s ศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชและมะเร็งทางนรีเวช

ศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชและมะเร็งทางนรีเวช

December 09 / 2022

 

ศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชและมะเร็งทางนรีเวช

 

พญ. ศรีสุภา เลาห์ภากรณ์

สูติ - นรีเวช ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งวิทยานรีเวช
และการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

 

การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

 

การผ่าตัดโดยใช้อุปกรณ์ที่เป็นท่อลำกล้องและแหล่งกำเนิดแสงไฟขนาดเล็กส่องเข้าไปในร่างกายผ่านรอยแผลผ่าตัดทางหน้าท้องขนาดเล็กหรือผ่านทางช่องคลอดแบบไร้แผลทางหน้าท้องหรือผ่านจากปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูก กล้องจะทำหน้าที่ขยายภาพถ่ายทอดออกมาทางจอ และแพทย์สามารถดูภาพและทำการผ่าตัดภายในช่องท้อง หรือภายในโพรงมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แบ่งเป็น 3 ประเภท
    1.การผ่าตัดผ่านกล้องทางหน้าท้อง 3-4 แผล (0.5-1cm) หรือแบบแผลเดียว (2-3 cm.)
    2.การผ่าตัดผ่านกล้องแบบไร้แผล ผ่านทางช่องคลอด
    3. การผ่าตัดผ่านกล้องในโพรงมดลูก

 

 

 

โรคที่สามารถ รักษาได้ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง

 

  • ผ่าตัดเนื้องอกมดลูก (Myoma uteri)
  • ผ่าตัดเนื้องอกรังไข่ (Ovarian tumor)
  • ผ่าตัดถุงน้ำรังไข่ (Ovarian cyst)
  • ผ่าตัดผ่านกล้องช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst)
  • ผ่าตัดผ่านกล้องโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
  • ผ่าตัดผ่านกล้องพังผืดในอุ้งเชิงกราน (Pelvic adhesion)
  • ผ่าตัดผ่านกล้องตั้งครรภ์นอกโพรงมดลูก (Ectopic pregnancy)
  • ผ่าตัดผ่านกล้องท่อนำไข่อุดตัน (Tubal obstruction)
  • ผ่าตัดผ่านกล้องหาสาเหตุภาวะมีบุตรยาก (Infertility)
  • ผ่าตัดผ่านกล้องเนื้องอก หรือติ่งเนื้อในโพรงมดลูก (Polyp, Myoma)
  • ผ่าตัดผ่านกล้องผังพืดในโพรงมดลูก (Septate uterus)
  • ผ่าตัดผ่านกล้องผนังกั้นกลางในโพรงมดลูก (Uterine synechiae)
  • ผ่าตัดผ่านกล้องทำหมันหญิง (Tubal sterilization)
  • ผ่าตัดผ่านกล้องห่วงอนามัยทะลุเข้าช่องท้อง (Perforated IUD)
  • ผ่าตัดผ่านกล้องตัดมดลูกเนื่องจากโรค (Hysterectomy)
  • ผ่าตัดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกระยะต้น (Endometrial cancer)
  • ผ่าตัดผ่านกล้องหาสาเหตุปวดท้องน้อยเรื้อรังหรือเฉียบพลัน (Diagnostic laparoscopic)
  • ผ่าตัดส่องกล้องวินิจฉัยหาสาเหตุน้ำในช่องท้อง (Diagnostic laparoscopic and biopsy)
  • ผ่าตัดผ่านกล้องในโพรงมดลูกเพื่อวินิจฉัยเลือดออกผิดปกติ และให้การรักษา (Diagnostic hysteroscopic and resection)

 

 

ข้อแตกต่างของการผ่าตัดส่องกล้องและการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง

 

การผ่าตัดแบบส่องกล้อง

  • ขนาดแผลเล็ก 3 มม.-1 ซม.
  • เจ็บแผลน้อยกว่า
  • ระยะเวลาพักฟื้นน้อยกว่า1-2 สัปดาห์
  • โอกาสเกิดแผลแยก อักเสบติดเชื้อน้อยกว่า
  • โอกาสเกิดพังผืดในช่องท้องน้อยกว่า
  • พักฟื้นในโรงพยาบาลสั้นกว่า
  • ใช้เวลาผ่าตัดอาจจะนานกว่าในบางโรค
  • ค่าใช้จ่ายอาจจะสูงกว่า

 

 

 

การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง

 

  • ขนาดแผลใหญ่
  • เจ็บแผลมากและนานกว่า
  • ใช้เวลาพักฟื้นนานกว่า4-6 สัปดาห์
  • มีโอกาสเกิดแผลแยก อักเสบติดเชื้อมากกว่า
  • โอกาสเกิดผังพืดในช่องท้องมากกว่า
  • พักฟื้นในโรงพยาบาลนานกว่า
  • ใช้เวลาผ่าตัดสั้นกว่าในบางโรค
  • ค่าใช้จ่ายอาจจะต่ำกว่า

 

 

 

ภาวะแทรกซ้อนและผลข้างเคียงจากการผ่าตัดผ่านกล้อง

 

  • ปวดหัวไหล่ หรือสะบัก เกิดจากการระคายเคืองของน้ำหรือลมในช่องท้อง แนะนำนอนหัวสูง 45 องศา ร่างกายสามารถดูดซึมก๊าส หรือน้ำได้ใน 48 ชม.
  • ท้องอืด แน่นท้อง เกิดจากลมในช่องท้อง หรือเกิดจากระบบลำไส้ฟื้นตัวหลังผ่าตัดแนะนำให้ขยับตัว ลุกเดินกระตุ้นให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
  • บาดเจ็บลำไส้ อาจเกิดจากการเลาะพังผืดซึ่งเกิดจากโรค หรือเคยผ่าตัดทางหน้าท้อง
  • บาดเจ็บต่อท่อไตหรือกระเพาะปัสสาวะ อาจเกิดจากรอยโรคในช่องท้องมีพังผืดไป
  • เกาะใกล้กับตำแหน่งท่อ ไต หรือกระเพาะปัสสาวะ
  • บาดเจ็บต่อหลอดเลือด ทำให้เสียเลือดมากระหว่างผ่าตัด
  • มีลมเซาะเข้าใต้ชั้นผิวหนัง ซึ่งสามารถหายหายได้เอง
  • แผลในช่องคลอดอักเสบ หรือแยก

 


"กรณีเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น บาดเจ็บท่อไต ลำไส้ อาจต้องเปลี่ยนเป็นการผ่าตัด

เปิดหน้าท้อง"


 

 

การปฏิบัติตัวก่อนการผ่าตัดผ่านกล้อง

 

  • การเตรียมตัวทางด้านจิตใจ : ผู้ป่วยอาจมีความกังวลถึงขั้นตอนการรักษา ดังนั้นจึงควรพูดคุยกับแพทย์ให้คลายข้อสงสัยและคลายกังวล
  • การเตรียมตัวด้านร่างกาย 
    • โรคประจำตัว หรือยาที่ใช้ประจำ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อประเมินความเสี่ยงก่อนการผ่าตัด เช่น แอสไพริน, วาร์ฟาริน, โคลพิโดเกร
    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และรักษาสุขภาพไม่ควรเป็นหวัด ก่อนการผ่าตัด
    • ทานอาหารย่อยง่ายและกากน้อย ก่อนผ่าตัด 3 วัน และให้งดน้ำ และอาหารก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชม. หรือหลัง 24.00 น.
    • ฝึกการหายใจเข้า-ออก ลึกๆ เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบติดเชื้อหลังผ่าตัด
    • ดูแลผิวหนังและสะดือให้สะอาดก่อนการผ่าตัด

 

 

การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดผ่านกล้อง

 

  1. รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงของหมักดอง ของกึ่งสุกกึ่งดิบ หรืออาหารย่อยยาก น้ำอัดลม กาแฟ
  2. รับประทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง ถ้ามีอาการข้างเคียงของยาเช่นมีผื่นคัน คลื่นไส้ให้มาปรึกษาแพทย์ก่อนนัด
  3. งดออกกำลังกายหนัก ยกของหนัก นั่งยองๆบนพื้น ไอจามแรงๆ หรือว่ายน้ำ 4-6 สัปดาห์สำหรับการผ่าตัดมดลูก (2-4 สัปดาห์ สำหรับผ่าตัดถุงน้ำรังไข่)
  4. แผลห้ามโดนน้ำถ้าน้ำเข้าหรือแผลซึมให้มาก่อนนัด ยกเว้นใช้กาวติดแผลสามารถโดนน้ำได้ ให้รักษาความสะอาดร่างกายและอวัยวะสืบพันธ์ งดสวนล้างช่องคลอด
  5. หากมีอาการผิดปกติ เช่น เลือดออกทางช่องคลอดมาก น้ำไหลคล้ายปัสสาวะ มีไข้ปวดท้อง หรือตกขาวมีกลิ่น สี ผิดปกติให้มาพบแพทย์ก่อนนัด
  6. งดมีเพศสัมพันธ์ 6 สัปดาห์ หรือจนกว่าแพทย์จะตรวจแผลติดแน่นดีแล้ว

นัดพบแพทย์คลิก

พญ. ศรีสุภา เลาห์ภากรณ์

สูติ - นรีเวช ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งวิทยานรีเวช
และการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช