pylori แผลในกระเพาะอาหารโดยไม่ต้องส่องกล้อง

ด้วยวิธีเป่าลมหายใจและวัดหาระดับยูเรีย

 

 

 


ท่านเคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่ ? 

 

  • ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำหรือมีเลือดออก
  • มีอาการปวดท้องกลางดึก
  • วิงเวียนศีรษะ อาเจียน น้ำหนักลด
  • จุกเสียดแน่นหรือเจ็บท้อง
  • หิวก็ปวด อิ่มก็ปวด

 

 

 

เอช.ไพโลไรเอช.ไพโลไรเอช.ไพโลไร

 

 

 

 

โรคแผลในกระเพาะอาหารกับเชื้อแบคทีเรีย

     โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer)  หรือทางการแพทย์เรียกว่า 'โรคแผลเปปติค' เกิดจาก มีการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง คือ เอช.ไพโลไร (H.Pylori: Helicobacter Pylori) ซึ่งเชื้อชนิดนี้เองที่ทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากกว่าปรกติจนทำลายผนังเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เมื่อเป็นแผลก็มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โดยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยประสบปัญหาเป็น ๆ หาย ๆ 

 

 

อ่านเพิ่มเติม: โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia) โรคฮิตที่ไม่ควรมองข้าม

 

 

 

 

 

โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคแผลในกระเพาะอาหาร

 

 

 

 

 

การวินิจฉัยโรคแผลในกระเพาะอาหาร

โดยทั่วไปสามารถรู้ได้ว่าเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือไม่ด้วยการตรวจ 2 วิธี

 

  • วิธีการตรวจแบบเดิม การส่องกล้องเข้าไปในกระเพาะอาหารผ่านทางปากที่เรียกว่า Gastroscopy แล้วตัดเนื้อเยื่อบุกระเพาะมาตรวจหาเชื้อโดยเทคนิคต่าง ๆ
  • วิธีการตรวจแบบใหม่ ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจวินิจฉัยเชื้อที่เรียกว่า Urea breat test C-14 หรือการตรวจโดยผ่านลมหายใจ ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวก และรวดเร็ว มีความแม่นยำสูง ปลอดภัย คนไข้ไม่ต้องเจ็บตัว

 

การตรวจด้วยยูเรียแคปซูล 

     การตรวจด้วยวิธีนี้ไม่ยุ่งยาก โดยให้คนไข้กินยูเรียแคปซูล (Urea Capsule) มีลักษณะคล้ายยาเม็ด และรอประมาณ 20 นาที หากในกระเพาะอาหารของคนไข้มีเชื้อ เอช.ไพโลไร (H.pylori) เชื้อนี้จะมีการผลิตเอนไซม์ยูรีเอส ไปเปลี่ยนยูเรียให้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซแอมโมเนีย โดยก๊าซจะถูกขับออกมาทางลมหายใจ

 

 

 

โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคแผลในกระเพาะอาหาร

 

 

 

 

 

ทำไมการตรวจหา H.pylori จึงสำคัญ ? 

     การตรวจยืนยันว่ามีเชื้อ เอช.ไพโลไร (H.pylori) ในกระเพาะอาหารและลำไส้หรือไม่นั้น ช่วยให้แพทย์ใช้วางแผนในการรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อพบว่ามีการติดเชื้อ เอช.ไพโลไร (H.pylori) จริงแพทย์จะทำการกำจัดเชื้อ โอกาสที่จะกลับมาเป็นแผลในกระเพาะอาหารซ้ำอีกลดลงไปอย่างมาก และมีโอกาสหายขาดทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทุกข์ทรมาน และยังลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอีกด้วย

 

การตรวจเชื้อ เอช.ไพโลไร (H.pylori) ช่วยให้โอกาสกลับมาเป็นแผลในกระเพาะอาหารซ้ำลดลง และยังลดโอกาสเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้อีกด้วย